11 ธันวาคม 2556

ทรงปลูกฝังความรักชาติให้กับนักเรียนนายเรือ


เนื่องจากประเทศไทยถูกรุกรานทางทะเลจาก ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเกิดกรณีเหตุการณ์การรบ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ร.ศ.112 ทำให้ประเทศไทย ต้องสูญเสียดินแดนไปบางส่วน พร้อมกับเสียเงินค่าทำขวัญ พร้อมทั้งจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ถูกยึดเป็นประกัน เสด็จในกรมฯ ทรงเจ็บแค้นพระทัย เป็นอย่างมาก จึงทรงให้นักเรียนนายเรือสักคำว่า "ร.ศ.112 ตราด" ไว้ที่หน้าอกทุกคนรวมทั้งพระองค์ท่านด้วย เพื่อเป็นเครื่องจดจำ และหาหนทางที่จะแก้แค้นต่อไป
นอกจากการสักแล้ว เสด็จในกรมฯ ทรงแต่งเพลง ฮะเบสสมอ
และอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่หลายบทด้วยกัน และให้นักเรียนนายเรือร้องเพื่อปลุกใจให้กล้าหาญ
และรักชาติ ให้สมกับเป็นทหารเรือไทย
นอกจากนั้นเสด็จในกรมฯ โปรดให้สร้างเรือน้ำตาลขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2449 ซึ่งเป็นเรือจำลองมีคำว่า "ร.ศ.112" ที่หัวเรือ ตั้งไว้บนบกเพื่อให้นักเรียนนายเรือชั้น 4 ชั้น 5 ฝึกแก้อัตราผิดของเข็มทิศ เพื่อเวลานำเรือ ออกท้องทะเลลึกโดยเข็มไม่ผิด และให้ได้เห็นทุกวัน เป็นการเตือนใจให้หาทางแก้เผ็ด และป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ เช่น ร.ศ.112 เกิดขึ้นอีก และที่ทรงใช้ชื่อว่า"น้ำตาล" เพราะน้ำตาลแก้รสเผ็ดได้ หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเรือที่ลอยน้ำไม่ได้ (เช่นเดียวกับน้ำตาล)
นอกจากทรงใฝ่พระทัยในด้านการศึกษาของ นักเรียนนายเรือแล้ว เสด็จในกรมฯ ทรงดำริว่า สำหรับการช่วยเหลือราษฎรในด้านการดับเพลิงนั้น ควรจะได้ให้นักเรียนนายเรือได้มีการฝึกทำการช่วยเหลือ ราษฎรทำการดับเพลิง เพราะมีเรือสูบน้ำ และเรือกลไฟเล็ก ซึ่งขึ้นอยู่กับกรมเรือกลอยู่แล้ว และมีหน้าที่ดับเพลิง ฉะนั้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่ใด เรือกลไฟจะทำหน้าที่ลากจูงเรือ สูบน้ำไปทำการดับเพลิงเป็นประจำ ดังนั้นเสด็จในกรมฯ ทรงจัดตั้งกองดับเพลิงของทหารเรือขึ้น โดยมีกองต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. กองถัง
2. กองขวาน
3. กองผ้าใบกันแสงเพลิง
4. กองรื้อและตัดเชื้อเพลิง
5. กองช่วย
6. กองพยาบาล
ต่อมาจึงได้เพิ่มกองสายสูบขึ้นกองหนึ่ง ในการนี้ได้ทรงจัดให้นักเรียนนายช่างกล ทำหน้าที่ร่วมกับ นักเรียนอื่น ๆ และเพื่อความชำนาญ ให้มีการเปลี่ยนกันไปบ้าง ตามความสามารถของนักเรียน นอกจากนั้นเสด็จในกรมฯ ทรงฝึกหัดการดับเพลิงให้กับทหาร และนักเรียนนายเรือ ด้วยพระองค์เอง ในสมัยนั้นมักจะเกิดเพลิงไหม้บ่อย ๆ เสด็จในกรมฯ จะเสด็จไปบัญชาการดับเพลิง ด้วยพระองค์เองเสมอ ๆ โดยไม่ทรงถือพระองค์ และจะลงมือปฏิบัติด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นแบบอย่าง แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความกล้าหาญ ดังเช่น ในต้นเดือนธันวาคม ร.ศ.119 (พ.ศ.2443) เกิดเพลิงไหม้ที่ตำบลบ่อนหัวเม็ดทางด้านวัดบพิตรพิมุข เสด็จในกรมฯ ทรงปีนหลังคาแล้วทำการรื้อ เพื่อจะตัดต้นไฟด้วยพระองค์เอง จนถึงกับประชวร พระวาโย 2 ครั้ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และรั้งตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการกรมทหารเรือ ได้ถวายรายงานขอพระราชทานบำเหน็จ เพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่นายทหารและพลทหารในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชมเชยในความอุตสาหะและความกล้าหาญ แต่ยังไม่ทรงเห็นด้วยที่จะพระราชทานรางวัล เพราะในครั้งนั้นยังไม่เคยมีรางวัล และอีกประการหนึ่ง การที่จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขั้นต่ำ ๆ ก็ไม่เหมาะสมกับเสด็จในกรมฯ ดังนั้นพระองค์ ทรงให้นับไว้บวกกับความดี ซึ่งจะมีในภายหน้าที่จะได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงต่อไป
การปฏิบัติงานของกองดับเพลิงนั้น ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ ดังเช่น 
ในวันที่ 4 และ 5 เมษายน พ.ศ.2449 ได้เกิดเพลิงไหม้ขนานใหญ่ที่ตำบลราชวงศ์ 
กองดับเพลิงได้ทำการดับเพลิงอย่างเข้มแข็ง จนได้รับคำชมเชยดังนี้ 
"วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2449 กรมทหารเรือได้ลงคำสั่งที่ 8/136 ให้ทราบทั่วกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรรเสริญ ความอุตสาหะของกรมทหารเรือในการดับเพลิง ที่ตำบลถนนราชวงศ์ เมื่อวันที่ 4 และ 5 เมษายน ร.ศ.125 จึงให้กรมกองประกาศให้นายทหาร พลทหาร และพลนักเรียนทราบทั่วกัน"

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งขณะนั้นกำลังทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี กระทรวงทหารเรืออีกตำแหน่งหนึ่ง
ครั้นถึงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระองค์ทรงออกจากราชการอยู่ชั่วระยะหนึ่ง รวมเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงรับราชการครั้งแรก 11 ปี

เสียงสัญญาณนกหวีดเรือ



สัญญาณ              เป่าเตรียม    เป่าสัญญาณเสียง
๑.          ธงขึ้น            ติ๊ด ๆ       วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-----/ วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-----/ วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ-----/  วี๊ด-ติ๊ด ๆ ๆ ๆ ต่อ ๆ ๆ ๆ ติ๊ด
๒.        ธงลง             ติ๊ด ๆ       รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-----/ รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-----/ รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-----/ ติ๊ด รี๊-หร่อ-วิด
๓.         เป่าปลุก           -            วี๊หว่อวิด / หว่อ-วี๊-หว่อ / หว่อ-วี๊-หว่อ / หว่อ-วี๊-หว่อ / หว่อ-วี๊-หว่อ วิด / วิ๊ดตะเวี๊ยวหว่อ
๔.         เป่านอน        ติ๊ด ๆ       ติ๊ด รี๊-หร่อ-วิด / หว่อ-วี้-วิด / หว่อ-วี้-หว่อ / หว่อ-รี๊-หร่อ วิด
๕.         เป่าประกาศ     -            วี๊ดตะเวี๊ยวหว่อ
๖.          แถว ๐๘๓๐     -            วี๊หว่อวิด / หว่อวี๊หว่อ / หว่อวี๊หว่อ / หว่อวี๊หว่อ / หว่อวี๊หว่อ วิด / วิ๊ดตะเวี๊ยวหว่อ
๗.         รับประทานอาหาร -    ติ๊ด ๆ ๆ ๆ วี้หว่อวิด หว่อวี้หว่อ หว่อติ๊ด ๆ ๆ ๆ ต่อ ๆ ๆ ๆ หว่อ รี๊ หร่อ  วิด
๘.         เลิกงาน            -            ติ๊ด รี๊-หร่อ-วิด / วี๊ด-ติ๊ด ๆ   ๆ  วี๊ด-ติ๊ด ๆ      วี๊ด-ติ๊ด ๆ   ๆ / ติ๊ด รี๊-หร่อ-วิด
๙.          นายทหารขึ้นเรือ -       หว่อ-วี๊-หว่อ / หว่อ-วี้-หว่อ วิด
๑๐.      นายทหารลงเรือ  -       หร่อ-รี๊-หร่อ / หร่อ-รี๊-หร่อ วิด
๑๑.      หะเบสนิดหน่อย  -      หว่อ-วี๊-หร้อ (เป่าซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่ง “โฮ” หมายถึง ให้หยุด)
๑๒.    หะเรียนิดหน่อย  -       หร่อ-วี๊-หร้อ  (เป่าซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่ง “โฮ” หมายถึง ให้หยุด)
๑๓.     หะเบส          ติ๊ด ๆ       วี้หว่อ-วี้หว่อ-วี้หว่อ (ซ้ำๆ) (ให้เป่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่ง “โฮ” หมายถึง ให้หยุด) / วี๊ด-ติ๊ด ๆ   ๆ ต่อ ๆ   ๆ ติ๊ด (ผูกมัด, ยึดติด)
๑๔.     หะเรีย           ติ๊ด ๆ       รี๊หร่อ-รี๊หร่อ-รี๊หร่อ (ซ้ำ) (ให้เป่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่ง “โฮ” หมายถึง ให้หยุด หรือ ปล่อย)
๑๕.     ผูกมัดหรือให้หยุด  -   วี๊ด-ติ๊ด ๆ   ๆ ต่อ ๆ   ๆ ติ๊ด
หมายเหตุ:  ๑.    “/ xxxxx /” หมายความว่า คำที่อยู่ในหวักเดียวกัน และ “ - ” หมายความว่าให้เป่าแบบลากเสียงต่อคำกันไปในหวักเดียวกันนั้นๆ
                    ๒.   “ธงขึ้น” และ “ธงลง” เมื่อเป่าเตรียมแล้วให้รอ “ธงสัญญาณ หรือ ธงเป๊บ” ลงมาเรียบร้อยก่อนจึงเป่าสัญญาณเสียงต่อไป และหากมีพลสัญญาณเป่า “แตรเดียว” การเป่าสัญญาณเสียงในแต่ละหวักทั้ง ๓ ช่วงนั้นให้จบพร้อมๆ กันกับสัญญาณแตรด้วย ทั้งนี้โดยคำสุดท้ายของหวัก “-----” ให้เป่าลากเสียงไปจนกว่าเสียงแตรจะจบหวักเดียวกัน จึงเริ่มเป่าหวักต่อไป
                    ๓.    “เป่านอน” ใช้ในการประกอบพิธีลอย”อังคาน” หรือ “กระดูก” ของผู้ตายด้วย
credit โน๊ตhttp://www.navy29.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=navy29com&thispage=2&No=1447279

คำแนะนำการใช้นกหวีดเรือ

  1. นกหวีดสัญญาณที่ใช้อยู่ในเรือใหญ่นั้น ต่อไปนี้จะให้ชื่อว่า นกหวีดเรือ และนกหวีดชนิดนี้จะไม่ใช่สัญญาณอื่นทั่วไป คงใช้แต่เป็นเสียงสัญญาณประจำ ซึ่งมีกำหนดอยู่ตามข้อบังคับบ้างแล้ว และจะได้กำหนดเพลงเสียงสัญญาณและที่ใช้ไว้ต่อไปในโน้ตนั้น
  2. ลักษณะของนกหวีดเรือ นั้น ต้องใช้นกหวีดที่ลักษณะตอนต้นเป็นปลอดลมยาวและเล็ก และตอนสุดนั้นต้องมีที่อุ้มเสียง แต่ไม่มีลูกกลิ้ง ซึ่งจะทำให้เสียงครวญดังในรูปนี้

นกหวีดเรือ.jpg

  1. วิธีที่จะจับนกหวีดชนิดนี้เป่า จะต้องจับที่ตอนท้ายของนกหวีดนั้นด้วยมือขวาและกำมือโปร่ง ๆ ปลายนิ้วกลางอยู่ประมาณเหนือช่องลมเล็กน้อยเพื่ออุ้มเสียงนกหวีดให้ทุ้มลงและเบาแรงที่จะเป่าด้วย
  2. การที่จะทำเสียงนกหวีดให้เป็นเสียงสูง หรือเสียงต่ำนั้นให้ใช้นิ้วกลาง และในอุ้งโปร่งของมือนั้นประกอบด้วยแรงลมที่จะเป่าคือ.-
    1. ถ้าจะให้เสียงสูง (วิ๊ด. . . ) ให้เอานิ้วกลางกดที่เหนือช่องลม และกำมือเข้าให้ชิดแต่ไม่ให้แน่นเกินไป แล้วเป่าตะเบงลมให้แรง เสียงนกหวีดก็จะเป็นเสียงสูง
    2. ถ้าจะให้เป็นเสียงต่ำ ก็ให้เปิดนิ้วกลางและคลายมือให้โปร่งออก และเป่าแต่ธรรมดาเสียงนั้นก็จะเป็นเสียงต่ำ และเสียงสัญญาณของนกหวีดเรือก็คงใช้อยู่ ๒ เสียงเท่านี้ นอกจากนี้ในเสียงสูงและต่ำแล้ว มีเสียงครวญหรือสั้น ๆ คล้ายครวยอยู่ในเสียงสูงและต่ำนั้นอีกชั้นหนึ่งแต่วิธีนี้ใช้ทำด้วยปลายลิ้นสะบัดให้เป็นเสียงครวญและตอดให้เป็นเสียงสั้น ๆ ส่วนเสียงที่เปิดมือหมดแล้วเป่าคงเป็นเสียงกลาง
  • การทำเสียงนี้ ซึ่งกำหนดว่าให้เอานิ้ววางอย่างไรเป็นเสียงใดนั้น ข้อสำคัญก็ต้องแล้วแต่ความชำนาญและเหมาะมือเป็นใหญ่
  1. การใช้มือจับนกหวีดเป่านั้น ควรจะใช้ชำนาญใช้ได้ทั้งซ้ายและขวา เว้นแต่การเป่า ธงขึ้น , ธงลง , เกียรติยศ รับและส่งที่เพลงนี้ให้ใช้มือขวาเสมอ

แบบฝึกนกหวีดเรือ

  • การยืนเป่านกหวีด
  1. ยืนตรง อกตึ่งผึ่งผางมือซ้ายกำหลวม ๆ ไขว้หลังอยู่ประมาณแนวเข็มขัด มือขวาจับนกหวีด มี ๔ เพลง
    1. ธงขึ้น
    2. ธงลง
    3. นายทหารขึ้นเรือ
    4. นายทหารลงเรือ
  2. ยืนถ่างขาเล็กน้อยพองาม ลำตัวตรง อกตึงผึ่งผาย มือซ้าย (ขวา) กำหลวม ฯ ไขว้หลังอยู่ประมาณแนวเข็มขัด มี ๑๔ เพลง
    1. ปลุก
    2. เลิกงานเก็บกวาด
    3. ประกาศ
    4. หะเบสนิดหน่อย
    5. หะเรียนิดหน่อย
    6. หะเบส
    7. หะเรีย
    8. นอน
    9. ผูกหรือหหยุด (โฮ)
    10. รับประทานอาหาร
    11. เลิกฝึกหัดศึกษา
    12. ดึงตึง
    13. ปล่อย
    14. แถว ๐๘๓๐

เครื่องหมายเสียงสัญญาณนกหวีดเรือ

เสียงสัญญาณนกหวีดเรือ.jpg

๑. เพลง ธงขึ้น

ธงขึ้น.jpg

๒. เพลง ธงลง

ธงลง.jpg

๓. เพลง นายทหารขึ้นเรือ

นายทหารขึ้นเรือ.jpg

๔. เพลง นายทหารลงเรือ

นายทหารลงเรือ.jpg

๕. เพลง ปลุก

ปลุก.jpg

๖. เพลง เลิกงาน

เลิกงาน.jpg

๗. เพลง ประกาศ

ประกาศ.jpg

๘. เพลง หะเบส นิดหน่อย

หะเบส นิดหน่อย.jpg

๙. เพลง หะเรีย นิดหน่อย

หะเรีย นิดหน่อย.jpg

๑๐. เพลง หะเบส

หะเบส.jpg

๑๑. เพลง หะเรีย

หะเรีย.jpg

๑๒. เพลง รับประทานอาหาร

รับประทานอาหาร.jpg

๑๓. เพลง นอน

นอน.jpg

๑๔. เพลง เลิก ปล่อย

เลิก ปล่อย.jpg

๑๕. เพลง ผูก หยุด

ผูก หยุด.jpg

แหล่งที่มาของข้อมูล

  • น.ต.พิพัฒน์ โสภณ
  • ตำแหน่ง ครูฝึกการเรือ กองวิชาการเรือและเดินเรือ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
  • การติดต่อ โทร.53885

การปรับปรุงข้อมูล

  • เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๔ โดย นาวาโท สุพจน์ สุระอารีย์ ตำแหน่ง อนุกรรมการ และเลขานุการ K2 และอาจารย์ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ ช่วยปฏิบัติราชการ กองวิชาการเรือและเดินเรือ ฝ่ายศึกษา ฯ การติดต่อ โทร.53874 มือถือ 08 1827 2764
ตัวอย่าง​ภาพยนตร์​ฝรั่งที่ใช้นกหวีดเรือ
.... 

02 ธันวาคม 2556

การใช้ชีวิตเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ

... เมื่อปี พ.ศ. 2530 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ม.6 หรือบางคนอาจจบมาจากสายอาชีัพบ้าง การใช้ชีวิตที่ต้องดิ้นรนหาอาชีพเพื่อเลี้ยงชีวิต ได้เริ่มขึ้น การสอบเข้ารับราชการทหาร เป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กชาวบ้าน ได้รับการแนะนำมาว่า สามารถมีเงินเดือนเลี้ยงชีพ และมีอนาคต เด็กหนุ่มๆ จึงได้เดินทางมาสมัครสอบเพื่อเข้ารับราชการบ้าง เมื่อสอบผ่านข้อเขียน และทดสอบความสามารถของร่างกายแล้ว ในที่สุดผลสอบก็ประกาศมาให้เราได้มาเป็น "นักเรียนจ่าทหารเรือ" หลายคนไม่เคยรู้จักชีวิตทหารมาก่อน บางคนรู้จักแค่เรียน รด. น้อยคนนักที่รู้จักชีวิตและเส้นทางของ "จ่าทหารเรือ"
... ก็ "นักเรียนจ่าทหารเรือ" นั้น เป็นชีวิตของนักเรียนทหารชั้นประทวน เมื่อจบการศึกษา 1-2 ปี จะได้รับการประดับยศ "จ่าตรี"ประจำการในกองทัพเรือไทย ตามพรรคเหล่าที่ตนได้เลือกไว้
... เมื่อได้ก้าวมาในรั้วของกองทัพเรือไทยแล้ว วันแรกที่ต้องจากบ้าน จากพ่อแม่มา ทุกคนได้เข้ามาสู่รั้ว รร.ชุมพลทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี วันนี้ นรจ.30 จะต้องตัดผมเกรียน แต่รุ่นเราพิเศษกว่าเมื่อมีการโกนหัวในคนแรกๆ นรจ.30ใหม่ ก็ต้องได้รับการโกนหัวไปหมดคน(ภาษาชาวเรือ แปลว่า หมดทุกคน) ได้รับชุดทหารเรือ คือชุดกะลาสี และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เริ่มวันแรก ระเบียบวิันัยทหาร ต้องเข้ามาทันที มีการเรียกแถว สั่งทำโทษ และอบรมระเบียบวินัยทันที เพื่อเปลี่ยนบุคคลพลเรือนให้เป็นทหาร การใช้คำสั่งขู่ว่า "ถ้าทนไม่ไหว ก็ลาออกไป!! " เริ่มมีในการอบรมทำโทษของ นายทหารปกครอง ตลอดจนถึง นักเรียนปกครอง ซึ่งหมายถึงรุ่นพี่ที่ได้รับการแต่งตั้ง เพราะว่า เมื่อเราไปทำสัญญามอบตัวเป็นนรจ. สัญญาระบุชัดเจนว่า เมื่อยินยอมเข้ามาเป็น นรจ.แล้ว ถ้ามีการลาออกก่อน จะต้องเสียเงินค่าปรับ เป็นเงิน 5,000 บาท ซึ่งในสมัยนั้น เป็นมูลค่าที่สูงมากเพราะเมื่อจบเป็นจ่าตรี ได้รับเงินแค่เพียงเดือนละ 1,100 บาทเท่านั้น
... การฝึกภาคสาธารณะ ณ รร.ชุมพลฯ เป็นเวลา 1 เดือนนั้น ทุกพรรคเหล่า รวม นรจ.30 กว่า 1,100 คน ได้เข้ามาฝึกฝนวิชาการทหารเบื้องต้น เข้ามาสลายพฤติกรรมพลเรือน เข้ามารวมให้รู้จักกันทุกพรรคเหล่าในรุ่นเดียวกัน กิจกรรมที่ ผู้บังคับบัญชาตั้งไว้คือ พิธีการเดินสวนสนามของนักเรียนจ่าใหม่ จะต้องมีระเบียบ เพราะหากว่าการเดินสวนสนามไม่มีระเบียบแล้ว แถวจะไม่มีความเข้มแข็งสวยงาม นี่คือสิ่งที่ใช้วัดค่าความมีระเบียบของทหาร
... เมื่อจบจากภาคสาธารณะแล้ว ทุกพรรคเหล่า ก็ต่างแยกย้ายไปสู่ภาคอาชีพ ตามโรงเรียนของตนๆ นรจ.30 ไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราเพียง 19 นาย ได้เดินทางมาที่ รร.ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ กรมอู่ทหารเรือ(ในสมัยนั้น) ป้อมพระจุลจอมเกล้า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ได้เข้าร่วมศึกษาในการปกครองร่วมกับ นรจ. 30 อิเล็คทรอนิคส์ และ นรจ.30 สื่อสาร (ประกอบด้วย วิทยุ โซน่าร์ เรดาร์ ทัศนสัญญาณ) เป็นเวลาอีก 2 ปี หลักสูตร ก็ประกอบไปด้วย ระบบไฟฟ้าภาคพื้นดิน เพื่อรองรับหน่วยง่านที่มีสำนักงานบนพื้นดิน จึงเรียนเหมือนกับ ปวช. ปวส. ทั่วไป แต่พิเศษว่ามีการเรียนระบบไฟฟ้าภายในเรือร่วมด้วย และมีการฝึกภาคทะเล คือการลงไปใช้ชีวิตทหารเรือ บนเรือรบ มีการฝึกเดินเรือ ฝึกการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในเรือ ซึ่งขณะนั้นเป็นฤดูมรสุมในมหาสมุทร มีคลื่นลมในอ่าวไทยหลายลูก ทำให้รู้จักคำว่า"เมาเรือ" เป็นอย่างดี...
... ชีวิตภายในรั้ว ป้อมพระจุลฯ ก็คงไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก รุ่นพี่รุ่นน้องนัก คือ เช้าก็วิ่ง เย็นก็วิ่ง กินข้าวก็ขัดฉาก มุดโต๊ะ เช้าก็แถว เย็นก็แถว ก่อนนอนก็แถวอีก ผิดนิดผิดหน่อยก็"รับผิดชอบร่วมกัน .. ชั้น 1 ทุกคน..กอดคอ!! " คราวนี้ ก็เริ่มจาก ปั๋ม 10 ครั้ง แล้วก็ไปเรื่อยๆ กว่าจะครบในแต่ละแถวๆ ไม่ต่ำกว่าเป็นร้อย .... ไม่พร้อมกันบ้าง มีปฏิกิริยาบ้าง... ไปเรื่อย มีเรื่องเดียวก็ทำให้เป็นหลายเรื่องได้ โทษมันเยอะจัง... การทำโทษ ก็มีทั้ง วิดพื้น ปั๋ม พุ่งหลัง เหี้ยตะกายตึก ปล่อยม้า ม้วนหน้า สะพานโค้ง ที่แตกต่างจากที่อื่นหน่อย คือ "พุ่งหลังข้ามท่อ" มันแปลกกว่าเพราะ ที่นี่มีรางปูนระบายน้ำขนาดกว้าง 1 เมตร เป็นการไม่ให้ผู้ถูกทำโทษอู้ ต้องสั่งไปพุ่งหลังข้าม เพราะหากอู้แล้วขาจะตกลงท่อไปเจ็บตัวเปล่าๆ ก็มีอะไรที่ต้องให้อยู่ในวินัย และเพิ่มความเข้มแข็งของร่างกาย เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกสภาวะ เพราะทหารเมื่อจะออกรบหากไม่มีการเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาแล้ว ภาระกิจของชาติจะไปสำเร็จได้อย่างไร?? ไม่มีเรี่ยวแรง จะไปทำงานอะไรได้..
... เมื่อผ่านระยะเวลาไป 2 ปี เราทั้ง 17 นาย คือ ลาออกไป 1 และ ได้รับการเลื่อนไปเป็น นักเรียนนายเรือ 1 ก็จบการศึกษาได้รับการประดับยศ เป็นจ่าตรี และแยกย้ายไปประจำการตามหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือ..
.....
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
เครื่องหมายประดับยศ ทร.
เครื่องหมายพรรคเหล่า
เพลงวิ่งออกกำลังกาย
เสียงสัญญาณนกหวีดเรือ
สัญญาณระฆัง
ความหมายของไมล์ทะเล
กีฬาทหารเรือ
อุ้มหมูใส่เล้า
ม้าโรมัน
..ชมภาพชีวิตนักเรียนจ่าทหารเรือ>>

วันที่เราเข้ามาเริ่่มต้นชีวิต นรจ. 30
วันที่ได้ปล่อยกลับบ้านครั้งแรก
ใช้ชีวิตเพื่่อสามารถดำรงตนอยู่ในเรือให้ได้
พิธ๊สวนสนามนักเรียนจ่าใหม่ ภาคสาธารณะ
เป็นพิธีที่กระทำสืบต่อมานานแล้ว





ก่อนเข้าเรียน และหลังเลิกเรียน ต้องมีแถวหน้า รร.





















เครื่องหมายพรรคเหล่า ทหารเรือ(ชั้นประทวน)


ยศทหารเรือ


01 ธันวาคม 2556

โบ๊ต...อะฮอย ธรรมเนียมเก่าแก่ที่น่าสนใจของทหารเรือ



ทหารเรือ หรือชาวนาวีทั้งโลกต่างมีธรรมเนียมและประเพณีเก่าแก่มากมาย ที่ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นบรรพกาลจนถึงรุ่นปัจจุบัน ซึ่งจะว่าไปแล้ว ต้องถือว่าชาวนาวี เป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่รักษาแบบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิมโดยเคร่งครัด ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปตามคืนวันที่ผันผ่านมากน้อยสักเพียงใดก็ตาม
  หนึ่งในประเพณีการปฏิบัติของชาวนาวีที่จะขอนำมาเล่าขานให้ทุกท่านได้ทราบประดับความรู้ก็คือ ประเพณีการ “สอบถาม” ระหว่างเรือเล็กกับเรือใหญ่ในยามค่ำคืนด้วยการ้องตะโกนว่า “โบ๊ต...อะฮอย”
 โบ๊ต...อะฮอย เป็นภาษาทหารเรือ หมายถึงการสอบถามว่า เรือเล็กที่กำลังแล่นเข้ามาหาเรือใหญ่ที่ทิ้งสมออยู่กลางแม่น้ำหรือกลางทะเลเป็นเรือของใคร มีผู้ใดดดยสารมาบ้าง เพื่อที่คนบนเรือใหญ่จะได้เตรียมการได้อย่างถูกต้อง ว่าควรจะปฏิบัติหรือเตรียมการรับรองอย่างไร
  ผู้ที่จะต้องตะโกนถามคือ “ยามเรือจอด” ซึ่งก็คือ พลทหารทีเข้ายาม (ชาวบกเรียกว่า “อยู่เวรหรืออยู่ยาม”บริเวณหัวเรือท้ายเรือ หรือบริเวณบันไดขึ้นลงเรือ ซึ่งอยู่บริเวณกลางลำเรือ
 ยามคนใดที่มองเห็นเรือเล็กที่กำลังเคลื่อนที่ใกล้เข้ามาไม่ว่าจะด้วยการกระเชียง หรือใช้เครื่องยนต์ติดท้าย ยามคนนั้นจะต้องป้องปาก (นัยว่าเพื่อให้เสียงตะโกนไปได้ไกลขึ้น)แล้วร้องตะโกนด้วยเสียงที่ดังที่สุดในชีวิต (เพราะถ้าดังไม่พออาจถูกนายยามเล่นงานได้)
  สิ้นเสียงตะโกน “โบ๊ต...อะฮอย” คนตะโกนก็จะต้งอคอยฟังให้ดีว่าฝ่ายที่อยู่ในเรือเล็กจะตะโกนตอบมาว่าอย่างไร ซึ่งการตะโกนตอบคำถาม “โบ๊ต...อะฮอย” ก็เป็นขนบธรรมเนียมของทหารเรืออีกเช่นกัน
  ปกติแล้วถ้าบนเรือมีนายทหารสัญญาบัตรโดยสารมาด้วย คำตอบที่จะได้ยินก็คือ “อายส์ อายส์” ถ้าเป็นนายทหารชั้นนายพลคำตอบที่จะได้ยินก็คือ “เจนเนอรัล” และถ้ามีผู้บังคับการเรือลำใดโดยสารมาก็ให้ตอบชื่อเรือนั้นๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 โบ๊ต...อะฮอย
 ช้าง...ช้าง (ผู้บังคับการเรือหลางช้าง)
 โบ๊ต...อะฮอย
 อายส์...อายส์
 รู้ไว้แบบนี้แล้วเผื่อว่าน้องๆคนไหนจับผลัดจับผลูมีโอกาสได้นั่งเรือเล็กในเวลากลางคืน และได้ยินชาวนาวีตะโกนกันแปลกๆ คงจะหายสงสัย หรือถ้าอยากจะตะโกนด้วย ก็ไม่ผิดนะ

การเคารพด้วยนกหวีดเรือ

 นกหวีดเรือที่จ่ายามใช้ นั้น เป็นสิ่งที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นเครื่องประดับของบุคคลผู้มีอาชีพในทางทะเลอย่างหนึ่ง
     นกหวีดเรือหรือขลุ่ยในสมัยโบราณซึ่งทาสในเรือแกลเลย์ของกรีซและโรมเป็นคนกระเชียงนี้น ใช้สำหรับการบอกจังหวะกระเชียง ตามรายงานปรากฏว่านกหวีดเรือได้ใช้ในสงครามครูเสดในปี พ.ศ.๑๗๙๑ เมื่อคนถือหน้าไม้ชาวอังกฤษถูกเรียกขึ้นมาบนดาดฟ้าเพื่อให้ทำการยิงตามสัญญาณ
     ในสมัยหนึ่งนกหวีดเรือ ได้กลายเป็นเครื่องประดับสำหรับตำแหน่งราชการและในบางกรณีก็ใช้เป็นเครื่องประดับสำหรับเกียรติยศตามตำแหน่งด้วยเหมือนกัน จอมพลเรือมีนกหวีดทองคำผูกติดกับสร้อยห้อยคอ นกหวีดเรือทำด้วยเงินใช้สำหรับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุดทั้งหลายเป็นเครื่องหมายสำหรับราชการ หรือห้อย นกหวีดเงินที่คอเพิ่มจากนกหวีดทองคำเกียรติยศอีกด้วย นกหวีดเรือในปัจจุบันใช้สำหรับการเคารพและสำหรับบอกคำสั่งแก่ทหาร
     ในการรบที่นอกเมืองเบรสต์ เมื่อ ๒๕ เม.ย. พ.ศ.๒๐๕๖ ระหว่างเสอร์ เอดเวอร์ด โฮวาร์ด จอมพลเรือและบุตรเอิรล แห่งเชอร์เรย์ กับ เชอวาลีเอเปรตังต์ เดอ บีดูช์ เล่ากันว่า เมื่อจอมพลเรือแน่ใจว่าจะถูกจับเป็นเชลยแล้ว ท่านได้ขว้างนกหวีดทองคำลงทะเลไปแต่นกหวีดเงินซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการบังคับบัญชายังคงซ่อนอยู่ในตัวท่าน
     น้ำหนักถือเป็นเกณฑ์ของนกหวีดเกียรติยศ และชื่อส่วนต่าง ๆ ของนกหวีดนั้นพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ เป็นผู้ทรงตั้งขึ้น พระองค์ได้ออกกฤษฎีกาว่า นกหวีดจะต้องหนัก ๑๒ ฮูนส์ (Oons) ทองคำ ซึ่งคำว่าฮูนส์เป็นที่มาของคำว่า เอาช์ สร้อยที่ใช้ห้อยคอต้องทำด้วยทองคำเหมือนกันและจะต้องมีเนื้อทองของเหรียญดูกัต
     นอกจากนกหวีดจะใช้เป็นเครื่องประดับสำหรับตำแหน่งในทางการและสำหรับนายทหารใช้เมื่อออกคำสั่งเอง ยังใช้สำหรับการรับรองบุคคลชั้นสูงอีกด้วย
     การที่ทหารมาแถวที่ข้างกราบเรือ ตามที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ สืบเนื่องแต่กาลก่อนการเป่านกหวีดเรือเคารพพร้อมด้วยยามยืนรับรอง จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
     ประเพณีในสมัยเรือใบนั้น ย่อมจัดให้มีการประชุมกันในเรือธง และเพื่อที่จะเชื้อเชิญนายทหารไปรับประทานอาการร่วมกันขณะที่เรือจอดอยู่ในทะเล ในเมื่อโอกาสอำนวยบางครั้งอากาศทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องชักผู้ที่เชิญมานั้นขึ้นทางเก้าอี้จ่ายาม โดยใช้นกหวีดเรือเป่าบอกเพลงชักขึ้นหรือหย่อนลงมา (หะเบส หรือ หะเรีย) เนื่องจากทหารประจำเรือต้องคอยชักคนขึ้นเรือนี้เอง และด้วยการที่เขามาร่วมกันข้างเรือ จึงทำให้เกิดประเพณีที่จะต้องมาคอยต้อนรับขึ้น ต่อมาก็เลยกลายเป็นมารยาทของชายเรือไปในอันที่จะต้องกระทำในราชนาวีอังกฤษเมื่อได้รับรายงานว่าผู้บังคับการเรือมาใกล้จะถึงเรือ นายยามจะออกคำสั่ง “Hoist him in” ซึ่งแปลว่า ชักเขาขึ้นมาบนเรือ


  มีนิทานท้ายเรือ ซึ่งไม่ยืนยันว่าจะเป็นความจริงเพียงใด เล่าว่าเมื่ออังกฤษทำสงครามกับฝรั่งเศสในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ในการยุทธ์ที่เกาะเซนต์ นายพลเรือรอดนีย์เป็นแม่ทัพเรือและได้ชัยชนะ วันหนึ่งทางฝ่ายบ้านเมืองได้จัดให้มีการเลี้ยงฉลองชัยชนะแก่กองทัพเรือ บรรดานายทหารในกองทัพเรือทั้งหมดได้รับเชิญไปในงาน เนื่องจากการดื่มอวยพรครั้งแล้วครั้งเล่า ในเวลากลับนายทหารจึงต้องช่วยท่านแม่ทัพในการลงเรือเล็ก ประกอบกับวันนั้นอากาศไม่ดีคลื่นจัดลมแรง เมื่อกลับถึงเรือคนอื่นต่างต้องฝ่าอันตรายช่วยตัวเองในการขึ้นเรือ แต่ท่านแม่ทัพ แม้จะทำการใหญ่สำเร็จแล้ว ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ผู้บังคับการเรือจึงให้สั่งให้นำเรือโบตไปที่หลักเดวิท และชักเอาร่างของท่านแม่ทัพขึ้นทางนั้น
     รุ่งขึ้นท่าแม่ทัพได้ทราบความ จึงมีคำสั่งไปยังเรือทั้งหลายในกองเรือนั้นว่า “ถ้านายพลจะขึ้นมาบนเรือ ให้เป่านกหวีดเพลงสัญญาชักขึ้น เพื่อเป็นการเคารพ ๑ จบ” ครั้นต่อมาเมื่อเห็นว่าโดยที่การขึ้นเรือนกหวีดเรือ ได้เป่าเพลงคำนับแล้ว เมื่อไปจากเรือก็ควรได้รับการเคารพเช่นเดียวกัน จึงได้มีคำสั่งอีกว่า “เมื่อนายพลจะไปจากเรือให้เป่านกหวีดเพลงหย่อนลงเพื่อเป็นการเคารพอีกจบหนึ่ง” ตามที่เล่ามานี้จึงเป็นอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นที่มาของประเพณีการเคารพนกหวีดเรือ
     การรับรองที่บันไดเรือในปัจจุบันนี้ เป็นมารยาทที่นิยมกันในระหว่างชาวเรือ แต่ในสหรัฐนาวีได้ขยายออกไปถึงทหารบก ทูต และ กงสุล และเจ้าหน้าที่ในแผนกนิติบัญญัติและเจ้าหน้าที่บริหารของรัฐด้วย ซึ่งเป็นประเพณีเช่นเดียวกับราชนาวีไทย
     แม้จะมีประเพณีดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ดี สำหรับนายทหารเรือในนาวีด้วยกัน ผู้ที่จะได้รับการเคารพด้วยนกหวีดเรือนั้น ทุกนาวีย่อมกระทำแก่ผู้บังคับการเรือทุกคนไม่ว่าจะมียศชั้นใดและนายทหารตั้งแต่ชั้นนายนาวาขึ้นไป แต่ถ้าเป็นนายทหารต่างประเทศแล้วไม่ว่าจะมียศชั้นใดย่อมได้รับการเคารพด้วยนกหวีดเรือเสมอไป
แหล่งที่มา : เอกสารระเบียบประเพณีทหารเรือของกองทัพเรือ