07 พฤษภาคม 2557

แพรแถบ ประดับอย่างไร



    ถ้ายังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เเพรเเถบย่อก็จะเป็นเเพรเเถบย่อของเหรียญที่ระลึก
    อย่างอันนี้เป็นเป็นเเพรเเถบเหรียญที่ระลึก ที่ไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การนับเวลาในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

1.การนับเวลาสำหรับขอพระราชทานครั้งแรก 
1.1 ผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ให้นับเวลาตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนกองประจำการจนถึงปีที่ขอพระราชทาน (นับรวมเวลาที่อยู่ในระหว่างศึกษาและจบออกมารับราชการโดยต่อเนื่อง) ไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน 60 วัน 
1.2 ผู้ที่บรรจุจากพลเรือน ให้นับตั้งแต่วันที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหมและได้รับเงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนและให้ถือตามระดับชั้นเงินเดือนเทียบกับยศทหารตามอัตราตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งจะต้องรับราชการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน 60 วัน เช่นเดียวกัน (กรณีนี้หมายถึง นับวันชนวัน) 

2. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่ำกว่าชั้นสายสะพาย 
ให้ขอพระราชทานได้ปีเว้นปี (ห้ามขอปีติดกัน) และต้องตรงตามชั้นยศด้วย เช่น ผู้ที่ดำรงยศ พ.ท. ขอพระราชทาน ต.ช. เมื่อปี 2529 ต่อมาในปี 2530 ได้เลื่อนยศเป็น พ.อ. จะขอพระราชทาน ท.ม. ยังไม่ได้เนื่องจากขอปีติดกัน จะขอพระราชทานได้ในปี 2531 เป็นต้น 

3. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย 
ให้ขอพระราชทานได้เมื่อได้รับ ท.ช. เป็นชั้นตราสุดท้าย ครบ 3 ปีบริบูรณ์แล้ว การนับเวลา "3 ปีบริบูรณ์" ในทางปฏิบัติ คือ ให้นับตั้งแต่ปีถัดไปจากปีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง เช่น ได้รับ ท.ช. เมื่อ 5 ธ.ค. 2526 
-ให้นับปีที่ 1 เมื่อ 5 ธ.ค. 2527
-ให้นับปีที่ 2 เมื่อ 5 ธ.ค. 2528
-ให้นับปีที่ 3 เมื่อ 5 ธ.ค. 2529
 
จึงขอพระราชทาน ป.ม. ได้ ในปี 2529 เป็นต้น 

4. สำหรับผู้ที่ได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ 
เช่น เป็นวุฒิสมาชิก หรือปฏิบัติราชการการเมือง หรือกรณีอื่น ๆ อาจจะขอพระราชทานได้ทุกปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อกำหนดข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น