ไฟฟ้า พลังงานที่ต้องเรียนรู้เพื่อป้องกัน
การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกต้อง ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง อันตรายจากไฟฟ้ามิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว การทำงาน หรือเดินผ่านบริเวณที่มีพลังงานไฟฟ้า ย่อมมีอันตรายแฝงอยู่ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้า
อันตรายจากไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ อันตรายที่คนทั่วไปได้ยินได้ฟังมี 2 สาเหตุใหญ่ คือ ไฟฟ้าซอร์ท และไฟฟ้าดูด ทั้งสองกรณี มีสาเหตุการเกิดที่ ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกัน
1. ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit) เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (LOAD) การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ
1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้
1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย
1. ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit) เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (LOAD) การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ
1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้
1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย
ลักษณะการลัดวงจร ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ลักษณะการเกิดและความเสียหาย ก็จะมีความแตกต่างกัน คือ
1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด หรือ จากการสัมผัสกัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย
2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพื้นดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพื้นดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำ ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน
1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด หรือ จากการสัมผัสกัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย
2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพื้นดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพื้นดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำ ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน
ผลของไฟฟ้าชอร์ต
ในกรณีที่กระแสไหลในสายไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทำให้ความร้อนเกิดขึ้นใน สายตัวนำ หลายครั้ง จะทำให้เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าและส่งผลให้สายตัวนำไฟฟ้าสัมผัส กันเกิดเป็นประกายไฟฟ้า และทำให้ฉนวน ที่หลอมละลายลุกไหม้ขึ้นมา ส่วนสายตัวนำที่สัมผัสหรือลัดวงจรกันนั้นก็จะเกิดการสะบัดตัว กระจายเปลวไฟที่กำลังลุก ไหม้ขยายวงออกไป หากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณนั้นก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรงในกรณีหากเกิดขึ้นในบริเวณ ของโรงพยาบาล ที่เป็นโซนก๊าซติดไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร โดยการ ดูแลเครื่องใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้านั้นต้องมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มีการใช้กระแสไฟเต็มที่ยิ่งเป็นการดี หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ หากมีเหตุจากการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานมาก ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสที่ถูกต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน ความร้อนจากสภาพแวดล้อมก็ทำให้ สายแตกปริ หลุดร่อนออกได้แนวโน้มที่จะเกิดประกายไฟตรงบริเวณที่ฉนวนหลุดร่อนย่อมมีสูงในระบบไฟฟ้าแรงสูง เมื่อสาย ไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน ระบบป้องกันไม่ตัดวงจร อาจก่ออันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้
ในกรณีที่กระแสไหลในสายไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทำให้ความร้อนเกิดขึ้นใน สายตัวนำ หลายครั้ง จะทำให้เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าและส่งผลให้สายตัวนำไฟฟ้าสัมผัส กันเกิดเป็นประกายไฟฟ้า และทำให้ฉนวน ที่หลอมละลายลุกไหม้ขึ้นมา ส่วนสายตัวนำที่สัมผัสหรือลัดวงจรกันนั้นก็จะเกิดการสะบัดตัว กระจายเปลวไฟที่กำลังลุก ไหม้ขยายวงออกไป หากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณนั้นก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรงในกรณีหากเกิดขึ้นในบริเวณ ของโรงพยาบาล ที่เป็นโซนก๊าซติดไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร โดยการ ดูแลเครื่องใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้านั้นต้องมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มีการใช้กระแสไฟเต็มที่ยิ่งเป็นการดี หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ หากมีเหตุจากการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานมาก ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสที่ถูกต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน ความร้อนจากสภาพแวดล้อมก็ทำให้ สายแตกปริ หลุดร่อนออกได้แนวโน้มที่จะเกิดประกายไฟตรงบริเวณที่ฉนวนหลุดร่อนย่อมมีสูงในระบบไฟฟ้าแรงสูง เมื่อสาย ไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน ระบบป้องกันไม่ตัดวงจร อาจก่ออันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้
แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร (1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เมื่อฟิวส์ขาดต้อง ใช้ขนาดเดิมไม่ควรใช้ ขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือดัดแปลงใช้วัสดุตัวนำอื่นมาทดแทน
(2) ตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อพบว่าชำรุดควรรีบซ่อมบำรุง โดยเฉพาะไฟฟ้า ที่ฉนวนชำรุด
(3) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ
(4) เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ม.อ.ก.)
(5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
(2) ตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อพบว่าชำรุดควรรีบซ่อมบำรุง โดยเฉพาะไฟฟ้า ที่ฉนวนชำรุด
(3) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ
(4) เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ม.อ.ก.)
(5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
2. ไฟฟ้าดูด(Electric Shock) เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)
2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด
2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)
2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด
ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย์
อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่าง กายของบุคคล ตามที่ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน จากการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม่จำกัดเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) เป็นไปตามตารางที่ 1
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สูง หากร่างกายมีความต้านทานต่ำ ร่างกายที่เปียกชื้นจะมีความต้านทานต่ำ เมื่อไฟฟ้าดูดจึงมีอันตรายสูง ดังนั้นขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จึงไม่ควรสัมผัสกับตัว อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการดี และเป็นข้อห้าม ปฏิบัติทางไฟฟ้าด้วย
ขนาดของกระแส | อาการที่เกิด |
น้อยกว่า 1 mA. | ไม่รู้สึกตัวว่าถูกดูด ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย |
มากกว่า 5 mA | รู้สึกว่าร่างกายผิดปกติถูกดูด เกิดความเจ็บปวด ประสาทสามารถรับรู้ได้และสามารถสลัดให้หลุดจากไฟดูดได้ |
มากกว่า 10 mA | รู้สึกถึงกระแสไฟฟ้าดูด กล้ามเนื้อในส่วนที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดหรือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการหดตัวและเกิดความเจ็บปวด ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ ไม่สามารถดิ้นให้หลุดได้หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 2 นาที อาจเสียชีวิตได้ |
มากกว่า 15 mA | รู้สึกถึงความเจ็บปวดของไฟฟ้าดูด รู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาจจะไม่สามารถดิ้นให้หลุดได้ ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 1 นาที อาจเสียชีวิตได้ |
มากกว่า 30 mA | ระบบหายใจติดขัดและสามารถทำให้หมดสติได้ ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 35 วินาที อาจเสียชีวิตได้ |
50 - 200 mA | ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ หัวใจอาจหยุดเต้นภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 3 วินาที อาจเสียชีวิตได้ |
มากกว่า 200 mA | ผิวหนังบริเวณที่ถูกไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าดูดเป็นรอยไหม้ และหัวใจอาจหยุดเต้น ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 0.1 วินาที อาจเสียชีวิตได้ |
1 A ขึ้นไป | ผิวหนังบริเวณที่ถูกไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลาย และหัวใจอาจหยุดเต้นภายในระยะเวลา 0.03 วินาที |
ปัจจัยความรุนแรงของไฟฟ้าดูด เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของอันตราย เท่านั้นความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญ ที่มีผลต่อความรุนแรง มี 3 อย่าง คือ
1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมีอันตรายมากกว่าแรงดันต่ำ
2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
ไฟฟ้าดูดป้องกันได้ หลักพื้นฐานของการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด คือการไม่ไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางไฟฟ้า ก็จะมีต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเรามีความจำเป็นต้องสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผัส ขณะที่เปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียก ว่าการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้องโดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่านั้นจึงจะได้ผล เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วเครื่องป้องกันกระแสเกิน(ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)จะทำงาน ตัดเครื่องใช้ ไฟฟ้า ออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟฟ้า การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว จะสามารถป้องกันอันตราย จากไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน แต่ในการใช้งานต้องมั่นใจว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานเป็นปกติตามที่ได้ออกแบบไว้ เนื่องจาก เครื่องตัดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นเดียวกันย่อมต้องมีการขัดข้องชำรุดเกิดขึ้นได้เช่นกัน จึงต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบตามระยะเวลา หรือตามข้อกำหนดที่ผู้ผลิตระบุ เครื่องตัดไฟรั่วจึงเป็นเพียงอุปกรณ์เสริม เท่านั้น ในการติดตั้ง ใช้งาน จึงต้องติดตั้งระบบสายดินให้กับตัวมันด้วย ไฟฟ้าแรงสูง เมื่อเข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้ โดยที่ยังไม่ต้องสัมผัส ผู้ที่ต้องทำงาน กับไฟฟ้าแรงสูง
น่าติดตามเรื่องระบบไฟฟ้า
http://www.tatc.ac.th/external_newsblog.php?links=433