07 พฤศจิกายน 2558

โปรแกรมแปลงค่าธนบัตรเป็นจำนวนเงิน


โปรแกรมแปลงค่าธนบัตร เป็นจำนวนเงิน

ใส่ข้อมูลจำนวนธนบัตรตามค่า แล้วกดคำนวณ

ธนบัตร 1000 บาท =   ใบ
ธนบัตร 500 บาท =   ใบ
ธนบัตร 100 บาท =   ใบ
ธนบัตร 50 บาท =   ใบ
ธนบัตร 20 บาท =   ใบ
เหรียญ 10 บาท =   ใบ
เหรียญ 5 บาท =   ใบ
เหรียญ 2 บาท =   ใบ
เหรียญ 1 บาท =   ใบ
เหรียญ 50 สต. =   ใบ
เหรียญ 25 สต. =   ใบ



คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น : บาท

ธนบัตร 1000 บาท =   ใบ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

ธนบัตร 500 บาท =   ใบ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

ธนบัตร 100 บาท =   ใบ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

ธนบัตร 50 บาท =   ใบ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

ธนบัตร 20 บาท =   ใบ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 10 บาท =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 5 บาท =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 2 บาท =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 1 บาท =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 50 สต. =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท

เหรียญ 25 สต. =   เหรียญ
คิดเป็นจำนวนเงิน =   บาท


23 ตุลาคม 2558

concrete calculator


Slabs, Square Footings, or Walls

แผ่นพื้น, ตอม่อแบบเหลี่ยม​, หรือผนัง​

ยาว
กว้าง​
ลึก/สูง​
จำนวน
คิดอัตราส่วนคอนกรีต 1:2:4

&&&@&&&

Hole, Column, or Round Footings

เสาเข็มกลม, เสากลม,หรือ ตอม่อ​กลม

เส้นผ่าศูนย์กลาง​
ลึก/สูง
จำนวน
คิดอัตราส่วนคอนกรีต 1:2:4

&&&@&&&

Circular Slab or Tube

เข็มกลมกลวง หรือ ท่อ

เส้นผ่าศูนย์กลาง​วงนอก​
เส้น​ผ่า​ศูนย์กลาง​วงใน
ยาว/สูง
จำนวน​
คิดอัตราส่วนคอนกรีต 1:2:4

powered by calculator.net

21 ตุลาคม 2558

หลังคาทรงปั้นหยา


   หลังคาทรงปั้นหยา เป็นประเภทของหลังคาที่ทุกด้านลาดไหลลงสู่ผนัง โดยมักมีความชันไหลเอียงเท่ากัน หลังคาทรงปั้นหยาของบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะมีสามเหลี่ยม 2 ด้าน และมีสี่เหลี่ยมคางหมู 2 ด้าน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะต้องมีความลาดเอียงเดียวกัน เพื่อให้สมดุลกัน หลังคาทรงปั้นหยาสามารถมีรางใต้รอบทุกด้านได้ นอกจากนี้หลังคาทรงปั้นหยายังสามารถมีหน้าต่างยื่นออกมาจากหลังคาในด้านที่ลาดเอียงได้

สามเหลี่ยมมุม 45 องศา
  ในโปรแกรมการคำนวณหาปริมาณจำนวนหลังคาทรงปั้นหยานั้นยึดหลักการคำนวณจากสามเหลี่ยมมุมฉาก 45 องศา
  คือจะนำเอาระยะเสาด้านยาวมาแบ่งครึ่ง(หาร 2) และใช้เป็นตัวเลขหลักในการคำนวณ เช่นตามภาพตังอย่างเป็นสามเหลี่ยมที่เกิดตามทฤษฎีตรีโกณมิติ คือพื้นฐานจากวงกลม 1 หน่วย เมื่อแบ่งครึ่งระหว่างเสาได้ 1 หน่วย ก็ให้ทำการตั้งเสาขึ้นไป 1 หน่วย เราจะได้ด้านยาวเฉลียงขึ้นไป เท่ากับ \/2 (square root 2) = 1.414 นั่นคือความสูงของหลังคาในแนวเอียง 45 องศา เมื่อจะนำไปหาพื้นที่มุงหลังคา ก็ใช้สูตร 2 สูตรคือ
1) สูตร 3 เหลี่ยมด้านเท่า คือ ฐาน  × สูง
คือด้านหน้า ที่มีรูปเป็น สามเหลี่ยม
2) สูตร 4 เหลี่ยมคางหมู คือ 1/2 × ผลบวกของด้านคู่ขนาน × สูง
คือด้านทางยาวของตัวบ้าน หากพื้นที่อาคารมีเสาแบบ สี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมคางหมูก็จะไม่มี
  แต่ถ้าเราใช้ระยะแค่เสาถึงเสาเท่านั้น หลังคาก็จะได้ออกมาไม่เพียงพอต่อความเป็นจริง เพราะหลังคาจะต้องมีระยะยื่นชายคาคลุมเสาออกมา
  ฉะนั้นโปรแกรมนี้ ก็จะใช้ระยะยื่นของชายคาเป็นตัวกำหนด ตามสูตรตรีโกณฯ ให้ได้ความสูงของพื้นที่หลังคาที่แท้จริง แล้วจึงนำไปคำนวณความยาวด้านชายคาที่ติดเชิงชายก่อนจะมาคำนวณพื้นที่หลังคาครั้งสุดท้าย...
  และนำพื้นที่, ความยาวของ อกไก่, สันตะเฆ่, แป, จันทัน ออกมาเป็นตัวเลขตามที่ปรากฎ หากมีข้อบกพร่อง ไม่ตรงตามความจริง ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้
.. ขอให้ตรวจสอบ ระยะระหว่างเสาด้านกว้าง ที่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นด้านหน้า  และด้านยาว ที่ใช้เป็นข้างบ้าน เป็นระยะจากเสาถึงเสา มีหน่วยเป็นเมตร และระยะยื่นชายคา จากผนังถึงเชิงชาย มีหน่วยเป็น เซ็นติเมตร ใส่ให้ถูกต้องตามด้าน และหน่วย คำตอบออกมาก็จะใกล้เคียงความจริงที่สุดฯ

19 ตุลาคม 2558

เทคโนโลยีการสื่อสาร : ประวัติวิทยุกระจายเสียง

ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนสุดทิาย

ประวัติของวิทยุ

ความเป็นมาของวิทยุนั้นเริ่มตั้งแต่ Whetstone ได้คิดสัญญาณทางไกลโดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อ ค.ศ. 1836 ต่อมาเมื่อปีค.ศ. 1944 Samual Morse ได้คิดเครื่องส่งรหัสทางเครื่องส่งสัญญาณทางไกลแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือเรียกว่าโทรเลข) จากWashington และ Boltimore ได้สำเร็จความจริงแล้วนั้นการค้นคว้าของ Morseได้สำเร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1832 แต่เกิดอุปสรรคในการเผยแพร่และคุณภาพยังไม่ดีพอ
อย่างไรก็ตาม James Clerk Maxwell ชาวอังกฤษได้พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อ ค.ศ.1864 และต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจได้ค้นคว้าเพิ่มเติมและเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้งาน
ต่อมาชาวแฮมเบริก เยอรมันตะวันตกชื่อ Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร และประกาศให้ชาวโลกได้รับทราบเมื่อ ค.ศ. 1885 ผลงานของเขาได้รับการยกย่องเรียกเป็นคลื่นวิทยุ “เฮิร์ส “ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Guglielmo Marconi อายุ 21 ปี ได้ค้นคว้าสร้างวิทยุขึ้นสำเร็จ โดยเริ่มส่งคลื่นโดยไม่ต้องใช้สายและนำความคิดในการสร้างคลื่นวิทยุของ”เฮิร์ส”มาใช้ในการดำเนินงาน
ความสนใจจากการค้นคว้าของ Marconi ทำให้ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lord Kelvin ส่งวิทยุซึ่ง Marconi เป็นผู้คิดค้นจัดตั้งขึ้น ระหว่างเกาะ Wight และ Bornemouth เมื่อปี 1898 และต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้ใช้วิทยุสื่อสารจาก Kingstown แก่หนังสือพิมพ์ Daily Express ของกรุงดับลิน และต่อมาอีกไม่นาน Duoretet และ Roger ก็ได้ทดลองใช้ติดต่อระหว่างหอ Eiffel และ Panheon ที่กรุงปารีส

และในวันที่ 27 มีนาคม 1899 ได้เป็นวันที่จารึกในประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุเมื่อ Marconi ทำการส่งวิทยุข้างช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากการส่งวิทยุครั้งนี้ทำให้มีการตื่นเต้นกันทั่วอังกฤษและทำให้เขาจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทันที

ทางด้านเครื่องรับวิทยุในระยะแรกก่อนที่จะใช้ระบบทรานซิสเตอร์นั้นเป็นวิทยุแร่ ซึ่งคล้ายๆกับการใช้ถ่านไฟฉาย คือเมื่อแร่ยังมีกำลังก็สามารถฟังได้ชัดแต่เมื่อคุณภาพของแร่ใกล้หมดลงคุณภาพการรับก็ลดลง คุณภาพเสียงก็เบามาก เครื่องรับแต่ละเครื่องต้องมีเครื่องฟังเสียงครอบหูในระยะแรกแม้ไม่มีคลื่นส่งวิทยุหลายคลื่น แต่ผู้รับก็จำต้องหาคลื่นโดยต้องรับคลื่นตามกระแสลม ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านการรับฟัง

และในปี 1907 ชาวอเมริกันชื่อ ได้คิดสร้างหลอดวิทยุชนิดมีกำลังรับส่งดีขึ้น ทำให้คุณภาพของวิทยุได้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น

ในเมื่อเครื่องรับเครื่องส่งวิวัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ การเสนอข่าวและรายการต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นเช่นปี 192 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม สถานีวิทยุ Chelmsford ของอังกฤษได้ออกอากาศในรายการข่าวและดนตรีโดยใช้เวลาครั้งละไม่นาน ในเดือนมิถุนายนสถานีเดียวกันนี้ได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ Daily Mail ถ่ายทอดเพลงจากวงดนตรีดุริยางค์แห่งหนึ่ง และในวันที่ 2 กันยายนปีเดียวกัน วันที่ 7 พฤศจิกายน สถานี K.D.K.A.ของบริษัท Westinghouse ที่เมือง Pittsburgh สหรัฐอเมริกา ได้เปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงโดยเร่งกระจายข่าวเกี่ยวกับการเลือกประธานาธิบดี Harding และในปี ค.ศ. 1920 นี้เหมือนกัน รัสเซียก็ได้เริ่มมีสถานีวิทยุ ส่วนฝรั่งเศษนั้นในเดือนกันยายน 1921 ฝรั่งเศษได้ส่งกระจายเสียงทางวิทยุจากสถานีซึ่งตั้งที่หอ Eiffel ทั้งนี้โดยส่งเป็นข่าวสั้นๆ

ต่อมาในปี 1924 สถานวิทยุกระจายเสียงชื่อ Radiola แห่งกรุงปารีส ได้ส่งกระจายเสียงเป็นประจำทุกวัน และการส่งกระจายเสียงเหมือนเป้นการถ่ายทอดเสียงในนอกสถานที่ก็ได้ปรากฏขึ้นเป้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 1930 ได้มีการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดประชุมทหารเรือที่ลอนดอน โดยมีพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษเป็นผู้ประทานพระราชดำรัส โดยมีวิทยุกระจายเสียงถึง 242 สถานีเป็นผูถ่ายทอด จากจำนวนวิทยุกระจายเสียง 242 สถานีนั้น เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในยุโรป 125 สถานี

ส่วนสถานีวิทยุ BCC ( British Broadcast Corparation ) ได้เริ่มส่งกระจายเสียงเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1922 และได้เป็นแม่แรงสำคัญในการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดการประชุมทหารเรือที่ลอนดอน ในวันที่ 21 มกราคม 1930 ด้วย


ประวัติความเป็นมาของวิทยุแห่งประเทศไทย

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประชาชนต่างพากันตื่นเต้นและปีติยินดีเป็นที่สุด เมื่อได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตรงจากเครื่องรับวิทยุหรือเครื่องแร่ที่ใช้หูฟัง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะในยุคนั้นน้อยครั้งที่สามัญชนจะได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยตรง

พิธีเปิดวิทยุกระจายเสียง

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 เป็นวันที่ทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นครั้งบแรกในประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 พิธีเปิดสถานีวิทยุได้กระทำโดยอันเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากที่นัางอัมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง แล้วถ่ายทอดไปตามสายเข้าเครื่องวิทยุกระจายเสียงที่ตั้งอยู่ที่พญาไท ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมโดยตลอดของ พลเอก พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นายทหารช่างผู้นำวิชาวิทยุกระจายเสียงเข้ามาในประเทศไทย และได้ทรงริเริ่มงานนี้ด้วยพระองค์เองตั้งแต่งานด้านช่างวิทยุจนกระทั่งงานผู้ประกาศ

การออกอากาศเป็นทางการ

สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้ออกอากาศเป็นทางการครั้งแรกนี้ใช้ความยาวคลื่น 363 เมตร หรือความถี่ 826.41 กิโลเฮิตซ์ เครื่องส่งบริษัทฟิลลิปส์มีกำลังออกอากาศ 2.5 กิโลวัตต์ เสาอากาศสูง 40 เมตร ใช้สัญญาณเรียกขาน (CALL-SIGH)ว่า HSP1 อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่งกระจายเสียงเป็นประจำทุกคืนเว้นคืน

ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ได้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นลำดับมา ตั้งแต่ปี 2471 ซึ่งขณะนั้น พลเอก พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงคมนาคม ทรงฝักใฝ่พระหฤทัยงานด้านวิทยุ อันเป็นวิวัฒนาการใหม่ของโลกในยุคนั้นอย่างจริงจัง เทื่อพระองค์เสด็จกลับจากการศึกษาด้านคมนาคมในต่างประเทศแล้วทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น โดยส่งคลื่นสั้นขนาด 37 เมตร มีกำลังออกอากาศ 200 วัตต์ มาทำการทดลอง เริ่มทดลองที่ตึกไปรษณีย์วัดเสียบปากคลองโอ่งอ่าง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2471 ใช้ชื่อสถานีว่า “สถานี 4 พีเจ “

ต่อมาได้ย้ายไปดำเนินงานใหม่ที่ศาลาแดง และได้เปลี่ยนคลื่นเป็น 29.5 เมตร เพิ่มกำลังส่งเป็น 500 วัตต์ ใช้ชื่อใหม่ว่า “2 พี เจ “แต่การส่งคลื่นสั้นไม่เป็นผลดีต่อการรับฟังภายในประเทศเจ้าหน้าทีช่างวิทยุที่ศาลาแดงจึงเปลี่ยนไปใช้ขนาดกลางหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าคลื่นยาว ขนาด 320 เมตร หรือตรงกับความถี่ 937 กิโลเฮิตซ์ พร้อมทั้งเพิ่มกำลังส่งเป็น 1 กิโลวัตต์ ได้มีการทดลองเรื่อยมา ประชาชนก็นิยมสร้างเครื่องรับชนิดแร่ที่ใช้หูฟังมากขึ้นจนถึงกับมีการตั้งร้านค้า เครื่องรับวิทยุขึ้น ทางราชการเห็นประโยชน์และความสำคัญจึงได้มีการสั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงจากบริษัทฟิลลิปส์ประเทศฮอลันดา เข้ามาอีกเครื่องหนึ่ง


ส่งวิทยุคลื่นสั้นและเอฟ.เอ็ม.เป็นครั้งแรก

ปี 2495 ได้รับงบประมาณให้ซื้อเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นสำหรับใช้ในการกระจายเสียงภาคต่างประเทศ มีกำลังออกอากาศ 50 กิโลวัตต์ 1 เครื่อง ความถี่ 11910 กิโลเฮิตซ์ติดตั้งที่ซอยอารี ถนนพหลโยธิน และออกอากาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2496 นอกจากนั้น ยังได้สั่งซื้อเครื่องส่ง ระบบเอฟ.เอ็ม. อีก 2 เครื่อง แรกได้ใช้ถ่ายบทอดรายการแทนสายโทรศัพท์จากห้องส่งกระจายเสียงไปยังเครื่องส่งที่ซอยอารีในบางครั้งเมื่อสายเคเบิ้ลเสีย หรือมีการรบกวน จนกระทั่ง 2499 จึงได้มีระบบ เอฟ.เอ็ม. ออกอากาศจริงจัง ซึ่งเป็นการเริ่มส่งกระจายเสียงด้วยระบบ เอฟ.เอ็ม.เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ปี 2506 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับงบประมาณให้จัดซื้อเครื่องส่งกำลังสูง 100 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง เป็นเครื่องคลื่นขนาดกลางสำหรับกระจายเสียงภาคในประเทศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 1เครื่อง และเครื่องคลื่นสันสำหรับส่งกระจายเสียงในต่างประเทศอีก 1 เครื่อง เครื่องส่งคลชื่นขนาดกลางหรือคลื่นยาวตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา จ. นครปฐม ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2508 ด้วยความถี่ 830 กิโลเฮิตซ์ ซึ่งเป็นความถี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนเครื่องส่ง 100 กิโลวัตต์ คลื่นสั้นไปตั้งที่ตำบล คลองห้า จ.ปทุมธานี ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 ประมาณปี 2510 ด้วยเหตุผลจาการเสนอแนะทางด้านเทคนิค ได้มีการสับความถี่กันเพื่อผลทางด้านการฟังนอกประเทศ

นอกจากการปรับปรุงขยายงานด้านเครื่องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยซึ่งเป็ฯสถานีวิทยุกระจายเสียงในส่วนกลางแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ยังได้ขยายงานการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย ด้วยความมุ่งหมายให้ประชาชนทั่วทุกภ่คทุกท้องถิ่นสามารถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทั่งถึงกัน รวมทั้งด้วยเหตุผลทางด้านรายการที่สามารถดำเนินงานสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การอาชีพ และความต้องการของประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นด้วย และกรมประชาสัมพันธ์ก็ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคทุกภาคเป็นลำดับมา จนกระทั่งปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์มีสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักร

ภาคกลาง

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ความถี่ เอ.เอ็ม. 830 920 4830 6070 7115 กิโลเฮิตซ์

เอฟ.เอ็ม. 93.5 เมกกะเฮิตซ์

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ภาค เอฟ.เอ็ม. สเตอริโอมัลติเพล็กซ์ 92.5 เมกกะเฮิตซ์

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ภาคต่างประเทศ

ความถี่ เอ.เอ็ม.920 9655 11905 กิโลเฮิตซ์

เอฟ.เอ็ม 97.0 เมกกะเฮิตซ์

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคพิเศษ ถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


สถานีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 1000 กิโลวัตต์
ตามปกติสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคปกติที่กรุงเทพมหานคร ใช้เครื่องส่งกระจายเสียงที่มีกำลังออกอากาศ 100 กิโลวัตต์ โดยมีสถานีเครื่องส่งอยู่ที่ตำบล ศาลายา อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม ไม่สามารถกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีชุดนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดซื้อเครื่องส่งกระจายเสียงความถี่ขนาดกลาง กำลังออกอากาศ 500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ส่วนประกอบมาใช้แทนเครื่องส่งเดิม และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้มีการประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดซื้อจาก บริษัท NEC ตามที่คณะกรรมการประกวดราคาเสนอ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2522 การดำเนินงานก่อสร้างและติดตั้งเสร็จเรียบร้อยใช้ส่งออกอากาศได้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2524 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 126,172,580- บาท

สถานีเครื่องส่งตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ตำบล หนองโรง อำเภอ หนองแค จังหวัด สระบุรี ในที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 300 ไร่ ใช้งบประมาณในการถมที่เพื่อสร้างอาคาร ถนน เป็นเงิน 2,389,600- บาท

กรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบอาคารสถานีฯ เป้นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ 300 ตารางวา ชั้นล่าง เป็นที่ติดตั้งเครื่องส่ง 500 กิโลวัตต์ จำนวน 21 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ และยังใช้เป็นสำนักงานที่ทำการของสานีฯ ซึ่งประกอบด้วยห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องพักสำหรับผู้อยู่เวรประจำ ห้องเตรียมอาหาร ห้องเก็บพัสดุ ห้องประชุม ห้องควบคุม ห้องปฐมพยาบาล และห้องสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ส่วนชั้นที่ 2 เป็นที่ติดตั้งเครื่องระบายความร้อนของเครื่องส่ง

การจัดหากระแสไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้จัดกระแสไฟฟ้าแรงสูง 22000 โวลท์ เข้าไปยังสถานีฯ โดยมีสถานีลดลงเหลือ 6600 โวลท์ จ่ายให้กับเครื่องส่ง 500 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง

ด้านการส่งวิทยุกระจายเสียง 500 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบต่างๆ บริษัทนิปปอนอีเลคทริค ลิมิเต็ด (NEC) เป็นผู้ผลิตเครื่องส่งรวมทั้งอุปกรณ์รวมและการติดตั้งทดสอบ ทดลอง

ระบบของเครื่องส่ง เป็นเครื่องระบบ เอ.เอ็ม.ความถี่ในการส่งออกอากาศ 891 กิโลเฮิตซ์ หรือความยาวคลื่น 336.7 เมตร ประกอบด้วยเครื่องส่งขนาดกำลังส่ง 500 กิโลวัตต์ หรือแยกส่งเพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่งให้มีกำลังส่ง 500 กิโลวัตต์ โดยอีกเครื่องหนึ่งต่อตรงไปยังสายอากาศจำลองเพื่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาก็ได้ การควบคุมการทำงานของเครื่องส่งรวมทั้งการกำหนดกำลังในการส่งออก อากาศและวงจรป้องกันควบคุมไม่ได้เกิดการผิดพลาด ใช้วงจรคอมพิวเตอร์ 3 ชุด ควบคุม เครื่องส่งได้ออกแบบไว้ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ส่วนประกอบเกือบทั้งหมดจึงใช้วัตถุกึ่งตันนำ มีส่วนที่ใช้หลอดเพื่อการขยายในวงจรขยายกำลังเพียง 3 ภาคเท่านั้น

ระบบสายอากาศ ประกอบด้วยสายอากาศจำนวน 3 ต้น และวงจรควบคุม กำหนดทิศทางในการส่งคลื่นวิทยุให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ในรูปแบบต่างๆ 5 รูปแบบ คือ

ออกแบบให้ขอบเขตบริการสามารถครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากที่สุด
กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศใต้ สามารถครอบคลุมได้ถึงประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศกัมพูชา และเวียดนาม
กำลังส่งส่วนใหญ่จะพุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศลาว เวียดนาม ฮ่องกง และจีน
กำลังส่งสูงสุดจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึงประเทศพม่า จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของประเทศอินเดีย
สำหรับห้องส่งกระจายเสียง ซึ่งอยู่ในปัจจุบันใช้อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณให้ดำเนินงานจัดสร้างอาคารห้องส่งกระจายเสียงแห่งประเทศไทยขึ้นใหม่ โดยกรมโยธาธิการเป็นผู้ออกแบบให้ตามความต้องการของกรมประชาสัมพันธ์ อาคารนี้มีลักษณะเป็นศูนย์กระจายเสียงของสถานีกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยจัดสร้าง ณ ที่ดินข้างโรงเรียนเสนาธิการทหาร และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต มีห้องแสดงขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องผู้ประกาศ และห้องผู้บรรยาย สำหรับการออกอากาศได้พร้อมๆ กัน 4 รายการ ทั้งภาคในประเทศ และภาคต่างประเทศ กับมีศูนย์ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงอยู่ในอาคารศูนย์กระจายเสียงนี้ด้วย

รายการที่ใช้ในการส่งออกอากาศ เป็นรายการจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคปกติ จากกรุงเทพฯ การถ่ายทอดรายการผ่านระบบไมโครเวฟ จากกรมประชาสัมพันธ์ ไปยังสถานีทวนสัญญาณซึ่งติดตั้งไว้ที่สถานีรับของวิทยุเอเชียเสรี จังหวัดปทุมธานี แล้วถ่านทอดสัญญาณต่อไปยังสถานีเครื่องส่ง 100 กิโลวัตต์ ระหว่างห้องส่งที่กรมประชาสัมพันธ์และสถานีเครื่องส่ง 1000 กิโลวัตต์ จะมีวิทยุติดต่อ วีเอชเอฟ ใช้ติดต่อประสานงานได้ตลอดเวลา จึงไม่มีอุปสรรคในการปฏิบัติงานเแต่ประการใด


ความแตกต่างของระบบคลื่น F.M.กับ A.M.
ในการส่งของเครื่องส่งวิทยุ (Tranmitter) อันเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่คงตัว แล้วส่งผ่านอากาศและเดินไประยะไกลๆนั้น เมื่อเสียงที่เพิ่มจากกำลังแล้วมาจากห้องส่งไปยังเครื่องส่ง จะส่งมาในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทาง คือ สายอากาศของเครื่องรับวิทยุและในเครื่องรับวิทยุก็มีกลไกหนึ่งชื่อว่า Tuner คือสามารถทำเสียงให้เกิดขึ้นได้หลังจากที่คลื่นได้เดินทางมาพบกับเสาอากาศและมายังเครื่อง Tuner เมื่อถูกปรับให้ได้คลื่นเสียงที่มีความถี่เหมาะสม Tuner ก็จะรับคลื่นแม่เหล็กอันนั้นไว้ แล้วมาแยกคลื่นเสียงที่อาศัยมาส่งเข้าเครื่องขยายและลำโพงออกมาเป็นเสียงดังเดิมซึ่งก็มีสองวิธีด้วยกัน

1) Amplitude Modulation หรือระบบ A.M.อันเป็นการผสมคลื่นทางช่วงสูง

Frequency Modulation หรือระบบ F.M. อันเป็นการผสมความถี่ระบบ
A.M. (Amplitude Modulation) ใช้กับวิทยุทั่วๆไปนั้น คลื่นเสียงสามารถเดินทางเป็นระยะไกลๆได้ ถูกส่งไปด้วยกำลังที่แรงพอ แต่เสียงถูกตัดด้วยความถี่5,000 C.P.S. = (Cycle per Second) อันหมายถึงความสั่นต่อวินาที

F.M.(Frequency Modulation )ส่งกระจายเสียงด้วยระบบที่สูงกว่า เสียงจะไม่ถูกรบกวนและมีช่วงความถี่สูงถึง 15,000 c.p.s.= (Cycle per second) แต่ระยะการรับฟังได้อยู่ในขอบเขตของแนวสายตา (Line of Sight) เหมือนกับโทรทัศน์ในปัจจุบัน


เสาสายไฟของเครื่องส่งวิทยุ 100 กิโลวัตต์ ไม่เหมือนกับของธรรมดา
การบริหารงานสถานีวิทยุ

ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ซึ่งลงนามโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2518 มีดังนี้

โดยได้พิจารณาเห็นว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่เข้าไปถึงประชาชนได้โดยรวดเร็วและแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางทั้งยังมีผลบกระทบถึงการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ ตลอดจนการศึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

ฉะนั้น เพื่อให้สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ทุกแห่งอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน และดำเนินกิจการให้เป็นประโยชน์โดยแท้จริงแก่รัฐบาลและประชาชนมากที่สุดคณะรัฐมนตรีจึงมีระบียบกำหนดขึ้นไว้

“กบว” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

“สถานี” หมายความว่า สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น เพื่อส่งวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์และได้รับใบอนุญาตจาก กบว. ตามระเบียบนี้

“วิทยุกระจายเสียง” หมายความว่า การส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่คลื่นวิทยุ 535 ถึง 1605 กิโลเฮิตซ์ และย่านความถี่ 87 ถึง 108 เมกกะเฮิตซ์ อันมีความประสงค์เข้าถึงสื่อมวลชนโดยตรง

“รายการวิทยุกระจายเสียง” หมายความว่า ประเภท เนื้อหา และข้อความของรายการที่ส่งวิทยุกระจายเสียง และหมายความรวมตลอดถึงการจัดหาใดๆในเรื่องที่ส่งวิทยุกระจายเสียง

“เจ้าหน้าที่สถานี” หมายความว่า กรรมการอำนวยการ กรรมการดำเนินการ ผู้อำนวยการสถานี หัวหน้าสถานี นายสถานี เจ้าหน้าที่ผู้ประกาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายการ เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคฯลฯ

“กรรมการดำเนินการ” หมายความรวมถึงกรรมการอำนวยการด้วย

“ผู้อำนวยการสถานี” หมายความรวมถึงหัวหน้าสถานี หรือ นายสถานี

นอกจากนั้นยังมีคำสั่งในหนังสือ “กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์”2524

วัตถุประสงค์ของวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์

ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ส่งเสริมนโยบายและประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งในด้านการเมือง การเศรษฐกิจ และสังคม
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสำนึกและรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน
เชิญชวนให้ประชาชนตอบโต้และต่อต้านศัตรูตลอดจนลัทธิที่เป็นภัยต่อประเทศชาติและมีความร่วมมือกับมิตรประเทศ
เป็นสื่อมวลชนที่ดีสำหรับการสื่อข่าวทั่วไป และข่าวจากรัฐบาล ไปสู่ประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและถูกต้องโดยรวดเร็ว
สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เจ้าของสถานี หรือกิจการของราชการ
สนับสนุนกิจการเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ
ส่งเสริมให้ประชาชนช่วยกันรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาไทยให้ดำรงอยู่ด้วยดี
ให้ความรู้ ความบันเทิงแก่ประชาชนไทยโดยชอบด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศีลธรรมอันดีงาม
ร่วมมือกับนานาชาติที่เป็นมิตรของประเทศไทย โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรายการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน

ที่มา : http://satirat.blogspot.com/2010/02/blog-post.html?m=1

10 ตุลาคม 2558

หน่วยวัดระยะ และพื้นที่ ของไทย

1 วา

โปรแกรมแปลงหน่วยที่ดินไร่ เป็นตารางเมตร
ใส่ค่าจำนวนที่ดินเป็นจำนวนไร่
  ไร่
  งาน
  ตารางวา

หากต้องการแปลงจากหน่วยพื้นที่อื่นเป็นไร่
ให้ใส่ค่าที่ช่องนั้นแล้วกดคำนวณ

คิดเป็นพื้นที่ดินจำนวน :
 ตารางเมตร


 คิดเป็นพื้นที่ตารางกิโลเมตร =
  ตร.กม.


หรือคิดเป็นพื้นที่เอเคอร์ได้ =
  เอเคอร์ (Acre)


หรือคิดเป็นพื้นที่เฮกเตอร์ได้ =
  เฮกเตอร์ (Hectare)


=====

โปรแกรม​หาค่าระยะความยาวในหน่วยต่างๆ
ใส่ค่าระยะที่ต้องการทราบ =
 
เลือกหน่วยความยาว  


  m.
ค่าระยะที่ต้องการทราบ =
หน่วยไทย
  นิ้ว(ไทย)
  ฝ่ามือ = 4 นิ้ว(ไทย)
  คืบ = 3 ฝ่ามือ
  ศอก = 2 คืบ
  วา = 4 ศอก
  เส้น = 20 วา
  โยชน์​ = 400 เส้น
หน่วยอังกฤษ​
  นิ้วฟุต = 2.54 ซ.ม.
  ฟุต = 12 นิ้วฟุต
  หลา​ = 3 ฟุต
  ไมค์ = 1760 หลา​
หน่วยเมตริก
  มิลเมตร(ม.ม.)
  เซนติเมตร​(ซ.ม.) = 10 ม.ม.
  เดซิเมตร(เด.ม.) = 10 ซ.ม.
  เมตร(ม.) = 10 เด.ม.
  เดคาเมตร(ด.ม.) = 10 ม.
  เฮกโตเมตร(ฮ.ม.) = 10 ด.ม.
  กิโลเมตร(ก.ม.) = 10 ฮ.ม.

ปัจจุบัน.. การใช้หน่วยการวัดค่าต่างๆถูกเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม คือเราใช้การอิงระบบสากลเป็นหลัก เช่น หน่วยระยะ คิดเป็นเมตร แทน ศอก วา
คนไทยสมัยก่อน ใช้ร่างกาย ในการบอกระยะ เช่น คืบ ก็กางมือดังภาพ มันจะเทียบพอดีกับ ศอก คือ 2 คืบ
ดังนั้น คนรุ่นเก่าจึงมีมาตราวัดระยะดังนี้
 12  นิ้ว   เป็น   1 คืบ
   2  คืบ   เป็น   1 ศอก
   4  ศอก เป็น   1 วา
20   วา    เป็น   1 เส้น
400 เส้น  เป็น   1 โยชน์
.. เมื่อสังเกตุให้ดี ก็จะเห็นว่า
เอาข้อนิ้วเรียงติดกัน 12 ข้อ จะเท่ากับการกางนิ้ว(ตามภาพ) จากหัวแม่มือ ถึงนิ้วกลาง พอดี 1 คืบ
.. กางคืบไป 2 คืบ จะพอดี 1 ศอก
..เอาแขน 2 ข้าง กางออก แล้ววัดจากปลายนิ้วกลางมือขวา ถึง ปลายนิ้วกลางมือซ้าย จะเป็น 1 วา เท่ากับความยาวของศอกต่อกันได้ 4 ศอก
..กางแขนไป 20 ช่วง จะกำหนดให้เป็น 1 เส้น การกำหนดเช่นนี้จะพอดีลงตัวกับการวัดพื้นที่ อันจะกล่าวถึงอีกต่อไปข้างหน้า
..เอาเส้นเชือกที่วัดไว้ 20 วา ไปกำหนดระยะทางเดิน 400 เส้น เป็น 1 โยชน์
...ดังที่กล่าวแล้วว่า การใช้หน่วยนับในปัจจุบันอิงหลักสากล จึงต้องนำมาเปรียบเทียบให้ได้ค่ามาตรฐาน เพราะ ตลับเมตรที่เราหาซื้อตามท้องตลาด ไม่มีแบบหน่วยเป็น คืบ เป็น ศอก ใช้กัน การตกลงนี้จึงกำหนดให้
1  วา   เท่ากับ  2  เมตร
เมื่อเอาความยาวศอก มาหาร จะได้
1 ศอก  เท่ากับ  50 เซ็นติเมตร
1 คืบ    เท่ากับ  25 เซ็นติเมตร
1 นิ้ว     เท่ากับ  2.083 เซ็นติเมตร
1 เส้น   เท่ากับ  40 เมตร
1 โยชน์ เท่ากับ  16 กิโลเมตร
....
ส่วนของพื้นที่ ในระบบการวัดของไทย เมื่อเทียบกับระบบสากล
ก็ธรรมดาของหน่วยพื้นที่ คือ ตาราง...
เพราะ การนำเอาด้านกว้าง และด้านยาว เป็น 2 มิติ มาคูณกันเป็นตาราง
..การวัดพื้นที่ดินของไทยในสมัยก่อน ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ ตารางวา, งาน และ ไร่ เพราะจะได้คำนวณให้เป็นตัวเลขได้อย่างเป็นรูปธรรม ใช้ในการเก็บภาษีที่ดินบ้าง ใช้ในการแบ่งพื้นที่ทำกินบ้าง เช่นมีลูก 10 คน มี นา 500 ไร่ ก็สามารถแบ่งได้อย่างลงตัว คนละ 50 ไร่ ที่ดินที่ถูกแบ่งก็ต้องเป็นมาตรฐานของหลวง ที่ใช้กำหนดให้เป็นแบบเดียวกัน จึงกำหนดเอาระยะในร่างกายคนที่ปกติ กลางๆคือ
กางแขนออกสุดปลายแขนทั้งสอง เป็นความยาว 1 วา ถ้าทำเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส จะได้พื้นที่ 1 ตารางวา
ถ้าขึงเชือกแล้ววัดไป 10 ช่วงตัว คือ 10 วา แล้วทำเครื่องหมายไว้ เอามาขึงทำเป็นพื้นที่ สี่เหลี่ยมจตุรัส จะได้ 10 วา x 10 วา = 100 ตารางวา เท่ากับ 1 งาน
..และ ขึงเชือกกำหนด 20 ช่วงตัว คือ 20 วา เป็น 1 เส้น แล้วเอา 1 เส้น ทำเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส จะได้ 20 วา x 20 วา เท่ากับ 400 ตารางวา เป็นพื้นที่ 1 ไร่ มี 4 งาน พอดี
ารกำหนดในสมัยก่อน จนถึงสมัยนี้ ก็ใช้กันเช่นนี้ในการกำหนดซื้อขาย เก็บภาษี รับมรดก หรือจ้างทำนา เช่านา เก็บผลผลิตฯลฯ
... เมื่อเอาวิธีกำหนดในสมัยก่อน มาเทียบในมาตราสากล จึงได้ค่าดังนี้
1 ตร.วา   เท่ากับ       4  ตร.ม.
1 งาน          "       400  ตร.ม.
1 ไร่             "     1600 ตร.ม.

เพิ่มเติม : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=6&chap=8&page=t6-8-suggestion.html
และ http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=6&chap=9&page=t6-9-infodetail01.html

24 กันยายน 2558

โปรแกรมแปลงเลขฐาน 10

Insert Decimal Number:
ใส่เลขฐาน 10 ที่ต้องการแปลง
เป็นเลข ฐาน 2, 8 และ 16



This free script provided by
JavaScript Kit

ทำไมจึงต้องแปลงเลขฐาน?
ความสำคัญของการเรียนเลขฐาน
ระบบเลขฐานนั้นเราจะเรียนไปทำไม? ไปใช้อะไร?
มีประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน?
...ธรรมดา ในชีวิตของคนเรา นิยมคุ้นเคยกับเลขฐานสิบ จนอาจไม่คุ้นว่า มีการใช้เลขฐานอื่นอีกในสิ่งที่คุ้นเคยแต่นึกไม่ถึง
...เลขฐาน10 คือตัวเลขในทางคณิตศาสตร์ มีตัวเลขอยู่ 10 ตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 แล้วนำเอา 1 และ 0 มารวมกันเมื่อครบ 10 
 ในทางกายภาพนั้น เรามักนับนิ้วมือ 10 นิ้ว เป็นพื้นฐานในการนับจำนวนอื่นๆ เช่นนับจำนวนคน,วัวควาย หรือสิ่งของอื่นๆ เพื่อการคำนวณให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ทหารตั้งแถวตอนเรียง 4 แล้วนับจำนวนแถวมาคูณ ลบจำนวนคนที่ขาด จะทราบยอดที่เหลือได้ง่าย ว่าครบหรือขาดเป็นต้น หรือ ถ้านับเหรียญ มักทำกองละ 10 เพื่อเช็คจำนวนได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการนับทีละเหรียญ
 ในระบบหนึ่งที่เราใช้งานบ่อย จนอาจคิดไม่ถึงว่า มันทำงานที่ใช้ระบบเลขฐานคนละอย่าง... นั่นคือ คอมพิวเตอร์
 พื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั้น มีเพียง ไฟมา กับ ไฟดับ เป็นพื้นฐาน คือ เปิดกับปิด สวิทช์ไฟ เท่านั้น
มีไฟเข้า เป็น 1  และไฟดับ มีค่าเป็น 0
นั่นคือสิ่งที่เกิดจากสัญญาณ clock เป็นตัวส่งสัญญาณในเครื่องคอมฯ เมื่อต้นกำลังหรือหัวใจของคอมฯ มีค่าเพียง 0 และ 1 วงจร and gate, or gate ต่างๆ ก็จะใช้สิ่งต่างตามความถี่ของ clock ไปประมวลผล
  นักวิทยาศาสตร์ที่สร้างคอมฯ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเลขฐานขึ้นมาใช้งาน เริ่มจากกำหนดให้เป็นเลขฐาน 2 คือมีตัวเลขเพียงแค่ 2 ตัว คือ 0 กับ 1 เท่านั้นในการเริ่มพัฒนา แต่ข้อมูลเพียงเส้นเดียวนั้นประมวลผลช้า จึงพัฒนาให้มีมากขึ้นเป็นวงจรเป็น 2 เส้น, 4 เส้น ฐานของตัวเลขในคอมพิวเตอร์ จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นการใช้ฐาน 8 และฐาน 16 ให้สามารถประมวลผลได้ไวมากยิ่งขึ้น
  การเรียนเลขฐาน, การแปลงเลขฐาน จึงจำเป็นต่อผู้ต้องการนำความรู้นี้ไปพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ต้องการทราบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก

ข้อมูลเพิ่มเติม
ระบบเลข เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนต่าง ๆ ระบบเลขแต่ละระบบมีจำนวนตัวเลขที่ใช้เหมือนกับชื่อของระบบตัวเลขนั้น และมีฐานของจำนวนเลขตามชื่อของมัน เช่น เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบ เลขฐานสิบหก
  • ระบบเลขฐานสอง เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ซึ่งเลข 0 กับ 1 เป็นเลขที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการทำงาน การเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางไฟฟ้า
  • ระบบเลขฐานแปด เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, รวมแปดตัว
  • ระบบเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, ซึ่งเลขฐาน 10 เป็นเลขฐานที่มนุษย์ทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะว่าเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
  • ระบบเลขฐานสิบหก เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัวและตัวอักษร 6 ตัว คือตัวเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, และตัวอักษรคือ A แทน 10, B แทน 11, C แทน 12, D แทน 13, E แทน 14, F แทน 15 ซึ่งรวมกันแล้วได้ 16 ตัว
เลขฐานสิบเลขฐานสองเลขฐานแปดเลขฐานสิบหก
0000000
1000111
2001022
3001133
4010044
5010155
6011066
7011177
81000108
91001119
10101012a
11101113b
12110014c
13110115d
14111016e
15111117f
161 000020

17 มิถุนายน 2558

การคำนวณแรงดันไฟตก

แรงดันตก (Voltage Drop)
โปรแกรมคำนวณหาแรงดันไฟตก
หรือ โปรแกรม​คำนวณหาแรงดันไฟตก1
แรงดันตกเป็นปัญหาเมื่อมีการใช้สายไฟที่มีความยาวมากๆ ซึ่งมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นหลอดไฟสว่างไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถจุดหลอดได้กรณีที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ starter ช่วยจุดหลอด, มอเตอร์ไม่มีแรงหมุนหรือไหม้ เป็นต้น

มาตรฐาน NEC กำหนดแรงดันตกดังนี้
1. แรงดันตกจากสายประธานจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load) ไม่เกิน 5%
2. แรงดันตกในสายป้อน (Feeder) ไม่เกิน 2%
3. แรงดันตกในวงจรย่อย ไม่เกิน 3%

การคำนวณค่าแรงดันตกในสายไฟให้อยู่ในเกณฑ์ที่มาตราฐานกำหนด ทำให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
สูตรการคำนวณค่าแรงดันตก   ทั้งสายป้อนและวงจรย่อย ใช้สูตรการคำนวณเหมือนกันคือ

 1 เฟส 2 สาย               =  2 I (R cos + X sin) L
 3 เฟส 4 สาย          =   I (R cos + X sin) L

เมื่อกำหนดให้VD     = Voltage Drop    ; V
 I         = กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร    ; A
R        = ความต้านทานเส้นเดียวของสายไฟฟ้า    ; โอห์ม/เมตร
       = Reactance เส้นเดียวของสายไฟฟ้า   ; โอห์ม/เมตร
L         = ความยาวของสายไฟฟ้า    ; เมตร
cos = Power Factor ของโหลด

หมายเหตุ   ความต้านทานที่ใช้เป็นความต้านทานกระแสสลับที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ส่วนรีแอกแตนซ์ขึ้นอยู่กับ การจัดสายและวิธีการเดินสาย ดังตารางข้างล่าง
                                                          ข้อมูลค่า R และ X ของสาย THW  

ขนาดสาย
ตร.มม
ความต้านทาน
(โอห์ม/กม.)
รีแอกแตนซ์ในท่ออโลหะ
(โอห์ม/กม.)
รีแอกแตนซ์ในท่อโลหะ
(โอห์ม/กม.)
รีแอกแตนซ์เดินลอยบน Rack
(โอห์ม/กม.)
2.5
4
6
10
16
25
35
50
70
95
120
150
185
240
300
400
500
8.8658
5.5157
3.6851
2.1895
1.3759
0.8698
0.6269
0.4723
0.3207
0.2309
0.1840
0.1493
0.1196
0.0918
0.0737
0.0587
0.0467
0.1228
0.1146
0.1116
0.1059
0.1035
0.0981
0.0983
0.0933
0.0904
0.0902
0.0879
0.0870
0.0873
0.0865
0.0862
0.0841
0.0850
0.1535
0.1433
0.1395
0.1324
0.1294
0.1226
0.1229
0.1166
0.1130
0.1128
0.1099
0.1088
0.1091
0.1081
0.1078
0.1052
0.1063
0.3559
0.3412
0.3251
0.3087
0.2943
0.2798
0.2661
0.2566
0.2450
0.2347
0.2263
0.2198
0.2127
0.2037
0.1966
0.1889
0.1816
ตัวอย่าง  ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 380 V 50 Hz. จ่ายโหลด 3 เฟสสมดุลขนาด 50 A. PF 0.8 lag ด้วยสาย THW 16 ตร.มม. เดินในท่อโลหะในอากาศ ความยาว 100 เมตร จงหาแรงดันตกในสาย

วิธีทำ          จากสูตร      VD   =   I (R cos + X sin) L

จากตารางข้างบนได้ข้อมูลสายดังนี้
          R = 1.3759 ohm/km.
              = 1.3759 / 1000   = 0.0013759 ohm/m
          X = 0.1294 ohm/km.
              = 0.1294 / 1000   = 0.0001294 ohm/m
และ cos = 0.8   จะได้ sin = 0.6
แทนค่าในสูตร  VD =  x 50 (0.0013759 x 0.8 + 0.0001294 x 0.6) x 100   =   10.20 V.
คิดเป็น %                = (10.20/380) x 100%
                                = 2.68 %


วงจรย่อยลักษณะการต่อโหลดในวงจรย่อยจะมีผลต่อค่าแรงดันตก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการต่อวงจร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

 Concentrated Load
 Distributed Load

Concentrated Load      มีลักษณะเป็น Load เพียงชุดเดียวต่ออยู่ที่ปลายสาย ดังรูป 
                                                      

ตัวอย่าง  ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 220 V 50 Hz. จ่ายโหลด 15 A. PF 1.0 ด้วยสาย THW 2.5 ตร.มม. เดินในท่อ PVC
                ความยาว 30 เมตร จงหาแรงดันตกในสาย และถ้ากำหนดแรงดันตกไม่เกิน 3% จะเดินสายได้ไกลสุดเท่าใด

วิธีทำ          จากสูตร      VD   =   2 I (R cos + X sin) L

จากตารางข้างบนได้ข้อมูลสายดังนี้
          R = 8.8658 ohm/km.
              = 8.8658 / 1000   = 0.0088658 ohm/m
          X = 0.1228 ohm/km.
              = 0.1228 / 1000   = 0.0001228 ohm/m
และ cos = 1.0   จะได้ sin = 0

เขียนสูตรใหม่ดังนี้                     VD = 2 I R L
แทนค่าในสูตร                           VD = 2 x 15 x 0.0088658 x 30   =   7.979 V.
คิดเป็น %                                         = (7.979/220) x 100%
                                                        = 3.62 %                    -------------------------------------- (1)

เมื่อกำหนดแรงดันตกไม่เกิน 3%  = 0.03 x 220    =  6.6 V.
แทนค่าในสูตร                      6.6  = 2 x 15 x 0.0088658 x L
เดินได้ไกลสุด                        L     = 6.6 / (2 x 15 x 0.0088658)   = 24.81 เมตร ------------(2) 


Distributed Load      มีลักษณะเป็นโหลดหลายชุดต่อกระจายกันไปตามความยาวสาย ดังรูป

                                                   

ตัวอย่าง  ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 220 V 50 Hz. จ่ายโหลด 15 A. PF 1.0 ด้วยสาย THW 2.5 ตร.มม. เดินในท่อ PVC
                ความยาว 30 เมตร ถ้าโหลดแต่ละตัวกินกระแส 5 A วางห่างกัน 10 เมตรจงหาแรงดันตกในสาย
                และถ้ากำหนดแรงดันตกที่โหลดตัวสุดท้ายไม่เกิน 3% จะเดินสายได้ไกลสุดเท่าใด

วิธีทำ          จากสูตร      VD   =   2 I (R cos + X sin) L

จากตารางข้างบนได้ข้อมูลสายดังนี้
          R = 8.8658 ohm/km.
              = 8.8658 / 1000   = 0.0088658 ohm/m
          X = 0.1228 ohm/km.
              = 0.1228 / 1000   = 0.0001228 ohm/m
และ cos = 1.0   จะได้ sin = 0

เขียนสูตรใหม่ดังนี้                     VD = 2 I R L
แต่กระแสไหลในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ดังรูป

                                                   
จะได้                                      

แทนค่าในสูตร                           VD = 2 x 0.0088658 x ( 15 + 10 + 5 ) x 10   =   5.319 V.
คิดเป็น %                                         = (5.319/220) x 100%
                                                        = 2.41 %                    -------------------------------------- (1)

เมื่อกำหนดแรงดันตกไม่เกิน 3%  = 0.03 x 220    =  6.6 V.
แทนค่าในสูตร                      6.6  = 2 x 0.0088658 x ( 15 + 10 + 5 ) x L/3
เดินได้ไกลสุด                        L    = (6.6 x 3) / (2 x 0.0088658 x ( 15 + 10 + 5 ) )   = 37.22 เมตร ------------(2)