02 ธันวาคม 2556

การใช้ชีวิตเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ

... เมื่อปี พ.ศ. 2530 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ม.6 หรือบางคนอาจจบมาจากสายอาชีัพบ้าง การใช้ชีวิตที่ต้องดิ้นรนหาอาชีพเพื่อเลี้ยงชีวิต ได้เริ่มขึ้น การสอบเข้ารับราชการทหาร เป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กชาวบ้าน ได้รับการแนะนำมาว่า สามารถมีเงินเดือนเลี้ยงชีพ และมีอนาคต เด็กหนุ่มๆ จึงได้เดินทางมาสมัครสอบเพื่อเข้ารับราชการบ้าง เมื่อสอบผ่านข้อเขียน และทดสอบความสามารถของร่างกายแล้ว ในที่สุดผลสอบก็ประกาศมาให้เราได้มาเป็น "นักเรียนจ่าทหารเรือ" หลายคนไม่เคยรู้จักชีวิตทหารมาก่อน บางคนรู้จักแค่เรียน รด. น้อยคนนักที่รู้จักชีวิตและเส้นทางของ "จ่าทหารเรือ"
... ก็ "นักเรียนจ่าทหารเรือ" นั้น เป็นชีวิตของนักเรียนทหารชั้นประทวน เมื่อจบการศึกษา 1-2 ปี จะได้รับการประดับยศ "จ่าตรี"ประจำการในกองทัพเรือไทย ตามพรรคเหล่าที่ตนได้เลือกไว้
... เมื่อได้ก้าวมาในรั้วของกองทัพเรือไทยแล้ว วันแรกที่ต้องจากบ้าน จากพ่อแม่มา ทุกคนได้เข้ามาสู่รั้ว รร.ชุมพลทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี วันนี้ นรจ.30 จะต้องตัดผมเกรียน แต่รุ่นเราพิเศษกว่าเมื่อมีการโกนหัวในคนแรกๆ นรจ.30ใหม่ ก็ต้องได้รับการโกนหัวไปหมดคน(ภาษาชาวเรือ แปลว่า หมดทุกคน) ได้รับชุดทหารเรือ คือชุดกะลาสี และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เริ่มวันแรก ระเบียบวิันัยทหาร ต้องเข้ามาทันที มีการเรียกแถว สั่งทำโทษ และอบรมระเบียบวินัยทันที เพื่อเปลี่ยนบุคคลพลเรือนให้เป็นทหาร การใช้คำสั่งขู่ว่า "ถ้าทนไม่ไหว ก็ลาออกไป!! " เริ่มมีในการอบรมทำโทษของ นายทหารปกครอง ตลอดจนถึง นักเรียนปกครอง ซึ่งหมายถึงรุ่นพี่ที่ได้รับการแต่งตั้ง เพราะว่า เมื่อเราไปทำสัญญามอบตัวเป็นนรจ. สัญญาระบุชัดเจนว่า เมื่อยินยอมเข้ามาเป็น นรจ.แล้ว ถ้ามีการลาออกก่อน จะต้องเสียเงินค่าปรับ เป็นเงิน 5,000 บาท ซึ่งในสมัยนั้น เป็นมูลค่าที่สูงมากเพราะเมื่อจบเป็นจ่าตรี ได้รับเงินแค่เพียงเดือนละ 1,100 บาทเท่านั้น
... การฝึกภาคสาธารณะ ณ รร.ชุมพลฯ เป็นเวลา 1 เดือนนั้น ทุกพรรคเหล่า รวม นรจ.30 กว่า 1,100 คน ได้เข้ามาฝึกฝนวิชาการทหารเบื้องต้น เข้ามาสลายพฤติกรรมพลเรือน เข้ามารวมให้รู้จักกันทุกพรรคเหล่าในรุ่นเดียวกัน กิจกรรมที่ ผู้บังคับบัญชาตั้งไว้คือ พิธีการเดินสวนสนามของนักเรียนจ่าใหม่ จะต้องมีระเบียบ เพราะหากว่าการเดินสวนสนามไม่มีระเบียบแล้ว แถวจะไม่มีความเข้มแข็งสวยงาม นี่คือสิ่งที่ใช้วัดค่าความมีระเบียบของทหาร
... เมื่อจบจากภาคสาธารณะแล้ว ทุกพรรคเหล่า ก็ต่างแยกย้ายไปสู่ภาคอาชีพ ตามโรงเรียนของตนๆ นรจ.30 ไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราเพียง 19 นาย ได้เดินทางมาที่ รร.ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ กรมอู่ทหารเรือ(ในสมัยนั้น) ป้อมพระจุลจอมเกล้า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ได้เข้าร่วมศึกษาในการปกครองร่วมกับ นรจ. 30 อิเล็คทรอนิคส์ และ นรจ.30 สื่อสาร (ประกอบด้วย วิทยุ โซน่าร์ เรดาร์ ทัศนสัญญาณ) เป็นเวลาอีก 2 ปี หลักสูตร ก็ประกอบไปด้วย ระบบไฟฟ้าภาคพื้นดิน เพื่อรองรับหน่วยง่านที่มีสำนักงานบนพื้นดิน จึงเรียนเหมือนกับ ปวช. ปวส. ทั่วไป แต่พิเศษว่ามีการเรียนระบบไฟฟ้าภายในเรือร่วมด้วย และมีการฝึกภาคทะเล คือการลงไปใช้ชีวิตทหารเรือ บนเรือรบ มีการฝึกเดินเรือ ฝึกการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในเรือ ซึ่งขณะนั้นเป็นฤดูมรสุมในมหาสมุทร มีคลื่นลมในอ่าวไทยหลายลูก ทำให้รู้จักคำว่า"เมาเรือ" เป็นอย่างดี...
... ชีวิตภายในรั้ว ป้อมพระจุลฯ ก็คงไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก รุ่นพี่รุ่นน้องนัก คือ เช้าก็วิ่ง เย็นก็วิ่ง กินข้าวก็ขัดฉาก มุดโต๊ะ เช้าก็แถว เย็นก็แถว ก่อนนอนก็แถวอีก ผิดนิดผิดหน่อยก็"รับผิดชอบร่วมกัน .. ชั้น 1 ทุกคน..กอดคอ!! " คราวนี้ ก็เริ่มจาก ปั๋ม 10 ครั้ง แล้วก็ไปเรื่อยๆ กว่าจะครบในแต่ละแถวๆ ไม่ต่ำกว่าเป็นร้อย .... ไม่พร้อมกันบ้าง มีปฏิกิริยาบ้าง... ไปเรื่อย มีเรื่องเดียวก็ทำให้เป็นหลายเรื่องได้ โทษมันเยอะจัง... การทำโทษ ก็มีทั้ง วิดพื้น ปั๋ม พุ่งหลัง เหี้ยตะกายตึก ปล่อยม้า ม้วนหน้า สะพานโค้ง ที่แตกต่างจากที่อื่นหน่อย คือ "พุ่งหลังข้ามท่อ" มันแปลกกว่าเพราะ ที่นี่มีรางปูนระบายน้ำขนาดกว้าง 1 เมตร เป็นการไม่ให้ผู้ถูกทำโทษอู้ ต้องสั่งไปพุ่งหลังข้าม เพราะหากอู้แล้วขาจะตกลงท่อไปเจ็บตัวเปล่าๆ ก็มีอะไรที่ต้องให้อยู่ในวินัย และเพิ่มความเข้มแข็งของร่างกาย เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกสภาวะ เพราะทหารเมื่อจะออกรบหากไม่มีการเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาแล้ว ภาระกิจของชาติจะไปสำเร็จได้อย่างไร?? ไม่มีเรี่ยวแรง จะไปทำงานอะไรได้..
... เมื่อผ่านระยะเวลาไป 2 ปี เราทั้ง 17 นาย คือ ลาออกไป 1 และ ได้รับการเลื่อนไปเป็น นักเรียนนายเรือ 1 ก็จบการศึกษาได้รับการประดับยศ เป็นจ่าตรี และแยกย้ายไปประจำการตามหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือ..
.....
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
เครื่องหมายประดับยศ ทร.
เครื่องหมายพรรคเหล่า
เพลงวิ่งออกกำลังกาย
เสียงสัญญาณนกหวีดเรือ
สัญญาณระฆัง
ความหมายของไมล์ทะเล
กีฬาทหารเรือ
อุ้มหมูใส่เล้า
ม้าโรมัน
..ชมภาพชีวิตนักเรียนจ่าทหารเรือ>>

วันที่เราเข้ามาเริ่่มต้นชีวิต นรจ. 30
วันที่ได้ปล่อยกลับบ้านครั้งแรก
ใช้ชีวิตเพื่่อสามารถดำรงตนอยู่ในเรือให้ได้
พิธ๊สวนสนามนักเรียนจ่าใหม่ ภาคสาธารณะ
เป็นพิธีที่กระทำสืบต่อมานานแล้ว





ก่อนเข้าเรียน และหลังเลิกเรียน ต้องมีแถวหน้า รร.





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น