09 พฤษภาคม 2557

กฎหมายว่าด้วย ยศของทหาร

:: พ.ร.บ. ยศทหาร พ.ศ. 2479 มาตราที่ 1-14 
 
:: พระราชบัญญัติ ยศทหาร พุทธศักราช 2479 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2478) 
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479" 
 มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2479//531/8 พฤศจิกายน 2479] 
 มาตรา 3 ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มี บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ 
 มาตรา 4 ยศทหารมีตามลำดับดังนี้ 
 1. สัญญาบัตร
 ลำดับยศและเทียบยศ ลำดับยศทหารและเทียบยศ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี 
 2. ประทวน
 ลำดับยศและเทียบยศ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ นายดาบ จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี 
มาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2494] 
 มาตรา 5 ผู้ใดจะเป็นนายทหารสัญญาบัตรยศชั้นใดได้นั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้น เว้นแต่ผู้ที่มียศเป็นทหารสัญญาบัตรอยู่แล้วรับราชการประจำในสังกัดใหม่กองทัพใด หากยศไม่ตรงกับสังกัดกอง ทัพนั้นก็ให้มียศตามกองทัพที่สังกัดใหม่ในชั้นเดียวกับยศเดิมได้ ตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้รับราชการประจำในสังกัด ใหม่
มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พุทธศักราช 2484] 
 มาตรา 6 ผู้ที่จะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรนั้นต้องเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เว้นแต่ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นพิเศษ 
 มาตรา 7 การแต่งตั้งผู้ใดให้ว่าที่ยศนายทหารสัญญาบัตรชั้นใดชั่วคราว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมมีอำนาจแต่งตั้งผู้นั้นให้ว่าที่ยศสัญญาบัตรชั้นนั้นชั่วคราวได้
 มาตรา 8 ผู้ใดจะเป็นนายทหารประทวนชั้นใดได้นั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บังคับบัญชา ชั้นแม่ทัพซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศออกประทวนแต่งตั้งผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้
มาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2505] 
 มาตรา 9 ผู้ที่จะเป็นนายทหารประทวนนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดไว้ เว้น แต่ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งเป็นพิเศษ 
 มาตรา 10 ผู้ที่ได้รับยศทหารอยู่แล้วก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ให้คงมียศต่อไปตามเดิม 
 มาตรา 11 ทหารผู้ใดที่มิได้มียศตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจออก กฎกระทรวงเทียบฐานะกับยศทหารได้ 
 มาตรา 12 การถอดหรือการออกจากยศสัญญาบัตรจะกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
มาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2501] 
 มาตรา 13 การให้ออกจากว่าที่ยศสัญญาบัตร หรือการถอด หรือการออกจากยศประทวน ให้ผู้มีอำนาจแต่ง ตั้งสั่งได้ 
 มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ 
 
:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.อ. พหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี 
 
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479พุทธศักราช 2484 
 พระราชกำหนดนี้ได้ยกเลิก มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติยศทหารพ.ศ. 2479 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 ตอนที่ 43 หน้า 531)แก้ไขใหม่เป็นความว่า สำหรับผู้ได้รับพระราชทานยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรอยู่แล้วไปรับ ราชการในสังกัดใหม่กองทัพใด ก็ให้มียศในสังกัดใหม่ในชั้นเดียวกับยศเดิมนับแต่วันที่มีคำสั่ง โดยไม่ต้องโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งอีก
[รก.2484//898/8 กรกฎาคม 2484] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485 
 มาตรา 3 ในกฎหมายว่าด้วยยศทหารและบรรดากฎหมายอื่นใดซึ่งมีคำว่า "นาย" ประกอบยศทหารอยู่ด้วย นั้น ให้ตัดคำว่า "นาย" ออกทั้งสิ้น ถ้าผู้ที่ได้รับยศทหารเป็นหญิง ให้เติมคำว่า "หญิง" ท้ายยศนั้น ๆ ด้วย
[รก.2485/76/2359/8 ธันวาคม 2485] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2497 
[รก.2494/80/18พ/31 ธันวาคม 2494] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2497 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ เป็นยศสูงสุดของทหาร นายทหารที่มียศนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้กระทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติหรือได้ ประกอบคุณงามความดีในเมื่อมีการรบหรือการสงคราม ทั้งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงอยู่ในขั้นที่จะรับใช้ ประเทศชาติทุกขณะ จึงเป็นการสมควรที่จะให้ได้รับราชการอยู่จนตลอดชีวิต
[รก.2497/16/441/9 มีนาคม 2497] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ตามที่ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธ ศักราช 2479 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2497 บัญญัติให้นายทหารที่มียศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ รับราชการอยู่จนตลอดชีวิตนั้นไม่เหมาะสมสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายใน เรื่องนี้เพื่อให้นายทหารดังกล่าวรับราชการเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป
[รก.2501/50/289/1 กรกฎาคม 2501] 

พระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2505 
 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ได้บัญญัติให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงเป็นเหตุให้ผู้บัญชาการทั้งสามกองทัพ แต่งตั้งยศนายทหารประทวนไม่ได้ สมควรแก้ ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แต่งตั้ง ยศนายทหารประทวนได้ดังเดิม กับสมควรให้ผู้บังคับบัญชาชั้นแม่ทัพซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กระทรวงกลาโหม แต่งตั้งยศนายทหารประทวนได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น