26 กุมภาพันธ์ 2558

กำลังรบพิเศษนี้ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์



ครูอาภากร ครูชลอ
ท่านเป็นนายทหารปกครองเรามา


   ..หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
.... ประวัติความเป็นมา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่นๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี
... สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ จนท.ทร.สหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG [ MILITARY ASSISTANCE ADVISORY GROUP ] การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG
   ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก ดังนี้
 ๑. การฝึกของหน่วยฝึกว่ายน้ำนี้ หมายรวมถึงการฝึกของหน่วย UDT ด้วย [UNDERWARTER DEMOLITION TEAM ]
 ๒. ผู้รับการฝึกจัดจากเหล่าทัพและกรมตำรวจ ดังนี้ ทร.๓๐ นาย ทบ.๑๐ นาย ตร.๑๐ นาย ( ทอ.ปฏิเสธไม่ส่งคนเข้าร่วมฝึก )
 ๓. MAAG จะจัดนายทหาร ๒ นาย และจ่า ๒ นาย มาเป็นครูฝึก
 ๔. MAAG จะจัดยุทโธปกรณ์การฝึกให้เพียงพอกับการฝึก
 ๕. พื้นที่การฝึกบริเวณอ่าวสัตหีบ
 ๖. ควรให้ ร.อ.ปลั่ง สมิตเมฆ เป็น หน.หน่วยฝึก เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกหลักสูตร COMMANDO ของอังกฤษมาก่อน
... ในวันที่ ๑๓ มิ.ย.๙๕ กองทัพเรือจึงอนุมัติให้ดำเนินการฝึกและอบรม หน่วยทำลายใต้น้ำตามแนวความคิดข้างต้น โดยจะเริ่มทำการฝึกได้ใน ๑ ส.ค.๙๕ จุดนี้จึงนับว่าเป็นการปฏิบัติเริ่มแรกในการจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำของกองทัพเรือนั่นเอง
  แต่ต่อมา กองทัพเรือ ได้ยกเลิกการฝึกเนื่องจากครูผู้สอนฝ่ายอเมริกันยังไม่พร้อม จึงให้ระงับการฝึกไว้ชั่วคราวและให้ผู้เข้ารับการฝึกที่เตรียมไว้กลับคืนสังกัดเดิม แนวความคิดการจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำของ กองทัพเรือ โดยอาศัยความร่วมมือจากฝ่าย MAAG จึงยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรม
   ต่อมาในต้นปี พ.ศ.๒๔๙๖ บริษัท SEA SUPPLY ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่กรมตำรวจในขณะนั้น ได้เสนอให้การสนับสนุนการฝึกด้านการทำลายใต้น้ำให้กับกำลังพลของ กองทัพเรือ และ กรมตำรวจ ซึ่งผ่านการฝึกโดดร่มมาแล้ว การสนับสนุนครั้งนี้ทางบริษัทขอให้ กองทัพเรือ และกรมตำรวจ ปิดเป็นความลับด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่ง กองทัพเรือ ให้ความเห็นชอบและมีคำสั่งให้ข้าราชการสังกัด กองทัพเรือ จำนวน ๗ นาย ร่วมกับข้าราชการสังกัดกรมตำรวจ ๗ นาย ไปเข้ารับการฝึกดังกล่าว สำหรับสถานที่ฝึกคือเกาะไซปัน (ข้อมูลจากบทความของ พล.ร.ท.พัน รักษ์แก้ว ) ระยะเวลาในการฝึก ๑๑ สัปดาห์
   ทหารเรือ ๗ นาย ที่เดินทางไปฝึกหลักสูตรดังกล่าว ประกอบด้วย ( ยศในขณะนั้น )
 ๑. เรือโท ญงสุข สุนทรนาค
 ๒. เรือโท วิสนุ ปราบศากุน
 ๓. เรือโท มนตรี ประเทืองมาศ
 ๔. พันจ่าโท หาญ สกุลแก้ว
 ๕. พันจ่าโท หาญ บันเทิงจิตต์
 ๖. พันจ่าโท สุรพล พึ่งสังข์
 ๗. พันจ่าตรี วงศา เหมะธร
    OLD1 ภายหลังการฝึกประมาณ ๑๑ สัปดาห์ที่เกาะไซปัน มนุษย์กบกลุ่มแรกของเมืองไทยก็บินกลับสู่ประเทศไทย ทหารเรือที่ผ่านการฝึกที่เกาะไซปัน จำนวน ๗ นาย จึงมีจำนวนน้อยเกินไปที่จะจัดตั้งเป็นหน่วยงานหรือทำงานได้ กองเรือยุทธการ จึงเสนอขอ กองทัพเรือ จัดตั้งหน่วยฝึกและอบรมหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น เมื่อ ๒๔ พ.ย.๒๔๙๖ โดยมี ร.ท.วิสนุ ปราบศากุน เป็น หน.หน่วยฝึก มีทหารอเมริกันและผู้ที่ผ่านการฝึกจากต่างประเทศมาแล้วเป็นครูฝึก โดยมีพื้นที่การฝึกที่ อ.สัตหีบ ระยะเวลาในการฝึกประมาณ ๒ เดือน ในรุ่นแรกนี้มีข้าราชการสังกัด กองทัพเรือ สมัครเข้ารับการฝึก จำนวน ๖๒ นาย มีผู้ผ่านการตรวจสุขภาพและผ่านการตรวจคุณสมบัติต่างๆ และได้รับการคัดเลือกเข้าฝึกอบรม จำนวน ๑๔ นาย รุ่นของการฝึกนี้นับเป็นนักทำลายใต้น้ำ รุ่นที่ ๑ สำหรับผู้ที่ฝึกมาจากเกาะไซปัน นับเป็นรุ่น ศูนย์ หรือ รุ่น โอ ( o ) OLD2 เป็นอันว่า กองทัพเรือ มีกำลังพลที่สำเร็จการฝึกการทำลายใต้น้ำทั้งจากต่างประเทศและในประเทศรวมแล้ว ๒๑ นาย
    แต่กำลังพลเหล่านี้ก็ยังถือว่าเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกเพียงขั้นต้นเท่านั้น กองเรือยุทธการ จึงขออนุมัติ กองทัพเรือ ส่งผู้ที่ผ่านการฝึกชั้นต้น จำนวน ๑๖ นาย ไปฝึกชั้นสูง [ ADVANCE COURSE ] ที่เกาะไซปันอีกครั้งหนึ่ง โดยความช่วยเหลืออย่างลับๆ ของบริษัท SEA SUPPLY นับตั้งแต่การเดินทางออกจากประเทศอย่างลับๆ ฝึกอย่างลับๆ และเดินทางกลับอย่างลับๆ โดยมี ร.ท.วิสนุ ปราบศากุน เป็น หน.คณะ การฝึกในครั้งนี้หัวข้อการฝึกส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกปฏิบัติงานทางลับ ประกอบด้วย การรบในป่า การรบแบบกองโจร การก่อวินาศกรรม การลอบสังหารบุคคลสำคัญ การรับส่งบุคคลทั้งทางอากาศและทางทะเล การซุกซ่อนบุคคลเดินทาง การข่าว การยิงอาวุธประจำกาย ทางยุทธวิธี และการซุ่มยิง การใช้วัตถุระเบิดทั้งบนบกและใต้น้ำ ฯลฯ
   การฝึกใช้ระยะเวลาประมาณ ๘ สัปดาห์ คณะดังกล่าวเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ ๑๕ พ.ย.๙๗ visanu การจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำ เมื่อ กองทัพเรือ มีกำลังพลที่ได้รับการฝึกให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการลักษณะพิเศษชั้นสูง ๑๖ นาย และชั้นต้น ๕ นาย รวม ๒๑ นาย ซึ่งกำลังพลทั้ง ๒๑ นาย ได้พักพิงอยู่ที่ ร.ล.ท่าจีน ที่ถูกลูกระเบิดเสียหายจากสงครามโลก และเทียบท่าสะพานแหลมธูปสัตหีบ เป็นทั้งแหล่งทำงาน แหล่งฝึก และที่พักอาศัยอยู่เกือบปี จน ในที่สุด กองทัพเรือ จึงได้ตั้งอัตรา หมวดทำลายใต้น้ำ ขึ้น เมื่อ ๑๘ ต.ค.๙๘ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรง กองเรือยุทธการ มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) โดย ร.อ.วิสนุ ปราบศากุน เป็นรอง หน.หมวดคนแรก และรักษาราชการ หน.หมวดอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงนับได้ว่า ท่านเป็น หน.หมวดทำลายใต้น้ำ บก.กร. เป็นคนแรก ขณะนี้นับได้ว่าหมวดทำลายใต้น้ำ บก.กร. ได้จัดตั้งขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว โดยมีอัตรากำลังพลและกิจที่ได้รับมอบที่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น