11 ธันวาคม 2559

ผู้เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างอาคาร

...การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในปัจจุบัน เรามักจะรู้จักแต่"ช่าง"
แต่คราวนี้เวลาจะสร้างบ้าน ด้วยความคุ้นเคย ก็มักนึกถึงช่างที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดก่อน แล้วจึงคิดต่อไปถึงฝีมือความรับผิดชอบ จากผลงานและอุปนิสัยส่วนตัวกันเป็นลำดับ
..บางครั้งเราอาจนึกถึงร้านขายวัสดุก่อสร้าง อาจสามารถแนะนำ หรือช่วยเราได้ นั้นเป็นความคิดในเบื้องต้นของการก่อสร้าง แต่หากเราเข้าใจเรื่องการก่อสร้างจริงๆ จะทราบว่า ไม่ง่ายเลยที่จะสร้าง!
.. การก่อสร้างมีปัจจัยข้อควรคำนึงถึงมากพอควร และยังมีกฏหมายเข้ามาเกี่ยวข้องคุ้มครอง เนื่องจากการก่อสร้างมีอันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งขณะกำลังดำเนินงาน และใช้งานหรือ การอยู่อาศัยหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะเราคงเคยได้ยินข่าวความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ
.. หน้าที่ของผู้ที่สำเร็จการศึกษามาเพื่อการก่อสร้างอาคารโดยเฉพาะนั้นมีความสำคัญตามกฎหมาย เช่นสถาปนิก มีหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบอย่างไร? กฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจนแล้ว แต่เราอาจไม่ทราบ เพราะหลายครั้งเรามักคุ้นเคยว่าบ้านพักอาศัยที่มีกันอยู่โดยทั่วไป ก็ไม่เห็นต้องใช้สถาปนิกหรือวิศกรอะไรๆเลย เขาก็สร้างกันจนอยู่ได้ นั่นเพราะกฎหมายเปิดทางให้ไว้แล้ว เช่นอาคารไม่เกิน 2 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดไม่เกิน 150 ตร.ม.ไม่ต้องมีผู้ออกแบบและรับรองก็ได้ เราจึงไม่ทราบความแตกต่างและความสำคัญตามสายอาชีพ
... หลายครั้ง ที่ช่างก่อสร้างอาจไม่รู้รายละเอียดสัดส่วนต่างๆที่ชัดเจน อาศัยความจำได้ ความคุ้นเคยที่ทำมานานในการแก้ปัญหาเท่านั้น จึงทำให้บางครั้งอาคารเสียหายก่อนกำหนดมาก หรือเปลืองค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป เพราะคำนวณหาค่าความถูกต้องไม่ได้เป็นต้น
... ตามประสบการณ์ที่ผู้ที่ตรงสายงานในการจะปรึกษางานก่อสร้างมากที่สุด คือ "สถาปนิก" เพราะเรียนมาโดยตรงที่จะเป็นผู้สอบถามเจ้าของงานว่า"ต้องการอะไร? รูปแบบไหน? ที่อยากสร้างให้เกิดมีขึ้น" แล้วสาขาอื่นทำไม่ได้หรือ? ตอบได้ว่า "ทำได้ แต่ไม่ลึกและชัดเจนเท่า" เช่น วิศวกรโยธา เป็นผู้มีความใกล้เคียงกับงานสถาปนิกมากที่สุด แต่รายละเอียดต่างกัน เช่น สถาปนิก เรียนเรื่องหน้าตารูปร่างของอาคารแบบละเอียดมากกว่าวิศกรโยธา โดยที่วิศกรโยธาเรียนการคำนวณโครงสร้างอาคารแบบละเอียดมากกว่า และกฎหมายจึงเน้นเอาผิดกับวิศกรโยธาต้องรับผิดชอบถ้าอาคารถล่ม เพราะเป็นผู้คำนวณรับรองว่าโครงสร้างที่ออกแบบใช้งานไม่ปลอดภัย แต่หากเป็นเรื่องของสถาปนิกจะเป็นเรื่องของ การออกแบบห้องน้ำน้อยไม่เพียงพอบ้าง ออกแบบห้องน้ำอยู่ไกล ไม่สะดวกจนไปไม่ทันถึงบ้างเป็นต้น
.. การเกริ่นในข้างต้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์งานก่อสร้าง จึงวาดภาพแบบคาดหวังเหมือนกับว่า บ้านถูกสร้างเสร็จไว้แล้วแบบสำเร็จรูป ซื้อแล้วก็ยกมาตั้งใช้งานได้ทันที! จึงคาดเอาว่าจะได้ของดีที่ถูกใจ แต่ในความเป็นจริงนั้น บ้านสำเร็จรูปที่ว่านี้ก็มีให้เลือกอยู่มาก แต่มักประสบปัญหาในระยะยาว เพราะสวยแต่ไม่ทนบ้าง ห้องคับแคบเกินไปบ้าง เป็นต้น ทั้งๆก็ได้เห็นของก่อนจึงเลือกซื้อ ยังไม่ลงตัว แน่นอนว่า การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้นเป็นสิ่งของที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวคนหลายเท่า วัสดุอุปกรณ์ก็ย่อมมีน้ำหนักมาก เพื่อความแข็งแรงสามารถป้องกันอันตรายคนที่อยู่ภายในได้เป็นสำคัญ วัสดุจึงมีน้ำหนักมาก เช่นปูน หิน ทราย เหล็ก ไม้ สังกะสี เป็นต้น การประกอบวัสดุต่างๆ ให้เป็นอาคารยาอมต้องใช้เวลา ใช้แรงงาน ดังนั้นการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จึงต้องมีขั้นตอน และมักจะเริ่มด้วยความว่างเปล่าบนที่ดินที่จะสร้าง ผ่านจินตนาการของคนที่มีความสามารถถ่ายทอดออกมาให้เป็นรูปในกระดาษ เพื่อสร้างสื่อตัวกลางในการออกความเห็นได้ชัดเจน เป็นบันทึกแทนความจำในสมองของคน ถ่ายทอดออกมาเพื่อปรับความเข้าใจของเจ้าของบ้าน กับช่างผู้จะลงมือทำการก่อสร้างให้ตรงกัน
การเขียนรูปและบอกขนาดระยะที่ละเอียด จะทำให้เจ้าของบ้านมองเห็นจินตนาการของตนเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์สามารถจำลองภาพได้เหมือนจริงมาก
เท่าที่กล่าวถึงไปแล้ว ดูเหมือนง่ายๆ แต่ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด!
... ดังนั้น ผู้ที่เรียนเป็นสถาปนิกจนสำเร็จมาใช้เวลาหลายปี มักถูกฝึกมาเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ เช่น คนไม่มีประสบการณ์ มักมองว่าบ้าน มีเสา 4 เสา มีหลังคามุง มีผนังก่อเข้า เอาปูนมาเทพื้น ก็จบแล้ว อยู่ได้แล้ว จะเอาอะไรกันนักหนา? เริ่มต้น ก็อย่างนี้แหละ พอจะเอาจริงๆ จะเทปูนหล่อเสาก็ผสมไม่เป็น! แล้วจะใช้กี่ลูกล่ะ? เสาขนาดเท่าไรดี? จะดัดเหล็กใส่ยังไง?
... หากเป็นช่างเองจะสร้างบ้านยังไงๆ ก็ต้องมีลูกมือ! ยังไงก็ต้องไปสั่งของซื้อของ! แต่ที่สำคัญคือ มักทำลุยไปก่อน มักจะไปผ่อน(หนี้)เอาทีหลัง เพราะการวางแผนไม่รอบครอบตั้งแต่ต้น ก็ไปบานปลายทีหลัง นี่คือสิ่งที่สถาปนิกเขาเรียนมาเพื่อให้เข้าใจสิ่งนี้ จึงพยายามหาข้อมูลให้มาก ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ตนจะสอบถาม เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า
.. ถ้าไม่ต้องใช้สถาปนิกหรือวิศวกรมายุ่ง จะสร้างบ้านได้ไหม? .."ได้!" แต่ไม่ทั้งหมด เพราะถ้าเราทำแค่ต่อเติมโดยไม่ได้ติดต่อขออนุญาต ช่างก่อสร้างรับจ้างทั่วไปก็ทำได้ แต่หากต้องมีการยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการเช่น อบต.หรือเทศบาล เพื่อขอเลขที่บ้านแล้วจำเป็นต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกและวิศกร ลงชื่อรับผิดชอบการออกแบบด้วย คือต้องผ่านการตรวจสอบในเบื้องต้นให้บ้านเราเองปลอดภัย! แต่ก็สวนทางกับความคิดของเราที่รู้สึกยุ่งยาก และเปลืองเงิน!จากประสบการณ์ผู้เขียนได้เห็นมามากเจ้าของบ้านมักอยากได้บ้านราคาหลักล้านในขณะที่ตนมีเงินหลักหมื่นหลักแสน และคำถามที่ชอบมากคือ ถ้าจะสร้างบ้านขนาดเท่านี้ๆจะใช้เงินเท่าไร? และช่างหลายคนก็จะชอบคิดเป็นสูตรสำเร็จว่า ตร.ม.ละกี่พันกี่หมื่นบาท พอทำไปๆก็มีแต่บาน คุมไม่ได้ แล้วก็"หยุด" ถ้าไม่หยุด ก็"ติดลบ" เป็นหนี้มากยิ่งขึ้น! ...อะไรคือปัจจัยทำให้ผิดพลาดจากความคาดหวัง? มีมากเหลือเกินแต่พอจะนำมาถ่ายทอดได้บางส่วนคือ 1.วัสดุอุปกรณ์ ทั้งเรื่องราคาและชนิด อีกทั้งคุณสมบัติหรือ spec! ในคราวที่คิดประมาณการณ์กับซื้อจริงผิดกันมาก แล้วเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักไม่ทราบรายละเอียดนี้ว่า เป็นสิ่งสำคัญมากที่จำเป็นต้องมีสถาปนิกและวิศวกร เพราะ สถาปนิก จะค้นคว้าหลักการตามสถานที่จริงก่อนว่า ทิศไหนตรงกับหน้าบ้านตะวันจะเดินทะแยงตัวบ้านไหม? เช่นบ้านหันไปทางทิศตะวันออก ขวามือของบ้านเป็นทิศใต้ แสงแดดจะส่องมาทางด้านนี้ทั้งวันควรจะทำกันสาดเพิ่มเติมในทิศนี้ เจ้าของบ้านจะได้อยู่สบายไม่ร้อนเป็นต้น วัสดุควรใช้อะไรเช่นแผ่นโพลี,หลังคาแผ่นใส หรือทำผนังกันต่างๆจึงจะเหมาะสม โดยที่เจ้าของบ้านอาจจะคิดไม่ถึงตั้งแต่เขียนแบบ เพราะมันยังไม่มีอะไรบนพื้นดินก็มองไม่เห็น แต่คนที่เขาเรียนและมีประสบการณ์ควรจะต้องเห็นและเสนอแนะให้ได้เป็นต้น เจ้าของบ้านที่คิดว่าไม่จำเป็นต้องมีใครมาแนะนำ พอทำไปจริงแล้วมาคิดออกทีหลัง วัสดุก็เพิ่ม แรงก็เพิ่ม เงินก็ต้องเพิ่มตาม อย่างนี้ความคลาดเคลื่อนที่คาดหมายก็เริ่มบาน! หากเอาให้ใกล้ตัวเลยคือ เจ้าของบ้านมีเงิน 300,000.- หาแบบบ้านที่มีราคาในช่วงนี้ได้ก็ทำเลย ไม่คิดว่าขนาดห้องจะเล็กหรือใหญ่ สั่งให้ช่างทำเลย พอห้องถูกก่อขึ้นมา 2x3 ม.คราวนี้แค่เตียงนอนตัวก็เต็มห้องไปแล้ว ห้องครัวก็ไม่มี คือเขาไปเอาแบบรีสอร์ทมาทำบ้านในราคาประหยัด สุดท้ายเป็นหนี้ไปเป็นล้านๆ เพราะทั้งรื้อ ทั้งต่อเติมไปสารพัด ตามแต่ช่างจะบอกหรือใครจะแนะนำว่าดี! ..ตามที่เรื่องของวัสดุกันต่อ เมื่อสถาปนิกทบทวนลักษณะของบ้านว่าเหมาะสมกับการใช้งานของเจ้าของบ้านแล้วทั้งหน้าตา รูปทรง ขนาดและวัสดุตกแต่งภายนอกได้ ก็จะส่งให้วิศกรโยธาดูรายละเอียดโครงสร้าง เพราะสถาปนิก เรียนแค่เรื่องลักษณะกายภาพของอาคารอย่างหลากหลาย คืออย่าคิดว่าสถาปนิกเรียนแต่ลักษณะของบ้านเท่านั้น ทั้งวัด ทั้งโรงเรียน ทั้งโบสถ์ ทั้งเจดีย์ อาคารสูง สนามบิน ฯลฯ เรียนหมด จะให้ไปเรียนว่าเสาขนาดเท่าไร ใช้เหล็กอะไร? ถ้าไปเรียนละเอียดหมด คงต้องเพิ่มหลักสูตรการเรียนเป็น สองเท่า ถ้าจะไปออกแบบไฟฟ้าด้วย ก็เพิ่มไปอีกเรื่อยๆ คงจะมีแต่เรียนกันทั้งชีวิตแน่ แต่ว่าต้องเอาวิชาความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์ สถาปนิกจึงเป็นผู้กำหนดความเหมาะสมในการอยู่อาศัยของเจ้าของบ้านเป็นหลักก่อน แล้ววิศกรโยธาจึงจะเอารายละเอียดตามแบบบ้านหรืออาคารมาหา ขนาดเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นสเป็คไหน จึงจะปลอดภัย เพราะเรียนมาโดยเฉพาะ เช่นถังน้ำใส่น้ำเปล่าขนาด 10,000 ลิตร มีน้ำหนัก10,000 กก.ถ้าใส่สารอื่นก็หนักไม่เท่านี้ น้ำหนักขนาดนี้เกิดแรงกดที่พื้นเท่าไร? เกิดแรงดันที่ผนังเท่าไร? ใช้วัสดุอะไร?มาประกอบจึงทนแรงนี้ได้ ไปดูเถอะ ค่าตารางของวัสดุ กับค่าที่จะคำนวณ สิ่งเหล่านี้ สถาปนิกเขาไม่ได้เรียนแบบลึก เขาก็ต้องส่งแบบต่อให้วิศวกรโยธากำหนดให้ บ้านเราส่วนใหญ่ เอาตามที่เขาคิดไว้แล้ว โดยไม่เข้าใจรายละเอียด เช่น เทคาน เทพื้น มักเอาประหยัดที่สุด มันก็อยู่ได้ตอนเสร็จใหม่ๆบ้าง ใช้ไปนานเข้าๆ มันเริ่มฟ้องว่าไม่ไหวแล้ว เสียเวลาแก้ไขทีหลัง อย่างนี้เป็นต้น การออกแบบตั้งแต่ต้นจึงสำคัญในการหาราคาค่าก่อสร้างตลอดทั้งโครงการได้ อีกอย่างคือการกำหนดวัสดุ เช่น ตั้งใจจะใช้หลังคาเมทัลชีท พอเขียนแบบประมาณราคาได้แล้ว พอทำจริงเปลี่ยนใจมาใช้ กระเบื้องซีแพค คราวนี้บานปลายมากเพราะราคาต่างกันหลายเท่า แต่ความสวยงามและสามารถกันร้อนได้ดีกว่า ยิ่งถ้าออกแบบเป็นทรงลาดเอียงน้อย เพราะเมทัลชีทไม่มีปัญหา พอเปลี่ยนมามุงซีแพค แปก็มากขึ้น หลังคาก็หนัก โครงสร้างรับได้หรือไม่ก็ไม่รู้? เปลี่ยนได้ พอฝนมามากความเอียงน้อยน้ำฝนสะสมมากคราวนี้ล้นแผ่นซีแพคเข้าอาคารอีก นี่คือปัญหาจากวัสดุ 2. ปัญหาเรื่องฝีมือช่าง เพราะช่างที่เข้ามารับงาน ต่างมักจะคุยให้เจ้าของบ้านเชื่อถือ แต่ทำไม่ได้ในหลายๆเรื่อง จึงกลายเป็นปัญหาในที่สุด 3. การประสานงาน และการควบคุมงานให้เป็นไปตามขั้นตอนการทำงานโดยเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเบื้องต้นที่ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคของงาน
... เมื่อเป็นเช่นนี้ การจะสร้างอาคารขึ้นมา ผู้ที่เกี่ยวข้องในแขนงต่างๆจึงต้องมาช่วยประสานงานให้งานทั้งหมดออกมาเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย แต่หากเราได้ช่างที่ก่อสร้างทั่วไป ที่เรารู้จัก หรือเคยเห็นเช่นร้านเหล็ก ช่างเชื่อม ก็น่าจะสร้างบ้านได้ เพราะผ่านงานจากบริษัทใหญ่ๆมาหลายงาน แต่เราอาจไม่ทราบเลยว่า ช่างเขาทำได้ คือมีประสบการณ์แค่งานเหล็กที่เชื่อมอยู่ แต่มักไม่ทราบถึงสภาพแวดล้อมโดยรวมทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ และกฎหมายที่บังคับใช้ในพื้นที่ที่เราปลูกสร้างอยู่ เท่านี้เราก็มักจะไปตันเอาช่วงหน้าได้ ถ้าโชคดี งานก็เสร็จสมบูรณ์โดยดี
... ไม่ใช่ว่า คนทุกคนจะรู้ไปหมดทุกอย่างในงานก่อสร้างแบบละเอียด และไม่สามารถจะลงมือทำทุกอย่างได้ในงานทั้งหมด งานถูกแบ่งไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามสายงานอยู่ในตัวแล้ว เพียงแต่เราต้องแยกแยะงานก่อสร้างให้ออกก่อน จึงจะทราบว่าเราควรปรึกษาใคร?ในเรื่องไหน?
.. หากเรามีความรู้มากขึ้นในด้านงานก่อสร้าง อย่างน้อยเอาเป็นพื้นฐานก่อน ให้สามารถรู้จักสิ่งที่เราต้องการ คือ อาคารบ้านเรือนที่เราจะอยู่นั้น ควรสร้างออกมาเป็นอย่างไรเสียก่อนดีกว่า?
บุคคลที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างที่สำคัญคือ
1. สถาปนิก
2.วิศวกรโครงสร้าง (Structural Engineer)
3.วิศวกรโยธา (Civil Engineer)
4.วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer)
5.วิศวกรประปา (Plumbing Engineer)
6.วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer)
และอื่นๆ ที่อาจเพิ่มเติมตามความต้องการเช่น มัณฑนากร(ผู้ออกแบบตกแต่งภายใน)เป็นต้น ดูหน้าที่ของแต่ละบุคคลเป็นพื้นฐาน
..มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจให้อ่านศึกษาข้อมูล
http://www.homemax.co.th/main/tips/tip_10.html
http://selectcon.com/extra_edtorial_1.asp
http://www.aoonjai.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=aoonjaicom&thispage=1&No=1630892
http://m.pantip.com/topic/33534124? http://www.scgbuildingmaterials.com/th/HomeConsult/Blog/new-home/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.aspx














หมายเหตุ.. แนะนำสำหรับการขอรับการปรึกษางานออกแบบก่อสร้างอาคารได้ที่ http://thinkofliving.com/2012/03/13/online-consult-scg-experience/