29 พฤษภาคม 2557

พระราชดำรัส ในหลวง ด้านการปกครอง

พระบรมราโชวาท
ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
ครั้งที่ ๖ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒

  ข้าพเจ้าและพระราชีนี มีความยินดี ที่ได้มาร่วมพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ในโอกาสนี้ และพอใจที่ได้ทราบตามรายงานของผู้บังคับการค่ายชุมนุมว่า งานชุมนุมลูกสือนี้ จะให้ประโยชน์แก่ลูกเสือทั้งโดยทางตรง และโดยทางอ้อม เป็นอย่างมาก 
   ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวแก่คณะลูกเสือในโอกาสอื่นมาแล้าว่า การลูกเสือนั้นเป็นกิจการที่ผู้ใหญ่จัดขึ้นสำหรับเด็ก เพื่อซักจูงและฝึกฝนให้เติบโตเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ และเป็นผู้สามารถเหมาะสมที่จะอยู่ในสังคม ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจและเป็นที่หวังว่า ต่อไปข้างหน้าลูกเสือจะเป็นคนสำคัญของชาติ คือจะเป็นผู้บริหารปกครองบ้านเมืองได้

   ขอให้ลูกเสือทราบถึงสิ่งสำคัญในการปกครองไว้ว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ 
   ลูกเสือทุกคนจงหมั่นฝึกฝนตนเองให้มาก เพื่อให้พร้อมและให้เหมาะแก่การภาระหน้าที่อันจะมีมาข้างหน้านั้น ในการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งนี้ ลูกเสือทั่วราชอาณาจักรได้มาอยู่ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีแขกจากต่างประเทศมาอยู่ร่วมกับเราด้วย เป็นโอกาสอันประเสริฐที่จะผูกไมตรีระหว่างกันและกัน
   ขอให้แต่ละคนทำความรู้จักคุ้นเคย แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกัน ผูกพันกันไว้ด้วยน้ำใจ ลูกเสือจะรู้สึกว่า การที่ได้มาอยู่ร่วมกันเพียงชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ อาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตอนาคตได้มากมาย
    ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ณ บัดนี้ ขออวยพรให้งานดำเนินลุล่วงไปด้วยดี สำเร็จประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ลูกเสือทุกคน พร้อมทั้งผู้มีส่วนร่วมในงาน มีความสุขความสวัสดีโดยทั่วกัน



10 พฤษภาคม 2557

ทหารเหล่าต่างๆ


หน้าที่ของทหารเหล่าต่าง
กล่าวนำ
           ความจำเป็นที่ต้องมีทหารหลายเหล่าเพราะหน้าที่ต่าง ๆ ที่ทหารจะต้องปฏิบัติในเวลาปกติ และ เวลาสงครามมีมากมายหลายอย่าง ถ้าให้บุคคลเดียวทำหน้าที่หลายอย่าง ย่อมจะเสียเวลาในการฝึกสอนอบรม ใช้เวลานานไม่ทันต่อเหตุการณ์ เพราะบุคคลย่อมมีขีดความสามารถในขีดจำกัดจะให้รู้ไปทุกอย่างย่อมไม่ได้  ในสมัยนี้ความเจริญก้าวหน้าในเรื่องอาวุธ ต้องให้มีแต่ละคนมีความรู้ความชำนาญจริง ๆ  จึงจะปฏิบัติงานได้ผลส่วนรวม สิ่งสุดท้ายคือชัยชนะ จึงแบ่งทหารออกเป็นเหล่าดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
หน้าที่ทหารเล่าต่าง ๆ ในกองทัพบก
           ๑.   หน้าที่ของทหารราบ มีหน้าที่เข้ายึดพื้นที่ซึ่งทหารเหล่าอื่น ๆ ไม่สามารถจะกระทำได้ กระทำโดยกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่หรือกระทำโดยร่วมกับหน่วยอื่น ๆ เช่น เหล่าทหารราบปืนใหญ่ ทหารม้ายานเกราะ
                 ๒.  เหล่าทหารม้า กองทัพบกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
                       ๑)   เหล่าทหารม้าขี่ม้า มีหน้าที่ทำการรบเหมือนเหล่าทหารราบ  มีขีดความสามารถเท่าเทียมกับเหล่าทหารราบ ผิดกันแต่มีม้าเป็นพาหนะ จึงมีความคล่องแคล่วและมีความเร็วสูง และมีความสามารถในการรบในพื้นที่ที่เป็นภูเขา
                       ๒)  เหล่าทหารม้ายานเกราะ หมายถึงหน่วยที่ใช้รถถังหรือยานยนต์ที่ใช้สายพานหรือรถหุ้มเกราะอื่น ๆ มีหน้าที่ในการสนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติการรบของทหารราบ
                 ๓.  เหล่าทหารปืนใหญ่ กองทัพบกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
                       ๑)   เหล่าทหารปืนใหญ่ มีหน้าที่สนับสนุนการรบของทหารราบโดยการยิงทำลายเป้าหมายที่สำคัญๆ ซึ่งอาวุธทหารราบไม่สามารถทำลายได้ จะยิงตามการขอร้องโดยผ่านทางผู้ตรวจการณ์หน้าของปืนใหญ่
                       ๒)  เหล่าทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน มีหน้าที่หลักคือทำลายอากาศยานของข้าศึกทั้งใน และนอกยุทธบริเวณ และทำการยิงสนับสนุนทหารราบทางพื้นดินหรือคุ้มครองความปลอดภัยทางอากาศ
           ๔.  เหล่าทหารช่างมีหน้าที่ปฏิบัติงานทางการช่างต่าง ๆ เช่น ก่อสร้าง ซ่อมระเบิด การทำลายวัตถุระเบิด ตลอดจนมีหน้าที่ส่งกำลังบำรุงการช่างให้กับกองทัพบก เช่น เครื่องทำไฟ  เครื่องสูบลม  เครื่องมือโยธาสนาม
           ๕.  เหล่าทหารสื่อสาร มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทั้งปวง ให้กับหน่วยทหารเหล่าต่าง ๆ ของทองทัพบก มีหน้าที่ในการส่งกำลังบำรุง และซ่อมบำรุงอุปกรณ์สายสื่อสารให้กับหน่วยทหารต่าง ๆ ของกองทัพบก
           ๖.   เหล่าทหารขนส่ง มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในเรื่องการลำเลียงขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศให้กับหน่วยทหารเหล่าต่าง ๆ ของกองทัพบกทั้งยามปกติและยามสงคราม
           ๗.  เหล่าทหารสรรพาวุธ มีหน้าที่ทางเทคนิคเกี่ยวกับอาวุธ กระสุน และ วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะที่ใช้รบทั้งยานล้อและสายพาน มีหน้าที่สนับสนุนอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยรบ ให้มีอาวุธ
ยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธทั้งในยามปกติและยามสงคราม
           ๘.  เหล่าทหารพลาธิการ มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับทหารเหล่าอื่น ๆ ของกองทัพบก ทั้งที่เป็นหน่วยรบ และ ไม่ใช่หน่วยรบ ในเรื่องอาหาร เครื่องแต่งกาย น้ำมันเขื้อเพลิง เครื่องสุขภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้นทั้งในยามปกติและยามสงคราม
           ๙.   เหล่าทหารสารวัตร มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ระเบียบวินัยของทหาร มีหน้าที่จับกุมสืบสวน สอบสวน เกี่ยวกับคดีของทหารต่าง ๆ ในเรื่องการควบคุมการจราจร การอพยพของผู้หลบภัย การส่งทหารคืนต้นสังกัด การจับกุมทหารที่หนีทัพ การขาดหนีราชการ
           ๑๐. เหล่าทหารสารบรรณ มีหน้าที่ดำเนินงานด้านธุรการ การรับ - ส่งหนังสือราชการการเก็บรักษาและแจกจ่ายระเบียบ คำสั่ง แบบธรรมเนียมต่าง ๆ รักษาประวัติบุคคล การสัสดี การอนุศาสนาจารย์  รวบรวมความต้องการของหน่วยต่าง ๆ ที่ร้องขอ เช่น แบบพิมพ์ของทางราชการในกองทัพบก
           ๑๑. เหล่าทหารการเงิน มีหน้าที่ปฏิบัติในด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณให้กับหน่วยต่าง ๆ มีหน้าที่ในการเบิก - จ่าย เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และมีหน้าที่เบิกจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ของกองทัพบก
           ๑๒. เหล่าทหารพระธรรมนูญ มีหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายทหาร ควบคุมการปฏิบัติของทหารให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมและข้อบังคับทหาร พระราชบัญญัติทหาร วินัยทหาร กฎหมายของบ้านเมือง ทั้งมีหน้าที่ป้องกันการละเมิดบทบัญญัติและธรรมเนียมต่าง ๆ ของทหารอีกด้วย
           ๑๓. เหล่าทหารแผนที่ มีหน้าที่ในการสำรวจและทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศตำบลต่างๆ เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยทหารใช้ในการวางแผนทำการรบ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รับผิดชอบสำรวจ และทำแผนที่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
           ๑๔. เหล่าทหารการสัตว์ มีหน้าที่รักษาพยาบาลให้แก่สัตว์ทุกชนิดที่มีใช้อยู่ในกองทัพบก เช่นโค ม้า ลา ฬ่อ ตลอดจนมีหน้าที่รักษาพันธ์สัตว์และผลิตสัตว์ให้แก่กองทัพบก
           ๑๕. เหล่าทหารดุริยางค์ มีหน้าที่ให้ความบันเทิงแก่หน่วยทหารทั่วไปทั้งในยามปกติและยามสงคราม

หน้าที่ของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพเรือ แบ่งออกเป็น ๔ พรรค คือ
           ๑.   พรรคนาวิน มี ๖ เหล่า คือ
                 ๑)  เหล่าปืนใหญ่ มีหน้าที่ในการใช้ปืนใหญ่ ปืนกล ปืนเล็ก รวมทั้งอาวุธที่ใช้เช่นเดียวกับปืน
                 ๒)  เหล่าตอร์ปิโด มีหน้าที่ในการใช้ตอร์ปิโดและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตอร์ปิโด
                 ๓)  เหล่าทุ่นระเบิด  มีหน้าที่ในการใช้ทุ่นระเบิด  ลูกระเบิดน้ำลึก เครื่องกวาดทุ่นระเบิด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับทุ่นระเบิด
                 ๔)  เหล่าสามัญ  มีหน้าที่ในทางเดินเรือ การเดินเรือ เจ้าหน้าที่เสมียน กระชับปากเรือ  หรือสูทกรรมและสหโภชน์
                 ๕)  เหล่าสัญญาณ มีหน้าที่ในการสัญญาณ การสื่อสารและโซนาร์
                 ๖)  เหล่าอุทกศาสตร์ มีหน้าที่เกี่ยวกับสำรวจ ตรวจสอบวินัย ผลิตจัดหา แจกจ่ายแผนที่ (เดิน
เรือ) บรรณาสาร อุปกรณ์เกี่ยวกับอุทกศาสตร์ การเดินเรือทะเลตลอดจนการวางเครื่องหมายทางเรือเพื่อสะดวกปลอดภัยในการเดินเรือ
           ๒.  พรรคกลิน มี ๓ เหล่า คือ
                 ๑)  เหล่าเครื่องจักรไอน้ำ มีหน้าที่เป็นช่างประจำหม้อน้ำและช่างน้ำมันประจำเครื่องไอน้ำ
                 ๒)  เหล่าเครื่องไฟฟ้า มีหน้าที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
                 ๓)  เหล่าทหารขนส่ง มีหน้าที่ในทางพาหนะ ทั้งทางน้ำและทางบก
                 ๔)  เหล่าเครื่องยนต์ มีหน้าทีเป็นช่างเครื่องยนต์ เครื่องจักรใหญ่ของเรือและเครื่องยนต์
           ๓.  พรรคนาวิกโยธิน แบ่งออกเป็น ๕ เหล่า คือ
                 ๑)  เหล่าทหารราบ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรบแบบทหารราบ(ทบ.)
                 ๒)  เหล่าทหารปืนใหญ่ มีหน้าที่ทำการรบอย่างทหารปืนใหญ่และทหารประจำหน่วยต่อสู้อากาศยาน ป้อมปืนรักษาฝั่ง
                 ๓)  เหล่าทหารขนส่ง มีหน้าที่ในทางพาหนะ ทั้งทางน้ำและทางบก
                 ๔)  เหล่าทหารช่าง มีหน้าที่ทางช่างทหาร
                 ๕)  เหล่าทหารสื่อสาร มีหน้าที่ในการสัญญาณและการสื่อสารติดต่อระหว่างหน่วยกับหน่วย
ข้างเคียง
           ๔.  พรรคพิเศษ มีหน้าที่ช่วยเหลือในกิจการพิเศษ ๑๐ เหล่า คือ
                 ๑)  เหล่าทหารพลาธิการ มีหน้าที่อยู่แนวหลังหน่วยรบ
                 ๒)  เหล่าทหารสรรพาวุธ มีหน้าที่ในการแสงสรรพาวุธ
                 ๓)  เหล่าทหารสารบรรณ มีหน้าที่ในการธุรการ เลขานุการและการสัสดี
                 ๔)  เหล่าทหารการเงิน มีหน้าที่ในทางการเงิน
                 ๕)  เหล่าทหารพระธรรมนูญ มีหน้าที่ในทางกฎหมายและศาลทหาร
                 ๖)  เหล่าทหารดุริยางค์ มีหน้าที่ในการบรรเลงดนตรี
                 ๗)  เหล่าทหารช่างยุทธโยธา มีหน้าที่ทางวิศวกรรม ช่างอิเล็กทรอนิคส์ ช่างไฟฟ้าสื่อสาร  ช่างฝีมือต่าง ๆ ที่ประจำโรงงาน และที่ใช้งานโยธา
                 ๘)  เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ
                 ๙)  เหล่าทหารแพทย์ มีหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้เจ็บป่วย ดูแลสุขภาพอนามัยของทหาร การสุขาภิบาลของหน่วย มี ๒ จำพวก
                       -  จำพวกประกาศนียบัตรหรือแพทย์ปริญญา (นายแพทย์)
                       -  จำพวกพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่ในการพยาบาล
                 ๑๐) หล่าทหารอุตุนิยมวิทยา มีหน้าที่บริการข่าวอากาศให้แก่ส่วนราชการใน  ทร. และ  นกข.ตลอดจนบริษัทการบินและเรือต่าง ๆ ที่ขอรับการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือในการเดินเรือ และ การเดินอากาศควบคุมตรวจตรากิจการในสายวิทยาการอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยา

หน้าที่ของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพอากาศ มี ๒๓ เหล่า คือ
           ๑.   เหล่าทหารนักบิน มีหน้าที่เป็นนักบินประเภทต่างๆ เช่นนักบินขับไล่ นักบินโจมตี นักบินตรวจการณ์และนักบินทิ้งระเบิด การขนส่งทางอากาศ การลาดตะเวนทางอากาศ หรือ ภาระกิจทางอากาศอื่นๆ  เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนหน่วยทหารพื้นดิน
           ๒.  เหล่าทหารต้นหน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศ แนะนำนักบินในเรื่องทิศทางการบิน  ประสานกับหอบังคับการบินในขณะที่บินอยู่ในอากาศ
           ๓.  เหล่าทหารตรวจการณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจการณ์ทั้งทางอากาศ และ ทางพื้นดิน การลาดตะเวนทางอากาศเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงสถานการณ์
           ๔.  เหล่าทิ้งระเบิด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทิ้งระเบิด  เพื่อทำลายเป้าหมายทางพื้นดิน  ตามภารกิจที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
           ๕.  เหล่าทหารสื่อสาร ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา  เก็บรักษา  เบิกจ่าย  ค้นคว้า  สร้างซ่อมตรวจ และ ทดลองให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร เครื่องมือเครื่องใช้ในการสื่อสาร  ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในการสื่อสาร
           ๖.   เหล่าทหารสรรพาวุธ  ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย ค้นคว้า สร้าง ซ่อมตรวจ และ ทดลอง กับให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรรพาวุธ  เครื่องมือเครื่องใช้การสรรพาวุธ  ตลอดจนถึงสงครามเคมี ชีวะ เชื้อโรคและปรมาณู
           ๗.  เหล่าทหารอากาศโยธิน ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันสนามบิน สถานที่สำคัญของกองทัพอากาศจากการรุกรานทางพื้นดิน ทางอากาศโดยร่วมกำลังทางอากาศและทางอื่น ๆ
           ๘.  เหล่าทหารขนส่ง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษาเบิกจ่าย เครื่องอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่งให้แก่หน่วยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศอยู่เสมอ
           ๙.   เหล่าทหารสารวัตร ทำหน้าที่ตรวจตรา ควบคุม ข้าราชการกองทัพอากาศ ให้อยู่ในระเบียบวินัยของทหารกับมีหน้าที่รักษาความสงบ รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลและสถานที่ราชการกองทัพอากาศ
           ๑๐. เหล่าทหารช่างอากาศ ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายและซ่อมเครื่องมือ เครื่องยนต์อุปกรณ์การบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ
           ๑๑. เหล่าทหารพลาธิการ  ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องอุปโภคบริโภค กับการสัมภาระทั้งปวง ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ ตามนโยบายกองทัพอากาศ
           ๑๒. เหล่าทหารช่างโยธา ทำหน้าที่ในการซ่อมสร้างสนามบิน ถนน อาคาร การไฟฟ้า ประปา ให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องมือเครื่องใช้ในการนี้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ และให้เป็นไปตามนโยบายกองทัพอากาศ
           ๑๓. เหล่าทหารแผนที่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำแผนที่ การสำรวจเส้นทาง  การแก้ไข  เพิ่มเติมรายละเอียดของตำบลต่าง ๆ ในแผนที่ให้ถูกต้องตามกาลสมัยอยู่เสมอ
           ๑๔. เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับการบิน
           ๑๕.  เหล่าถ่ายรูป ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายรูปทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ
           ๑๖.   เหล่าทหารการเงิน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การตรวจเงิน  ตลอดจนการตรวจสอบ ควบคุมการจ่ายเงินให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ
           ๑๗.   เหล่าพระธรรมนูญ ทำหน้าที่ทางกฎหมายและศาลทหาร
           ๑๘.   เหล่าทหารดุริยางค์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดุริยางค์ การบรรเลงเพื่อกล่อมขวัญทหารของ กองทัพอากาศ
           ๑๙.   เหล่าทหารสารบรรณ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไปในกองทัพอากาศ
           ๒๐.   เหล่าทหารแพทย์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค้นคว้าในด้านการแพทย์ วางนโยบายการสุขาภิบาล รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ
           ๒๑.  เหล่าทหารพลร่ม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรบพิเศษ  การรบแบบกองโจร  การช่วยเหลือค้นหาเมื่อมี บ. อุบัติเหตุ
           ๒๒.  เหล่าทหารพัสดุ ทำหน้าที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดหา เก็บรักษา แจกจ่ายพัสดุต่าง ๆ ให้กับหน่วยในกองทัพอากาศ เช่น อะไหล่ บ.
           ๒๓.  เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่วางแผนอำนวยการ ประสานงาน ให้การศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ที่สำคัญ ซึ่งต้องใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่สูงดำเนินการเกี่ยวกับ เคมี ชีวะ รังสี และกิจการวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องจักรคำนวณสนับสนุนในการวิจัยระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ การส่งกำลังบำรุงและการบริหารงานของกองทัพอากาศให้การสนับสนุนแก่สถานวิจัยของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อนำผลมาใช้ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ ประสานงานกับโรงงานอุตสาหกรรมของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ กับมีหน้าที่ในการศึกษาและควบคุมตรวจตรากิจการในสายวิทยาการเหล่าทหารวิทยาศาสตร์

09 พฤษภาคม 2557

กฎหมายว่าด้วย ยศของทหาร

:: พ.ร.บ. ยศทหาร พ.ศ. 2479 มาตราที่ 1-14 
 
:: พระราชบัญญัติ ยศทหาร พุทธศักราช 2479 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2478) 
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479" 
 มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2479//531/8 พฤศจิกายน 2479] 
 มาตรา 3 ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มี บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ 
 มาตรา 4 ยศทหารมีตามลำดับดังนี้ 
 1. สัญญาบัตร
 ลำดับยศและเทียบยศ ลำดับยศทหารและเทียบยศ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี 
 2. ประทวน
 ลำดับยศและเทียบยศ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ นายดาบ จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี 
มาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2494] 
 มาตรา 5 ผู้ใดจะเป็นนายทหารสัญญาบัตรยศชั้นใดได้นั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้น เว้นแต่ผู้ที่มียศเป็นทหารสัญญาบัตรอยู่แล้วรับราชการประจำในสังกัดใหม่กองทัพใด หากยศไม่ตรงกับสังกัดกอง ทัพนั้นก็ให้มียศตามกองทัพที่สังกัดใหม่ในชั้นเดียวกับยศเดิมได้ ตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้รับราชการประจำในสังกัด ใหม่
มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พุทธศักราช 2484] 
 มาตรา 6 ผู้ที่จะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรนั้นต้องเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เว้นแต่ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นพิเศษ 
 มาตรา 7 การแต่งตั้งผู้ใดให้ว่าที่ยศนายทหารสัญญาบัตรชั้นใดชั่วคราว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมมีอำนาจแต่งตั้งผู้นั้นให้ว่าที่ยศสัญญาบัตรชั้นนั้นชั่วคราวได้
 มาตรา 8 ผู้ใดจะเป็นนายทหารประทวนชั้นใดได้นั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บังคับบัญชา ชั้นแม่ทัพซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศออกประทวนแต่งตั้งผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้
มาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2505] 
 มาตรา 9 ผู้ที่จะเป็นนายทหารประทวนนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เว้น แต่ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งเป็นพิเศษ 
 มาตรา 10 ผู้ที่ได้รับยศทหารอยู่แล้วก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ให้คงมียศต่อไปตามเดิม 
 มาตรา 11 ทหารผู้ใดที่มิได้มียศตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจออก กฎกระทรวงเทียบฐานะกับยศทหารได้ 
 มาตรา 12 การถอดหรือการออกจากยศสัญญาบัตรจะกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
มาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2501] 
 มาตรา 13 การให้ออกจากว่าที่ยศสัญญาบัตร หรือการถอด หรือการออกจากยศประทวน ให้ผู้มีอำนาจแต่ง ตั้งสั่งได้ 
 มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ 
 
:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.อ. พหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี 
 
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479พุทธศักราช 2484 
 พระราชกำหนดนี้ได้ยกเลิก มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติยศทหารพ.ศ. 2479 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 ตอนที่ 43 หน้า 531)แก้ไขใหม่เป็นความว่า สำหรับผู้ได้รับพระราชทานยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรอยู่แล้วไปรับ ราชการในสังกัดใหม่กองทัพใด ก็ให้มียศในสังกัดใหม่ในชั้นเดียวกับยศเดิมนับแต่วันที่มีคำสั่ง โดยไม่ต้องโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งอีก
[รก.2484//898/8 กรกฎาคม 2484] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485 
 มาตรา 3 ในกฎหมายว่าด้วยยศทหารและบรรดากฎหมายอื่นใดซึ่งมีคำว่า "นาย" ประกอบยศทหารอยู่ด้วย นั้น ให้ตัดคำว่า "นาย" ออกทั้งสิ้น ถ้าผู้ที่ได้รับยศทหารเป็นหญิง ให้เติมคำว่า "หญิง" ท้ายยศนั้น ๆ ด้วย
[รก.2485/76/2359/8 ธันวาคม 2485] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2497 
[รก.2494/80/18พ/31 ธันวาคม 2494] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2497 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ เป็นยศสูงสุดของทหาร นายทหารที่มียศนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้กระทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติหรือได้ ประกอบคุณงามความดีในเมื่อมีการรบหรือการสงคราม ทั้งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงอยู่ในขั้นที่จะรับใช้ ประเทศชาติทุกขณะ จึงเป็นการสมควรที่จะให้ได้รับราชการอยู่จนตลอดชีวิต
[รก.2497/16/441/9 มีนาคม 2497] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ตามที่ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธ ศักราช 2479 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2497 บัญญัติให้นายทหารที่มียศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ รับราชการอยู่จนตลอดชีวิตนั้นไม่เหมาะสมสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายใน เรื่องนี้เพื่อให้นายทหารดังกล่าวรับราชการเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป
[รก.2501/50/289/1 กรกฎาคม 2501] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2505 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ได้บัญญัติให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงเป็นเหตุให้ผู้บัญชาการทั้งสามกองทัพ แต่งตั้งยศนายทหารประทวนไม่ได้ สมควรแก้ ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แต่งตั้ง ยศนายทหารประทวนได้ดังเดิม กับสมควรให้ผู้บังคับบัญชาชั้นแม่ทัพซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กระทรวงกลาโหม แต่งตั้งยศนายทหารประทวนได้ด้วย

07 พฤษภาคม 2557

แพรแถบ ประดับอย่างไร



    ถ้ายังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เเพรเเถบย่อก็จะเป็นเเพรเเถบย่อของเหรียญที่ระลึก
    อย่างอันนี้เป็นเป็นเเพรเเถบเหรียญที่ระลึก ที่ไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การนับเวลาในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

1.การนับเวลาสำหรับขอพระราชทานครั้งแรก 
1.1 ผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ให้นับเวลาตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนกองประจำการจนถึงปีที่ขอพระราชทาน (นับรวมเวลาที่อยู่ในระหว่างศึกษาและจบออกมารับราชการโดยต่อเนื่อง) ไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน 60 วัน 
1.2 ผู้ที่บรรจุจากพลเรือน ให้นับตั้งแต่วันที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหมและได้รับเงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนและให้ถือตามระดับชั้นเงินเดือนเทียบกับยศทหารตามอัตราตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งจะต้องรับราชการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน 60 วัน เช่นเดียวกัน (กรณีนี้หมายถึง นับวันชนวัน) 

2. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่ำกว่าชั้นสายสะพาย 
ให้ขอพระราชทานได้ปีเว้นปี (ห้ามขอปีติดกัน) และต้องตรงตามชั้นยศด้วย เช่น ผู้ที่ดำรงยศ พ.ท. ขอพระราชทาน ต.ช. เมื่อปี 2529 ต่อมาในปี 2530 ได้เลื่อนยศเป็น พ.อ. จะขอพระราชทาน ท.ม. ยังไม่ได้เนื่องจากขอปีติดกัน จะขอพระราชทานได้ในปี 2531 เป็นต้น 

3. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย 
ให้ขอพระราชทานได้เมื่อได้รับ ท.ช. เป็นชั้นตราสุดท้าย ครบ 3 ปีบริบูรณ์แล้ว การนับเวลา "3 ปีบริบูรณ์" ในทางปฏิบัติ คือ ให้นับตั้งแต่ปีถัดไปจากปีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง เช่น ได้รับ ท.ช. เมื่อ 5 ธ.ค. 2526 
-ให้นับปีที่ 1 เมื่อ 5 ธ.ค. 2527
-ให้นับปีที่ 2 เมื่อ 5 ธ.ค. 2528
-ให้นับปีที่ 3 เมื่อ 5 ธ.ค. 2529
 
จึงขอพระราชทาน ป.ม. ได้ ในปี 2529 เป็นต้น 

4. สำหรับผู้ที่ได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ 
เช่น เป็นวุฒิสมาชิก หรือปฏิบัติราชการการเมือง หรือกรณีอื่น ๆ อาจจะขอพระราชทานได้ทุกปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อกำหนดข้างต้น

06 พฤษภาคม 2557

เครื่องราชฯ สำหรับข้าราชการพลเรือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (The Most Noble Order of the Crown of Thailand) และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้ประกอบคุณงามความดีแก่บ้านเมืองทั้งบุรุษและสตรีเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศ โดยผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะมีประกาศรายนามลงในราชกิจจานุเบกษา

การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลมงกุฎไทยและช้างเผือกให้แก่ข้าราชการจะพิจารณาจากตำแหน่ง ระดับ ชั้น ระยะเวลา และความดีความชอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 โดยให้เริ่มขอจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน ดังนี้
ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ชั้นสายสะพาย
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการพลเรือน มีแนวทางยึดตามระดับดังนี้
ระดับ 1-2 อายุราชการครบ 5 ปี ขอ บ.ม. (เริ่มขอ)
ระดับ 2 ได้ บ.ม. 5 ปี ขอ บ.ช.
—————————————————
ระดับ 3-4 ขอ จ.ม. (กรณีได้เลื่อนระดับจากชั้นตรีเป็นชั้นโท) หากเริ่มบรรจุราชการที่ชั้นโทต้องมีอายุราชการครบ 5 ปีเสียก่อน
ระดับ 3-4 ได้ จ.ม. 5 ปี ขอ จ.ช.
—————————————————
ระดับ 5-6 ขอ ต.ม. (กรณีได้เลื่อนระดับจากชั้นโทเป็นชั้นเอก) หากเริ่มบรรจุราชการที่ชั้นเอกต้องมีอายุราชการครบ 5 ปีเสียก่อน
ระดับ 5-6 ได้ ต.ม. 5 ปี ขอ ต.ช.
—————————————————
ระดับ 7-8 ขอ ท.ม. (กรณีได้เลื่อนระดับจากชั้นเอกเป็นชั้นพิเศษ)
ระดับ 7-8 ได้ ท.ม. 5 ปี ขอ ท.ช.
ระดับ 8 – ได้ ท.ช. 5 ปี ขอ ป.ม.
ระดับ 9 – ได้ ท.ช. 3 ปี ขอ ป.ม., ได้ ป.ม. 3 ปี ขอ ป.ช., ได้ ป.ช. 5 ปี ขอ ม.ว.ม., ปีที่เกษียณขอเพิ่มอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช.
ระดับ 10 – ได้ ป.ม. 3 ปี ขอ ป.ช., ได้ ป.ช. 3 ปี ขอ ม.ว.ม., ได้ ม.ว.ม. 5 ปี ขอ ม.ป.ช., ปีที่เกษียณขอเพิ่มอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม.
ระดับ 11 – ได้ ป.ม. 3 ปี ขอ ป.ช., ได้ ป.ช. 3 ปี ขอ ม.ว.ม., ได้ ม.ว.ม. 3 ปี ขอ ม.ป.ช., ปีที่เกษียณขอเพิ่มอีก 1 ชั้นตรา
สำหรับลำดับแพรแถบนั้นให้ดูจากลำดับชั้นตราก่อน เช่น ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) มีศักดิ์สูงกว่า ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) หากอยู่ในชั้นเดียวกัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก มีศักดิ์สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย
บุคคลหนึ่งสามารถเก็บเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เพียง 2 ชั้นตราเท่านั้น หากได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชั้นตราสูงขึ้นจะต้องคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชั้นตรารองให้แก่หลวง ตัวอย่างเช่น หากเรามีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม. และ จ.ช. เมื่อเราได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช. จะต้องคืน จ.ช. (เราจะมีช้างเผือกและมงกุฎไทยได้อย่างละ 1 ชั้น)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลมงกุฎไทยและช้างเผือก เป็นของพระราชทานให้เป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น ไม่มีการสืบต่อถึงทายาท หากบุคคลนั้นประพฤติตนทำให้เสื่อมเสียเกียรติแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หลวงมีสิทธิ์เรียกคืน หรือบุคคลนั้นเสียชีวิตลง ทายาทต้องนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ส่งคืนหลวง (แต่ไม่ได้ห้ามเรื่องทำของจำลองเป็นที่ระลึกแก่ตระกูล)






02 พฤษภาคม 2557

หมู่หรือจ่า

ทหารบกและตำรวจ 
สิบเอกคือ ผบ.หมู่ จึงเรียกว่าหมู่ 
ส่วน จ่าเป็นชื่อยศ ว่า จ่าสิบตรี จ่าสิบโท จ่าสิบเอก จึงเรียกว่า จ่า 
เรื่องหมายหมู่ทำด้วยผ้า จะเป็นขีดลูกศรใหญ่ๆชี้ลงติดไว้ที่แขนเสื้อ 1 ขีดคือ สิบตรี , 2 =สิบโท ,3 =สิบเอก 
ส่วนจ่าจะเป็นเครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นทำด้วยโลหะ ติดที่บ่า
 สิบเอกเรียกว่าหมู่ หมายถึงผู้บังคับหมู่ มีพลทหารเป็นลูกหมู่
 นายร้อยจะเป็น ผบ.ร้อย จ่าก็ทำหน้าที่ช่วยผบ.ร้อย

ตำรวจ จะมีสิบตรี สิบโท สิบเอก เช่นเดียวกับทหาร แต่ทหารมีจ่าสิบโท 1 ขีด จ่าสิบโท 2 ขีด จ่าสิบเอก 3 ขีด แต่ตำรวจมีอย่างเดียวคือ จสต.หมายถึง จ่าสิบตำรวจ มี 3 ขีด ไม่ใช่จ่าสิบเอก และขึ้นเป็น ดาบตำรวจ เครื่องหมายติดบนบ่ารูปดาบไขว้ ก่อนจะขึ้นเป็นนายร้อย

สิบตรี - สิบเอก นิยมเรียกว่า หมู่
จ่าสิบตรี - จ่าสิบเอก นิยมเรียกว่า จ่า
ร้อยตรี - ร้อยโท นิยมเรียกว่า หมวด
ร้อยเอก - พันตรี นิยมเรียกว่า ผู้กอง
มากว่านี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่รับผิดชอบ และคุณวุฒิ

ลำดับยศ ตำรวจ

สิบตำรวจตรี
สิบตำรวจโท
สิบตำรวจเอก
จ่าสิบตำรวจ
ดาบตำรวจ
ร้อยตำรวจตรี
ร้อยตำรวจโท
ร้อยตำรวจเอก
พันตำรวจตรี
พันตำรวจโท
พันตำรวจเอก
พลตำรวจตรี
พลตำรวจโท
พลตำรวจเอก

-----------------------------
ลำดับตำแหน่ง
ผู้บังคับหมู่
รองสารวัตร
สารวัตร
รองผู้กำกับการ
ผู้กำกับการ
รองผู้บังคับการ
ผู้บังคับการ
รองผู้บัญชาการ
ผู้บัญชาการ
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

-------------------------------

ผู้กองเป็นภาษาเรียกตำแหน่งรองสารวัตรครับ ยศ ร.ต.อ.

พลฯ = ปัจจุบันไม่มีแล้วครับ
ผู้บังคับหมู่ (หมู่) = ส.ต.ต. - ส.ต.อ.
ผู้บังคับหมู่ (จ่า) = จ.ส.ต.
ผู้บังคับหมู่ (ดาบ) = ด.ต.
รองสารวัตร (ผู้หมวด) = ร.ต.ต.(สบ.1) - ร.ต.ท.(สบ.1)
รองสารวัตร (ผู้กอง) = ร.ต.อ.(สบ.1)
สารวัตร = พ.ต.ต. (สบ.2) - พ.ต.ท.(สบ.2)
รองผู้กำกับ = พ.ต.ท.(สบ.3)
ผู้กำกับ = พ.ต.อ.(สบ.4)
รองผู้บังครับการ = พ.ต.อ.(สบ.5)
ผู้บังคับการ = พล.ต.ต.(สบ.6)
รองผู้บัญชาการ = พล.ต.ต.(สบ.7)
ผู้บัญชาการ = พล.ต.ท.(สบ.
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ = พล.ต.ท.(สบ.9)
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ = พล.ต.อ.(สบ.10)
ผู้บัญชาการตำรวจแหงชาติ = พล.ต.อ.(สบ.11)

ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงในบางตำแหน่งก็ได้ เพราะอาจมีการปรับโครงสร้าง(อีกแล้ว)สำนักงานตำรวจ

-----------------------------------------

ชั้นประทวน

สิบตำรวจตรี สตต
สิบตำรวจโท สตท
สิบตำรวจเอก สตอ
จ่าสิบตำรวจ จสต
ดาบตำรวจ ดต

ชั้นสัญญาบัตรคือ

ร้อยตำรวจตรี รตต
ร้อยตำรวจโท รตท
ร้อยตำรวจเอก รตอ
พันตำรวจตรี พตต
พันตำรวจโท พตท
พันตำรวจเอก พตอ
พลตำรวจตรี พลตต
พลตำรวจโท พลตท
พลตำรวจเอก พลตอ

สำหรับทหารเรือชั้นประทวน จะมีเครื่องหมายบ่งบอกถึงเหล่าที่ยศหรือบั้ง ส่วนทหารบก มีรูปเครื่องหมายเหล่า ประดับที่คอเสื้อ

เครื่องหมายชั้นยศของทหารและตำรวจ
นายทหารชั้นประทวน ระดับ นายสิบ จ่า และจ่าอากาศ

 นายทหารชั้นประทวน ระดับ จ่าสิบ พันจ่า และ พันจ่าอากาศ

ในระดับนายทหารสัญญาบัตรของทหารเรือจะมีสีที่อินทนูบนบ่าใต้ขีดล่างสุดเป็นสีๆ อันบ่งบอกถึงพรรคของตน ความหมายของพรรคมีดังนี้

สีดำ พรรคนาวิน
สีม่วง พรรคกลิน
สีเหลือง พรรคนาวิกโยธิน
สีขาว พรรคพิเศษ เหล่าทหารสารบรรณ,การเงิน,พลาธิการ
สีเขียว พรรคพิเศษ เหล่าทหารวิทยาศาสตร์
สีฟ้า พรรคพิเศษ เหล่าทหารพระธรรมนูญ
สีแดง พรรคพิเศษ เหล่าแพทย์
สีส้ม พรรคพิเศษ เหล่าทหารดุริยางค์
สีเลือดหมู พรรคพิเศษ เหล่าช่างยุทธโยธา

นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ เหล่าพลาธิการ จะบรรจุเป็นนายทหารพรรคนาวิน (บ่าดำ)ครับ ไม่ใช่บ่าขาว
โรงเรียนนายเรือจะผลิตนายทหารออกมาเพียง 3 พรรค เท่านั้น คือ นาวิน กลิน และนาวิกโยธิน

นายทหารสัญญาบัตร ระดับ ร้อย ร้อยตำรตำรวจ เรือ และ เรืออากาศ

นายทหารสัญญาบัตร ระดับ พัน พันตำรวจ นาวา และ นาวาอากาศ

นายทหารสัญญาบัตร ระดับ พล พลตำรวจ พลเรือ และ พลอากาศ