26 มีนาคม 2557

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช

พระราชปณิธาน "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

25 มีนาคม 2557

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระปณิธาน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี สมณะพราหมณ์ ปฏิบัติ ให้พอสม เจริญสมถะ วิปัสนา พ่อชื่นชม ถวายบังคม รอยพระบาท พระศาสดา คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่ักัน.

17 มีนาคม 2557

เครื่องหมายพรรคเหล่าของเรา

เครื่องหมายพรรคพิเศษ เหล่าช่างยุทธโยธาไฟฟ้า เราใช้ติดแขนเสื้อมาตลอด

05 มีนาคม 2557

เสียงระฆังทหารเรือ

การตีระฆังเรือบอกเวลา 
การตีระฆังเรือบอกเวลากระทำทุกครึ่งชั่วโมง และตีสูงสุดเพียง 8 ทีเท่านั้น
โดยจัดตีเป็นคู่ 4 คู่ ทุกครั้งที่นาฬิกาบอกเวลาชั่วโมง ระฆังเรือจะตีคู่และทุกครึ่งชั่วโมง ระฆังเรือจะตีจำนวนของการตี 1 ทีนั้นเริ่มเวลา 0030
ฉะนั้นในวันหนึ่ง ๆ ระฆังเรือจะตีบอกเวลากลับไปกลับมา 6 รอบด้วยกัน ประเพณีในเรื่องนี้จะมีมาอย่างไร ยังไม่พบเรื่องแสดงไว้เป็นหลักฐานแน่ชัด ได้แต่สันนิษฐานเอาว่า ในสมัยก่อนการเข้ายามของชาวเรือเข้าครั้งละ 4 ชั่วโมง คือเริ่มตั้งแต่ระฆังตี 8 ที จนถึงระฆังตี 8 ที เพื่อไม่ให้ต้องจดจำมาก ก็ให้จำไว้แต่เพียงว่าจะมีการเปลี่ยนยามทุก ๆ ครั้งที่ระฆังตี 8 ที และระฆังที่ตีเพิ่มขึ้นแต่ละครั้งนั้นหมายความว่าเวลาที่ล่วงไปทุกครึ่งชั่วโมง
ในสมัยนั้นใช้นาฬิกาทรายทุกครั้งที่ทรายไหลหมดเป็นเวลาชั่วโมง ยามจะต้องคว่ำนาฬิกาทรายกลับในทางตรงกันข้าม พร้อมกับตีระฆัง 1 ที เพื่อแสดงว่ากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ดังนั้น เวลา 1 ชั่วโมงที่ต้องเข้ายามจึงข้องคว่ำนาฬิกาทราย 8 ครั้ง จึงตีระฆังทั้งสิ้น 8 ทีในการเข้ายาม 1 ผลัด การเข้ายามผลัดละ 4 ชั่วโมงนี้แม้ในสมัยปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่สำหรับนายทหารยามเรือเดิน แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมขึ้น