27 กุมภาพันธ์ 2558

หน่วยรบพิเศษ ของไทย

หน่วยรบพิเศษ...
หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือกองกำลังพิเศษ เป็นทหารที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีโดยกองทัพซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษอย่างเช่น การลาดตระเวนพิเศษ สงครามนอกแบบ และการต่อต้านการก่อการร้าย

หน่วยรบพิเศษของไทย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • นเรศวร 261 ตำรวจพลร่ม กองกำกับการ3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (กก.3.บก.สอ.บช.ตชด)
  • อรินทราช 26 กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • สยบริปูสะท้าน คอมมานโด กองปราบปราม กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • สยบไพรี กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจปราบปราบยาเสพติด

กองทัพบก

  • ศูนย์สงครามพิเศษ (Special Warfare Command) สังกัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
    • หน่วย รพศ. (Special Warfare Forces) รพ.ศ. 1 ,รพ.ศ. 2 , รพ.ศ. 3 , รพ.ศ. 4 , รพ.ศ. 5
    • กองพันจู่โจม (RANGER) กองพัน1 กรมรบพิเศษที่ 3
    • ฉก.90 (Delta Force) กองปฏิบัติการพิเศษ กรมรบพิเศษที่3 (รพ.ศ. 3พัน4)
  • หน่วยพร้อมรบ เคลื่อนที่เร็ว RDF (Rapid Deployment Force) ร.31รอ. พล.1 รอ. (ไม่ได้สังกัด รพศ แต่ทำงานแบบ พิเศษ)
  • ร้อย ลว.ไกล LRRP ( Long Range Reconnaissance Patrol ) เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารราบ (พล.ร.) และกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1)

กองทัพเรือ

  • หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ(SEAL) สังกัดหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
  • กองพันลาดตระเวณ(RECON) สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

กองทัพอากาศ

พลร่มกู้ภัย (Pararescue) หน่วยควบคุมการรบ (Combat Controller Team)

ที่มา..http://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9

26 กุมภาพันธ์ 2558

กำลังรบพิเศษนี้ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์



ครูอาภากร ครูชลอ
ท่านเป็นนายทหารปกครองเรามา


   ..หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
.... ประวัติความเป็นมา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่นๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี
... สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ จนท.ทร.สหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG [ MILITARY ASSISTANCE ADVISORY GROUP ] การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG
   ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก ดังนี้
 ๑. การฝึกของหน่วยฝึกว่ายน้ำนี้ หมายรวมถึงการฝึกของหน่วย UDT ด้วย [UNDERWARTER DEMOLITION TEAM ]
 ๒. ผู้รับการฝึกจัดจากเหล่าทัพและกรมตำรวจ ดังนี้ ทร.๓๐ นาย ทบ.๑๐ นาย ตร.๑๐ นาย ( ทอ.ปฏิเสธไม่ส่งคนเข้าร่วมฝึก )
 ๓. MAAG จะจัดนายทหาร ๒ นาย และจ่า ๒ นาย มาเป็นครูฝึก
 ๔. MAAG จะจัดยุทโธปกรณ์การฝึกให้เพียงพอกับการฝึก
 ๕. พื้นที่การฝึกบริเวณอ่าวสัตหีบ
 ๖. ควรให้ ร.อ.ปลั่ง สมิตเมฆ เป็น หน.หน่วยฝึก เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกหลักสูตร COMMANDO ของอังกฤษมาก่อน
... ในวันที่ ๑๓ มิ.ย.๙๕ กองทัพเรือจึงอนุมัติให้ดำเนินการฝึกและอบรม หน่วยทำลายใต้น้ำตามแนวความคิดข้างต้น โดยจะเริ่มทำการฝึกได้ใน ๑ ส.ค.๙๕ จุดนี้จึงนับว่าเป็นการปฏิบัติเริ่มแรกในการจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำของกองทัพเรือนั่นเอง
  แต่ต่อมา กองทัพเรือ ได้ยกเลิกการฝึกเนื่องจากครูผู้สอนฝ่ายอเมริกันยังไม่พร้อม จึงให้ระงับการฝึกไว้ชั่วคราวและให้ผู้เข้ารับการฝึกที่เตรียมไว้กลับคืนสังกัดเดิม แนวความคิดการจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำของ กองทัพเรือ โดยอาศัยความร่วมมือจากฝ่าย MAAG จึงยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรม
   ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๔๙๖ บริษัท SEA SUPPLY ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่กรมตำรวจในขณะนั้น ได้เสนอให้การสนับสนุนการฝึกด้านการทำลายใต้น้ำให้กับกำลังพลของ กองทัพเรือ และ กรมตำรวจ ซึ่งผ่านการฝึกโดดร่มมาแล้ว การสนับสนุนครั้งนี้ทางบริษัทขอให้ กองทัพเรือ และกรมตำรวจ ปิดเป็นความลับด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่ง กองทัพเรือ ให้ความเห็นชอบและมีคำสั่งให้ข้าราชการสังกัด กองทัพเรือ จำนวน ๗ นาย ร่วมกับข้าราชการสังกัดกรมตำรวจ ๗ นาย ไปเข้ารับการฝึกดังกล่าว สำหรับสถานที่ฝึกคือเกาะไซปัน (ข้อมูลจากบทความของ พล.ร.ท.พัน รักษ์แก้ว ) ระยะเวลาในการฝึก ๑๑ สัปดาห์
   ทหารเรือ ๗ นาย ที่เดินทางไปฝึกหลักสูตรดังกล่าว ประกอบด้วย ( ยศในขณะนั้น )
 ๑. เรือโท ญงสุข สุนทรนาค
 ๒. เรือโท วิสนุ ปราบศากุน
 ๓. เรือโท มนตรี ประเทืองมาศ
 ๔. พันจ่าโท หาญ สกุลแก้ว
 ๕. พันจ่าโท หาญ บันเทิงจิตต์
 ๖. พันจ่าโท สุรพล พึ่งสังข์
 ๗. พันจ่าตรี วงศา เหมะธร
    OLD1 ภายหลังการฝึกประมาณ ๑๑ สัปดาห์ที่เกาะไซปัน มนุษย์กบกลุ่มแรกของเมืองไทยก็บินกลับสู่ประเทศไทย ทหารเรือที่ผ่านการฝึกที่เกาะไซปัน จำนวน ๗ นาย จึงมีจำนวนน้อยเกินไปที่จะจัดตั้งเป็นหน่วยงานหรือทำงานได้ กองเรือยุทธการ จึงเสนอขอ กองทัพเรือ จัดตั้งหน่วยฝึกและอบรมหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น เมื่อ ๒๔ พ.ย.๒๔๙๖ โดยมี ร.ท.วิสนุ ปราบศากุน เป็น หน.หน่วยฝึก มีทหารอเมริกันและผู้ที่ผ่านการฝึกจากต่างประเทศมาแล้วเป็นครูฝึก โดยมีพื้นที่การฝึกที่ อ.สัตหีบ ระยะเวลาในการฝึกประมาณ ๒ เดือน ในรุ่นแรกนี้มีข้าราชการสังกัด กองทัพเรือ สมัครเข้ารับการฝึก จำนวน ๖๒ นาย มีผู้ผ่านการตรวจสุขภาพและผ่านการตรวจคุณสมบัติต่างๆ และได้รับการคัดเลือกเข้าฝึกอบรม จำนวน ๑๔ นาย รุ่นของการฝึกนี้นับเป็นนักทำลายใต้น้ำ รุ่นที่ ๑ สำหรับผู้ที่ฝึกมาจากเกาะไซปัน นับเป็นรุ่น ศูนย์ หรือ รุ่น โอ ( o ) OLD2 เป็นอันว่า กองทัพเรือ มีกำลังพลที่สำเร็จการฝึกการทำลายใต้น้ำทั้งจากต่างประเทศและในประเทศรวมแล้ว ๒๑ นาย
    แต่กำลังพลเหล่านี้ก็ยังถือว่าเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกเพียงขั้นต้นเท่านั้น กองเรือยุทธการ จึงขออนุมัติ กองทัพเรือ ส่งผู้ที่ผ่านการฝึกชั้นต้น จำนวน ๑๖ นาย ไปฝึกชั้นสูง [ ADVANCE COURSE ] ที่เกาะไซปันอีกครั้งหนึ่ง โดยความช่วยเหลืออย่างลับๆ ของบริษัท SEA SUPPLY นับตั้งแต่การเดินทางออกจากประเทศอย่างลับๆ ฝึกอย่างลับๆ และเดินทางกลับอย่างลับๆ โดยมี ร.ท.วิสนุ ปราบศากุน เป็น หน.คณะ การฝึกในครั้งนี้หัวข้อการฝึกส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกปฏิบัติงานทางลับ ประกอบด้วย การรบในป่า การรบแบบกองโจร การก่อวินาศกรรม การลอบสังหารบุคคลสำคัญ การรับส่งบุคคลทั้งทางอากาศและทางทะเล การซุกซ่อนบุคคลเดินทาง การข่าว การยิงอาวุธประจำกาย ทางยุทธวิธี และการซุ่มยิง การใช้วัตถุระเบิดทั้งบนบกและใต้น้ำ ฯลฯ
   การฝึกใช้ระยะเวลาประมาณ ๘ สัปดาห์ คณะดังกล่าวเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ ๑๕ พ.ย.๙๗ visanu การจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำ เมื่อ กองทัพเรือ มีกำลังพลที่ได้รับการฝึกให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการลักษณะพิเศษชั้นสูง ๑๖ นาย และชั้นต้น ๕ นาย รวม ๒๑ นาย ซึ่งกำลังพลทั้ง ๒๑ นาย ได้พักพิงอยู่ที่ ร.ล.ท่าจีน ที่ถูกลูกระเบิดเสียหายจากสงครามโลก และเทียบท่าสะพานแหลมธูปสัตหีบ เป็นทั้งแหล่งทำงาน แหล่งฝึก และที่พักอาศัยอยู่เกือบปี จน ในที่สุด กองทัพเรือ จึงได้ตั้งอัตรา หมวดทำลายใต้น้ำ ขึ้น เมื่อ ๑๘ ต.ค.๙๘ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรง กองเรือยุทธการ มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) โดย ร.อ.วิสนุ ปราบศากุน เป็นรอง หน.หมวดคนแรก และรักษาราชการ หน.หมวดอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงนับได้ว่า ท่านเป็น หน.หมวดทำลายใต้น้ำ บก.กร. เป็นคนแรก ขณะนี้นับได้ว่าหมวดทำลายใต้น้ำ บก.กร. ได้จัดตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว โดยมีอัตรากำลังพลและกิจที่ได้รับมอบที่ชัดเจน

วันสถาปนา หน่วยมนุษย์กบ Seal ทัพเรือ


วันคล้ายวันสถาปนาหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
... โดยทั่วไปหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะมีวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย ซึ่งคำว่า “สถาปนา” โดยความหมายแล้วหมายถึง แต่งตั้งให้สูงขึ้น, ตั้งขึ้น, การแต่งตั้ง, การปลูกสร้าง, ฯลฯ จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าในการกำหนดวันคล้ายวันสถาปนาของหน่วยต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
 กลุ่มที่ ๑ กำหนดวันคล้ายวันสถาปนาตามวันที่ได้รับการอนุมัติจัดตั้งหน่วย (เป็นกลุ่มใหญ่)
 กลุ่มที่ ๒ กำหนดจากวันที่หน่วยได้สร้างวีรกรรมที่เป็นเกียรติประวัติในการรบในสมรภูมิที่สำคัญ
 และกลุ่มที่ ๓ กำหนดจากวันเกิดของบุคคลสำคัญที่ได้สร้างคุณงามความดีหรือสร้างวีรกรรมที่โดดเด่นที่หน่วยนั้นๆเห็นสมควรที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานของหน่วย
.. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหน่วยกำลังรบที่ต้องปฏิบัติภารกิจด้วยความเสี่ยง ดังนั้นกำลังพลจะต้องมีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ และมีความอดทนต่อความยากลำบากจึงจะทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วง ด้วยลักษณะของภารกิจที่มีความเสี่ยงดังกล่าว กำลังพลของหน่วยจึงควรจะมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจมีแบบอย่างของบุคคลสำคัญ ที่ได้สร้างวีรกรรมที่โดดเด่นด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติภารกิจ
... จากการศึกษาประวัติศาสตร์ ในการสร้างชาติและการกอบกู้เอกราชของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือฯ เห็นว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เนื่องจากในการสร้างชาติของพระองค์ท่าน ด้านหนึ่งมาจากขีดความสามารถด้านการทหาร ที่สำคัญคือ ความสามารถในการทหารเรือ ทรงนำกองทัพเรือ จากจันทบุรีมายังกรุงธนบุรีและกรุงศรีอยุธยาจนกอบกู้เอกราชได้เป็นผลสำเร็จ ในการสงครามสมัยนั้นพระองค์ท่านได้ยกกองทัพเรือไปทำสงครามหลายครั้งและมีชัยชนะกลับมาทุกครั้ง
... การทำสงครามทางเรือสมัยนั้นเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ จึงกล่าวได้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นผู้ทรงริเริ่มแนวความคิดในการใช้กำลังเชิงรุกจากทะเล หรือที่ชาวยุโรปและอเมริกัน ในปัจจุบันเรียกว่า “ Operation maneuver from the sea ” ซึ่งพวกเราทหารเรือทุกคนน้อมเคารพถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านเสมอมา นอกจากนี้พระองค์ท่านยังมีพระปรีชาสามารถในด้านการสงครามพิเศษอันประกอบด้วย การรบแบบกองโจร การซุ่มโจมตี การรบในเวลากลางคืนและการรบในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พระองค์ทรงใช้ยุทธวิธีของหน่วยรบขนาดเล็กกระทำการรบในลักษณะสงครามพิเศษ เข้าต่อสู้อย่างต่อเนื่องจนสามารถกอบกู้เอกราชและประกาศอิสรภาพให้แก่ชาติไทยได้สำเร็จ
... สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ด้วยลักษณะอันเข้มแข็ง เฉียบขาด ตลอดจนพระปรีชาสามารถในการทำสงครามแบบกองโจรของพระองค์ ล้วนเป็นแบบอย่างที่นักทำลายใต้น้ำจู่โจมได้เทิดทูนและน้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เสมอมา ดังนั้น หน่วยสงครามพิเศษทางเรือฯ จึงได้กำหนดวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย

ความภาคภูมิใจของเราที่ได้ร่วมเป็นฝีพายขบวนเรือราชพิธี

     
๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๐

                   นับตั้งแต่งานฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ประเทศไทยกได้ว่างเว้นงานพระราชพิธีขบวนพยุหยาตราชลมารคมาหลายปี
                   เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองสมัยที่จะจัดเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี โดยกำหนดพระให้ขบวนพยุหยาตราชลมารค อยู่ในพระราชพิธีมหามงคลอันสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม

                   หมายกำหนดการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนตินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยขบวนพยุหยาตราชลมารคเริ่มขึ้น เมื่อเวลา 15.00น.ของวันศุกร์ทิ่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2530 โดยคณะกรรมการฝ่ายอำนวยการจักงานได้ตระเตรียมขบวนรับเสด็จฯอันประกอบไปด้ย ข้าราชการ ทหาร และตำรวจ ณ ท่าวาสุกรี ในการนี้ ทางกองทัพเรือได้จัดเตรียมขบวนเรือประเภทต่าง ๆจำนวน51 ลำ อันได้แก่เรือดั้ง เรือคู่ชัก เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชและเรือพรที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ซึ่งทางรัฐบาลได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมเรือโบราณเหล่านี้อยางงดงามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมพรั่งด้วยเหล่าฝีพายจำนวน 2,188 ฝีพายที่แต่งตัวแบบ นักโบราณ ประจำอยู่ตามตามเรือประเภทต่าง ๆ อันเป็นจุดสนใจอย่างยิ่งทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ

                   เวลา 15.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มายังท่าวาสุกรี ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ พลเรือประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กราบบังคมทูลถวายรายงานกำลังพลและเรือพระที่นั่ง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมด้วยพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ให้ผู้บัญชาการขบวนเรือพยุหยาตราชลมารค เคลื่อนออกจากท่าวาสุกรี ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยา สู่วัดอรุณราชวราราม


                   ขบวนเรือทั้ง 50 ลำ เคลื่อนที่ไปช้า ๆ อย่างมีระเบียบตามลำน้ำเจ้าพระยาท่ามกลางสยตาประชาชนนับแสนที่ชมดูการแห่เรือครั้งประวัติศาสตร์นี้


                   ขบวนพยุหยาตราชลมารค ถึงท่าอรุณราชวราราม เวลา 16.44 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ พร้อมด้วยพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ถึงพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐินแล้วเสด็จฯพร้อมด้วยพระโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับยังเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เทียบท่าราชวรดิษฐ เพื่อเสด็จฯประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ





                   ณ ราชนาวิกสภา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวราชาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงทอดพระเนตรขบวนพยุหยาตราชลมารค ท่ามกลางเอกอัครราชทูตจากประเทศต่าง ๆ 52 ประเทศ




ที่มา : http://ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view=IKNOW&db0=RareBook&cid_bookid=200403251400131870000002773&cid_chapid=10000000001&recid=&numresults=10

25 กุมภาพันธ์ 2558

ป้อมพระจุลจอมเกล้า

2 ปี ที่เราใช้ชีวิตอยู่ ณ แผ่นดินผืนประวัติศาสตร์ชาติสยาม ประวัติเป็นความน่าเสียใจของชาติ แต่เป็นความที่เราจะมุ่งมั่นเป็นทหารเพื่อรักษาแผ่นดินและอธิปไตยของชาติเรา ตราบเราจะสิ้นลมหายใจ

24 กุมภาพันธ์ 2558

เรือฝึกภาคทะเลของพวกเรา.. รล.ช้าง

ชีวิตทหารเรือของนักเรียนจ่าจะสมบูรณ์ไม่ได้หากขาดการฝึกใช้ชีวิตในเรือรบจริง การเรียนในชั้นเรียนไม่สามารถทำให้รู้จักเท่าของจริง การเมาคลื่น ถึงบอกให้ฟัง หากไม่เคยอ๊วกแตกกับตนเอง มันก็ยากจะบรรยายว่า รากเขียวรากเหลือง มันทรมานขนาดไหน?
นรจ.ไฟฟ้า เมื่อคราวต้องฝึกภาคทะเล ถูกส่งต้วไปยังห้องเครื่อง และห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทึ่พรรคกลินทำหน้าที่อยู่ ท้งร้อนและอึดอัด เหม็นน้ำมันต่างๆทึ่สุด
เรือรบหลวงช้าง เป็นครูของพวกเรา เราทั้งขี้ เหยียว อวก และ เอาหยาดเหงื่อ อาจต้องมีเลือดผสม รดลงบนเรือนี้ตลอดเวลาเป็นเดือนในการฝึก
ข อระลึกถึงเรือลำนี้ตลอดไป