หมวดหมู่

27 พฤษภาคม 2563

มาตราชั่ง ตวง

ใส่ค่าน้ำหนักที่ต้องการทราบ =
 
เลือกหน่วยน้ำหนัก  


  กรัม
หรือต้องการแปลงค่าให้เป็นหน่วย
 
เลือกหน่วยน้ำหนัก
  
ค่าระยะที่ต้องการทราบ =
หน่วยทองคำ
  สลึงทองรูปพรรณ​
  บาททองรูปพรรณ​
  สลึงทองคำแท่ง
  บาททองคำ​แท่ง​
  ทรอยด์ออนซ์​
หน่วยวัดเพชรพลอย
  กะรัต
หน่วยไทย
  สตางค์​​
  ไพ
  เฟื่อง
  สลึง
  บาท
  ตำลึง
  ชั่ง
  หาบ
หน่วยเมตริก
  มิลลิกรัม(ม.ก.)
  เซนติกรัม(ซ.ก.)
  เดซิกรัม(เด.ก.)
  กรัม(ก.)
  เดคากรัม(ด.ก.)
  เฮกโตกรัม(ฮ.ก.)/ขีด
  กิโลกรัม(ก.ก.)
หน่วยอังกฤษ​
  ออนซ์​
  ปอนด์​
  สโตน
  ฮันเดรตเวท
  ตัน
หน่วยตวงอังกฤษ​
  ช้อนชา
  ช้อนโต๊ะ​
  ถ้วยตวง
  ไพน์
  ควอท
  แกลลอน

====
เครื่องชั่งสมัยเก่า
เครื่องตวงข้าวสารสมัยโบราณ
เครื่องตวงน้ำมัน
**ขอบคุณ​รูปภาพ​จากในอินเทอร์เน็ตทุกภาพ
-การแปลงน้ำหนักทองคำ
 - ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5%
(มาตรฐานในประเทศไทย)
 ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท (Baht) = 15.16 กรัม (Grams)
 ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท (Baht) = 15.244 กรัม (Grams)
 ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 65.6 บาท
 - ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
 ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 32.148 ทรอยออนซ์ (Troy Ounces)
 ทองคำ 1 ทรอยออนซ์ (Troy Ounce) = 31.1034768 กรัม (Grams)
 ทองคำ 1 กิโลกรัม (Kilogram) = 65.6 บาท
====
เปอร์เซ็นต์ทองคำแท่งมาตรฐาน
 99.99% ซื้อขายเป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก
 99.9% ซื้อขายในประเทศอินเดีย
 99.5% ซื้อขายในประเทศแถบตะวันออกกลาง
 99.0% ซื้อขายเฉพาะในประเทศฮ่องกง
 96.5% ซื้อขายเฉพาะในประเทศไทย
====
 มาตราชั่งเพชรพลอย
 1 กะรัต = 20 เซนติกรัม หรือ 200 มิลลิกรัม
====
 มาตราน้ำหนักไทยเทียบเมตริก
 1 สลึง = 3.75 กรัม
 1 บาท = 15 กรัม
 1 ชั่ง = 1.2 กิโลกรัม
 1 หาบ = 60 กิโลกรัม
====
มาตรชั่งน้ำหนักไทย
(100 สตางค์​ เป็น 1 บาท)
 3 ไพ เป็น 1 เฟื่อง
 2 เฟื่อง เป็น 1 สลึง
 4 สลึง เป็น 1 บาท
 4 บาท เป็น 1 ตำลึง
 20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
 50 ชั่ง เป็น 1 หาบ
====
 มาตราตวงความจุไทย
 20 ทะนาน เป็น 1 ถัง
 25 ทะนาน เป็น 1 สัด
 50 ถัง เป็น 1 บั้น
 2 บั้น (100 ถัง) เป็น 1 เกวียน
====
มาตราตวงไทยเทียบเมตริก
 1 ทะนานหลวง = 1 ลิตร
 1 ถังหลวง = 20 ลิตร
 1 สัดหลวง = 25 ลิตร
 1 บั้นหลวง = 1000 ลิตร
 1 เกวียนหลวง = 2000 ลิตร
 ====
 เทียบมาตราตวงความจุเมตริก-ไทย
 1 ลิตร = 1 ทะนาน
 20 ลิตร = 1 ถัง
 25 ลิตร = 1 สัด
 1 กิโลลิตร = 1 บั้น
 2 กิโลลิตร = 1 เกวียน
 2,000 ลิตร = 1 เกวียน
 ----------
มาตรา ชั่ง ตวง วัด

 มาตราชั่งระบบเมตริก
 10 มิลลิกรัม = 1 เซนติกรัม
 10 เซนติกรัม = 1 เดซิกรัม
 10 เดซิกรัม = 1 กรัม
 10 กรัม = 1 เดคากรัม
 10 เดคากรัม = 1 เฮกโตกรัม(ขีด-ตราชั่ง)
 10 เฮกโตกรัม = 1 กิโลกรัม
.....​
  <->1,000 กรัม = 1 กิโลกรัม
<->  100 เซนติกรัม = 1 กรัม 
<->====
มาตราชั่งตวง 
<-> 3 ช้อนชา (ช้อนชา) = 1 ช้อนโต๊ะ 
<-> 2 ช้อนโต๊ะ = 1/8 ถ้วยตวง
<-> 4 ช้อนโต๊ะ = 1/4 ถ้วยตวง 
<-> 8 ช้อนโต๊ะ = 1/2 ถ้วย
<-> 12 ช้อนโต๊ะ = 3/4 ถ้วยตวง 
<-> 16 ช้อนโต๊ะ = 1 ถ้วยตวง 
<-> 8 ออนซ์ = 1 ถ้วย 
<-> 1 ปอนด์ = 454 กรัม หรือ 16 ออนซ์
<-> 2.2 ปอนด์ = 1 กิโลกรัม
<-> 1 ไพน์ = 2 ถ้วย 
<-> 1 ควอท = 4 ถ้วย 
<-> 1 แกลลอน = 4 ควอท 
<-> 1 ออนซ์ (ของเหลว) = 2 ช้อนโต๊ะ 
<-> 1 ถ้วย = 8 ออนซ์ 
<-> 1 ออนซ์ (ของแห้ง) = 283 กรัม
<->====
มาตราชั่ง
 16 ออนซ์ = 1 ปอนด์
 14 ปอนด์ = 1 สโตน
 112 ปอนด์ = 1 ฮันเดรตเวท
 20 ฮันเดรตเวท = 1 ตัน
 1 ตัน = 1000 กิโลกรัม
<->
====
<->
<->มาตราชั่ง ตวงมีหลายมาตรา เช่น มาตราเมตริก (Metricsystems) และ มาตราอังกฤษ (English systems) สำหรับประเทศไทย นิยมใช้มาตราชั่งตวงในระบบเมตริก ดังนั้นสูตรต่างๆ ที่ใช้เป็นหน่วยของมาตราเมตริกเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตควรจะเรียนรู้วิธีการเปรียบเทียบมาตราชั่ง ตวงต่างระบบกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตอาจมีสูตรพื้นฐานในมาตราหน่วยอื่นๆ ซึ่งต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในหน่วยที่จะสามารถชั่งตวงได้อย่างสะดวก

====
มาตราการตวง

มาตราชั่ง มาตราเมตริก
1 กิโลกรัม (kilogram, kg) = 1000 กรัม (gram, g)

1 กรัม = 1000 มิลลิกรัม (milligram, mg)

1 กิโลกรัม = 10 ขีด (หรือ 10 ขีด เท่ากับ 1 กิโลกรัม)

1 ขีด = 100 กรัม

====
มาตราอังกฤษ (Avoirdupois)
1 ปอนด์ (pound lb) = 16 ออนซ์ (ounce.oz.)

1 ออนซ์ = 437.5 เกรน (grain. gr)

เปรียบเทียบมาตราเมตริก กับ อังกฤษ
1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์

1 ปอนด์ = 454.0 กรัม

1 ออนซ์ = 28.4 กรัม

มาตราตวง มาตราเมตริก
1 ลิตร (liter , l) = 1000 มิลลิลิตร (milliliter , ml)

1 มิลลิลิตร = 1 ซีซี (c.c.)

====
การเปรียบเทียบมาตรา
1 แกลลอน (British Imperial) = 4.55 ลิตร

1 แกลลอน (US Liquid Measure) = 3.79 ลิตร

1 แกลลอน (US Liquid Measure) = 4 ควอท

1 ควอท = 2 ไพน์ (pint)

1 ไพน์ = 2 ถ้วย

1 ถ้วย (fluidounce, Fluid oz.) = 8 ออนซ์

1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 2 ช้อนโต๊ะ (ช.ต.)

1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 30 มิลลิลิตร

1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา (ช.ช.)

1 ช้อนโต๊ะ = 15 มิลลิลิตร

1 ช้อนชา = 5 มิลลิลิตร

ข้อควรระวัง
1. หน่วย ช้อนโต๊ะและช้อนชา ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหาร หรือช้อนชาที่ใช้ชงกาแฟ ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหารนั้นจะมีปริมาตรบรรจุเพียง 8-15 มิลลิลิตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของช้อน) และช้อนชาที่ชงกาแฟจะมีขนาดเพียง 3 มิลลิลิตร เท่านั้น ดังนั้นควรใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้สำหรับการตวงโดยเฉพาะ โดยอาจใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้ทำอาหารทดแทนกันได้

2. หน่วยของออนซ์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งหน่วยของน้ำหนัก (เป็น oz.) และหน่วยของปริมาตร (เป็น Fluid oz.) ซึ่งมีค่าไม่เท่ากัน และไม่ควรใช้สลับกัน

3. หน่วยของแกลลอน ก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ อังกฤษ และอเมริกาซึ่งก็มีปริมาตรที่ต่างกันอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.archeep.com
<->====

มาตราตวงข้าวของไทยในสมัยโบราณมีหลายขนาด เช่น ทะนาน ถัง สัด เกวียน ทะนาน
หมายถึง ปริมาณข้าวที่ใช้ทะนานตักหรือตวง.
ทะนานเป็นกะโหลกมะพร้าวที่ตัดส่วนตันหรือส่วนที่ไม่มีรูออก
โบราณกำหนดว่า ๒๐ ทะนาน มีปริมาณเท่ากับ ๑ ถัง
และ ๒๕ ทะนานเท่ากับ ๑ สัด
 ถัง หมายถึง ปริมาณข้าวที่ใช้ถังเป็นเครื่องตวง
ถังเป็นภาชนะทรงกระบอกที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ
กำหนดจำนวน ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน
 ปัจจุบันกำหนดให้ข้าว ๑ ถัง มีน้ำหนักเท่ากับ ๑๕ กิโลกรัม
 สัด หมายถึง ปริมาณข้าวที่ใช้สัดเป็นเครื่องตวง
 สัดเป็นภาชนะรูปทรงกระบอกทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่
กำหนดปริมาณ ๑ สัด เท่ากับ ๒๕ ทะนาน
 เกวียน หมายถึง ปริมาณข้าวที่บรรจุในเกวียน
เกวียน คือ ยานพาหนะมีล้อ ๒ ล้อ ใช้วัวหรือควายเทียม
กำหนดปริมาณข้าว ๑ เกวียน เท่ากับ ๑๐๐ ถังหรือ ๘๐ สัด

 ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น