- ประสบการณ์งานทาสี
- เรื่องของการใช้สีทาอาคาร,ทาบ้าน มักจะถามถึง
- 1.ปริมาณของสีที่ใช้ทา
- 2.ทาไม้,เหล็ก หรือ ปูน
- 3.ทารองพื้นอย่างไร
- 4.ทาภายนอก-ภายใน
- 5.ใช้อะไรผสม
- 6.ทากี่เที่ยว
- 7.สีสรร ควรใช้สีอะไร
หากเราพิจารณาให้ถูกต้องแล้ว ราคาจะขึ้นอยู่ที่ปริมาณของสีเป็นหลักใหญ่ เราจึงจำเป็นต้องทราบพื้นที่เนื้องานที่เราต้องการจะทาสีในเบื้องต้น แต่ว่ามันอาจจะไม่ถูกต้องทุกอย่าง จึงได้เพียงคาดคะเนเอา ให้ใกล้เคียงมากที่สุด เป็นเพราะเหตุที่เราอาจคิดไม่ถึง เช่น..
ผนังอาคาร กำหนดหาพื้นที่คือ ความกว้างของผนังxความสูงของผนัง จะได้พื้นที่เป็นหน่วย ตร.ม. นำเอาพื้นที่ที่คำนวณได้ ไปเทียบค่าเฉลี่ยตามสถิติของบริษัทผู้ผลิตสี ก็จะได้ปริมาณสีที่เราจะทา
แต่หากเรามิได้เป็นช่างสีที่ชำนาญ เราคิดเพียงเท่านี้แล้วไปซื้อสีมาตามปริมาณที่คำนวณไว้ มาทากลับไม่พอบ้าง-เหลือบ้าง เพราะหลายเหตุที่เราอาจคิดไม่ครอบคลุม เช่น เราอาจคิดเพียงเที่ยวเดียว พอเห็นว่าสีทาแล้วไม่ขึ้น-ไม่เรียบ ไปทาซ้ำ สีก็ไม่พอ, หรือ คำนวณเผื่อ 2-3 รอบไว้แล้ว แต่ผนังไม่เรียบ ผิวขรุขระ ทำให้เนื้อสีเข้าไปตามที่ไม่เรียบนั้น ผนังนั้นก็กินสีเราไปมากกว่าที่คำนวณได้ก็มีหลายครั้งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หาก ผนังปูนเก่าแห้งสนิท ทาสีแล้วกินสีมากกว่า ปูนใหม่ที่ยังมีน้ำอิ่มตัวอยู่ ทำให้กินสีน้อยกว่า นี่ก็พบมามาก สีรองพื้นจึงสำคัญที่เราควรเลือกให้เหมาะสม เราจึงจะได้คุณภาพสีที่ราคาพอเหมาะ และอีกเรื่องคือ เราคำนวณแล้วไม่ได้หักพื้นที่ประตูหน้าต่าง เช่นติดบานกระจกเลื่อนที่ทำให้ พื้นที่ทาสีเหลือไม่มาก แต่ไม่ได้หักออก พอทาไปจบแล้ว สีเหลือมากกว่าที่คิด หรือทาเสากลม เสาเหลี่ยม ไม่ได้คิดพื้นที่ทาสีด้วย สีก็ขาด ไม่พอใช้เป็นต้น เรื่องของปริมาณที่จะซื้อ จึงได้เพียงคาดคะเนตามประสบการณ์ของช่างเป็นหลักบวกกับหลักการหาพื้นที่อย่างถูกต้อง จึงจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้แม่นยำ
ส่วนเรื่องวัสดุที่เราจะลงสี เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากนำสีน้ำมาทาเหล็ก ทาไม้ เราจะเสียเงินไปเปล่าประโยชน์ เพราะใช้สีผิดประเภท
การรองพื้นวัสดุนั้น ควรซื้อมาให้เหมาะสม เช่นเหล็กเป็นสนิม ควรทากันสนิมรองพื้น ไม้เป็นเชื้อรา เป็นมอด เป็นปลวก ก็ควรลงสีเคมีไว้ และผนังปูน ต้องทราบว่า เป็นปูนใหม่-เก่า หรือเป็นประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้เทียม เป็นต้น ถ้าทราบ ก็จะทำให้เราได้วัสดุที่ทาสีออกมาแล้วมีความคงทนในการใช้งาน
สีทาภายนอก ภายใน ราคาแตกต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดด ก็ต่างตามราคา เลือกให้เหมาะราคาก็จะเหมาะ การใช้งานก็จะใช้ได้นาน
ส่วนผสมของสีแตะละประเภท แตกต่างกัน เช่นสีน้ำทาปูน ใช้น้ำผสมได้แต่ก็ไม่ทุกอย่าง ต้องอ่านรายละเอียดให้ดีตามสีที่เราเลือกใช้ เช่นสีทองทาปูนบางชนิด ผสมทินเนอร์เฉพาะ ก็ต้องซื้อมาเฉพาะ จะมาผสมน้ำไม่ได้ เป็นต้น แม้แต่สีทาเหล็กผสมได้ทั้งทินเนอร์ และน้ำมันสน แต่ราคาน้ำมันสนถูกกว่า หากเราได้ช่างสีที่ชำนาญ ก็จะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเทคนิคการผสมนี้ และสีที่ทาก็จะมีคุณภาพใช้ได้ยาวนาน
การทาสีบางครั้ง อาจกำหนดเที่ยวในการทาได้ยาก เพราะสีที่ทาแล้วดูดสี หรือทาไม่ขึ้นก็พบอยู่บ่อย หากใช้โดยทั่วไป รองพื้นครั้งเดียว ทาสีจริง 2 รอบ แต่ไม่ได้เป็นหลักตายตัวของทุกช่าง อันนี้จึงเป็นตัวแปรที่ทำให้การควบคุมค่าใช้จ่ายอาจจะไม่ตรง
และตัวอย่างสุดท้าย คือโทนสี ทีบางครั้ง หรือบ่อยครั้งที่ เจ้าของกำหนดสีที่ตนชอบ อาจด้วยใจรัก หรือ หมอท่านทักเอาไว้ก็แล้วแต่ พอทาออกมาแล้วสีมันไม่ตรงใจที่จินตนาการของตนเอง ผู้ที่โชคดีได้สีตรงใจ ก็อิ่มใจทุกครั้งที่อยู่ แต่หากตรงกันข้ามแล้ว มันจะให้ความรู้สึกยากจะทำใจ เพราะเราไม่เคยเห็นสีมี่ออกมาสำเร็จมาก่อน สีอาจแก่กว่า-อ่อนกว่าในตัวอย่างก็เป็นไปอย่างแน่นอน จากประสบการณ์ตรง เช่นสีกระป๋องเดียวกัน ทา 2 ที่ ที่หนึ่งโดนแดดมากว่า สีดูเข้มกว่า สีที่ทาในร่มและมีสีอื่นตัด ข่มสีที่ทาแล้วให้ดูว่าเป็นสีอ่อนไปทันที อารมณ์ของสีจึงแตกต่างกันไปมาก ทั้งๆที่สีมาจากกระป๋องเดียวกัน
ส่วนด้านล่าง เป็นตัวอย่างเนื้อหาที่ควรทราบเป็นพื้นฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น