26 เมษายน 2557

เรื่องชวนรู้ระบบไฟฟ้า


ไฟฟ้า พลังงานที่ต้องเรียนรู้เพื่อป้องกัน
      การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกต้อง ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง  อันตรายจากไฟฟ้ามิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว การทำงาน หรือเดินผ่านบริเวณที่มีพลังงานไฟฟ้า ย่อมมีอันตรายแฝงอยู่ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้า

case111.gif        9550.jpg
อันตรายจากไฟฟ้า      พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ อันตรายที่คนทั่วไปได้ยินได้ฟังมี สาเหตุใหญ่ คือ ไฟฟ้าซอร์ท และไฟฟ้าดูด ทั้งสองกรณี มีสาเหตุการเกิดที่ ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกัน
      1. ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit)  เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าลัดวงจร  ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (LOAD) 
การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ  สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง  การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ
        1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
        1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้
        1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย
     Electric-Shock-2.gif
ลักษณะการลัดวงจร  ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ลักษณะการเกิดและความเสียหาย ก็จะมีความแตกต่างกัน คือ
      1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด หรือ จากการสัมผัสกัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย
      2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพื้นดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพื้นดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำ ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน
ผลของไฟฟ้าชอร์ต 
      ในกรณีที่กระแสไหลในสายไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทำให้ความร้อนเกิดขึ้นใน สายตัวนำ หลายครั้ง จะทำให้เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าและส่งผลให้สายตัวนำไฟฟ้าสัมผัส กันเกิดเป็นประกายไฟฟ้า และทำให้ฉนวน ที่หลอมละลายลุกไหม้ขึ้นมา ส่วนสายตัวนำที่สัมผัสหรือลัดวงจรกันนั้นก็จะเกิดการสะบัดตัว กระจายเปลวไฟที่กำลังลุก ไหม้ขยายวงออกไป หากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณนั้นก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรงในกรณีหากเกิดขึ้นในบริเวณ ของโรงพยาบาล ที่เป็นโซนก๊าซติดไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร โดยการ ดูแลเครื่องใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้านั้นต้องมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มีการใช้กระแสไฟเต็มที่ยิ่งเป็นการดี หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ หากมีเหตุจากการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานมาก ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสที่ถูกต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน ความร้อนจากสภาพแวดล้อมก็ทำให้ สายแตกปริ หลุดร่อนออกได้แนวโน้มที่จะเกิดประกายไฟตรงบริเวณที่ฉนวนหลุดร่อนย่อมมีสูงในระบบไฟฟ้าแรงสูง เมื่อสาย ไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน ระบบป้องกันไม่ตัดวงจร อาจก่ออันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้
แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร      (1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เมื่อฟิวส์ขาดต้อง ใช้ขนาดเดิมไม่ควรใช้ ขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือดัดแปลงใช้วัสดุตัวนำอื่นมาทดแทน
      (2) ตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อพบว่าชำรุดควรรีบซ่อมบำรุง โดยเฉพาะไฟฟ้า ที่ฉนวนชำรุด
      (3) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ
      (4) เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ม.อ.ก.)
      (5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
           2. ไฟฟ้าดูด(Electric Shock) เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ
               2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)
               2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด
 ElectrocutionBen450px.gif

ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย

      อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่าง กายของบุคคล ตามที่ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน จากการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม่จำกัดเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) เป็นไปตามตารางที่ 1
      กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สูง หากร่างกายมีความต้านทานต่ำ ร่างกายที่เปียกชื้นจะมีความต้านทานต่ำ เมื่อไฟฟ้าดูดจึงมีอันตรายสูง ดังนั้นขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จึงไม่ควรสัมผัสกับตัว อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการดี และเป็นข้อห้าม ปฏิบัติทางไฟฟ้าด้วย
ขนาดของกระแสอาการที่เกิด
น้อยกว่า 1 mA.ไม่รู้สึกตัวว่าถูกดูด ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
มากกว่า 5 mAรู้สึกว่าร่างกายผิดปกติถูกดูด  เกิดความเจ็บปวด  ประสาทสามารถรับรู้ได้และสามารถสลัดให้หลุดจากไฟดูดได้
มากกว่า 10 mAรู้สึกถึงกระแสไฟฟ้าดูด  กล้ามเนื้อในส่วนที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดหรือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการหดตัวและเกิดความเจ็บปวด ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ ไม่สามารถดิ้นให้หลุดได้หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 2 นาที  อาจเสียชีวิตได้
มากกว่า 15 mAรู้สึกถึงความเจ็บปวดของไฟฟ้าดูด  รู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาจจะไม่สามารถดิ้นให้หลุดได้  ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 1 นาที  อาจเสียชีวิตได้
มากกว่า 30 mAระบบหายใจติดขัดและสามารถทำให้หมดสติได้ ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 35 วินาที  อาจเสียชีวิตได้
50 - 200 mAขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ  หัวใจอาจหยุดเต้นภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 3 วินาที  อาจเสียชีวิตได้
มากกว่า 200 mAผิวหนังบริเวณที่ถูกไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าดูดเป็นรอยไหม้  และหัวใจอาจหยุดเต้น  ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าดูดนาน ๆ หรือช่วยเหลือได้ไม่ทันภายในเวลา 0.1 วินาที  อาจเสียชีวิตได้
 1 A  ขึ้นไปผิวหนังบริเวณที่ถูกไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลาย และหัวใจอาจหยุดเต้นภายในระยะเวลา 0.03 วินาที

ปัจจัยความรุนแรงของไฟฟ้าดูด
      เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของอันตราย เท่านั้นความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญ ที่มีผลต่อความรุนแรง มี 3 อย่าง คือ
      1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมีอันตรายมากกว่าแรงดันต่ำ
      2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
      3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
ไฟฟ้าดูดป้องกันได้      หลักพื้นฐานของการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด คือการไม่ไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางไฟฟ้า ก็จะมีต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเรามีความจำเป็นต้องสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผัส ขณะที่เปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียก ว่าการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้องโดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่านั้นจึงจะได้ผล เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วเครื่องป้องกันกระแสเกิน(ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)จะทำงาน ตัดเครื่องใช้ ไฟฟ้า ออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟฟ้า การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว จะสามารถป้องกันอันตราย จากไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน แต่ในการใช้งานต้องมั่นใจว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานเป็นปกติตามที่ได้ออกแบบไว้ เนื่องจาก เครื่องตัดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นเดียวกันย่อมต้องมีการขัดข้องชำรุดเกิดขึ้นได้เช่นกัน จึงต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบตามระยะเวลา หรือตามข้อกำหนดที่ผู้ผลิตระบุ เครื่องตัดไฟรั่วจึงเป็นเพียงอุปกรณ์เสริม เท่านั้น ในการติดตั้ง ใช้งาน จึงต้องติดตั้งระบบสายดินให้กับตัวมันด้วย ไฟฟ้าแรงสูง เมื่อเข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้ โดยที่ยังไม่ต้องสัมผัส ผู้ที่ต้องทำงาน กับไฟฟ้าแรงสูง
น่าติดตามเรื่องระบบไฟฟ้า
http://www.tatc.ac.th/external_newsblog.php?links=433

16 เมษายน 2557

ชีวิตในรั้วนักเรียนจ่าทหารเรือ

-จากเรื่องราวของ.. การใช้ชีวิตเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ..นั้นดูจะได้รับความสนใจจากหลายๆท้่าน จึงขอนำเอาสภาพความทรงจำชีวิตในรั้ว รร.ชุมพลทหารเรือ และ รร.ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค ป้อมพระจุลจอมเกล้า มาเสนอเพิ่มเติมต่อไป ..อันว่าชีวิตของผู้มีหน้าที่ปกป้องอธิปัตไตยให้แก่ประเทศชาติและพระราชานั้น จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เด็ดเดียว สุขุม เยือกเย็น เด็ดขาด แน่นอน มีระเบีบียบ วินัย กล้าหาญ อดทน เชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เพื่ิอให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งกองทัพ ด้วยว่า พระราชาในสมัยก่อน เป็นผู้นำกองทัพด้วยตนเอง มีแม่ทัพนายกอง หัวหมู่ต่างๆ ตลอดจนถึงทหารแนวหน้ากล้าตายทั้งหลาย เป็นกองทัพอันเกรียงไกรสมพระเกียรติยศพระราชา ดังนั้นบรรดานายทหารระดับสูงจนถึงพลทหารแนวหน้า ต้องกล้าตายเช่นดั่งพระราชาในอดีต เช่นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านก็มีนายทหารเอกคู่พระทัย เป็นผู้นำทัพแทนพระองค์ได้ในทุกสนามรบ คือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั่นเอง ..หากเรามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นได้ว่าทั้งสองพระองค์ท่านก็ต้องใช้ชีวิตไต่เต้ามาจากข้าราชการชั้นผู้น้อยมาก่อนเช่นกัน ก่อนจะใช้ชีวิตเป็นเจ้าแผ่นดินปกครองอาณาไพร่ฟ้าประชาชน ท่านก็ต้องเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองของแม่ทัพนายกองต่างๆมาก่อนเช่นกัน ท่านจึงต้องเป็นผู้มีความอดทน อดกลั้นต่อบรรดาคำสั่งต่างๆจากเบื้องบนมาก่อนทั้งสิ้น จึงต้องเข้าใจชีวิตการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา.. ..ที่อารัมภบทมาก่อนนั้น เพื่อให้เห็นภาพว่า เราเข้ามาใช้ชีวิตการเป็นนายทหารชั้นประทวน ปกครองพลทหาร และอยู่ใต้การปกครองของนายทหารสัญญาบัตร ในขณะอานุยุรุ่นราวคราวเดียวกัน เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงที่จะทำงานร่วมกัน ..ชีวิตของเด็กวัยรุ่นหนุ่ม กำลังกล้าแข็งต้องถูกฝึกฝนให้ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างคล่องแคล่วว่ิองไว ต้องอดทนต่อสถานการณ์อันเลวร้าย และยากจะฝ่าฟันให้ผ่านพ้นไปได้ ฉะนั้นการฝึกให้ร่างกายเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดพละกำลังในการต่อสู้ มีปฏิภาณไหวพริบในการใช้ปัญญาแก้ไขให้อุปสรรคผ่านพ้นไปได้อย่างปลอดภัย เพราะทหารทำงานที่เสี่ยงต่อความเป็นความตายของชีวิต ทุกวินาที ต้องมีสติสัมปชัญญะ ในการใช้อาวุธอย่างถูกต้อง เชื่อฟังและเคารพในคำสั่งของผู้บังคับบัญชา .. นักเรียนจ่าทหารเรือก็เช่นกัน ไม่ว่าเราจะอยู่ในพรรคเหล่าอะไรก็ตาม ความพร้อมทางร่างกายต้องแข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมเข้าสู่สนามรบอย่างทันท่วงที เมื่อเริ่มต้นวันแรกที่เราสะพายกระเป๋าเสื้อผ้าเข้ามาในรั้ว รร.ชุมพลทหารเรือ ในวันแรกของภาคสาธารณะ เราก็ต้องถูกทำโทษด้วยการวิดพื้น ปั๊ม พุ่งหลัง ตามมาด้วย ฮาโล่ เหี้ยตะกายตึก ฯลฯ ในวันต่อๆมา เพื่อให้เรารู้จักเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และให้เรารู้จักระเบียบวินัย คือสอนแบบปฏิบัติไปด้วยในตัว เราจึงจบออกไปอย่างทหารผู้มีระเบียบวินัย เข้มแข็ง และอดทนต่อสถานการณ์อันยากลำบาก ทำให้ภาระกิจของกองทัพและประเทศชาติมีความสำเร็จได้เพราะกำลังจากพวกเรา ..ในภาคสาธารณะนี้ ทุกพรรคเหล่า ต้องมาใช้ชีวิตอยู่อย่างคละกันทุกพรรคเหล่า ถูกจัดให้มากินมานอนและใช้ชีวิตร่วมกันเป็น ตอน ภาค กราบ(เรือ)การจัดการปกครองเช่นนี้ทำให้เมื่อจบมา พรรคเหล่าอื่นๆที่ต้องทำงานร่วมกัน สามารถผสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเคยกอดคอถูกทำโทษมาด้วยกัน นำมาพูดคุยเป็นตำนานความลำบากยากเข็น อาบเหงื่อต่างน้ำมาด้วยกัน มันเป็นความประทับใจที่ผู้ผ่านมาด้วยกันยากจะลืมไปจนวันตาย การเรียนในภาคนี้ เราถูกฝึกให้ต้องปรับตัวจากพลเรือน มาเป็นทหารอาชีพ เป็นหัวหน้าหมู่พลทหาร รู้จักการออกคำสั่งแก่พลทหาร และรับคำสั่งจากนายทหาร เราจึงถูกฝึกให้มีระเบียบวินัย ด้วยการฝึกการสวนสนาม การวิ่งออกกำลังกาย การใช้ชีวิตแบบทหารเรือ เช่นการใช้เรือกรรเชียงจากเรือใหญ่เข้าหาฝั่ง การใช้ลูกดิ่งวัดความลึกในทะเล การใช้เชือกผูกสิ่งของ และเรือ และสิ่งต่างๆที่เป็นรายละเอียดที่สำคัญปลีกย่อยอีกมาก เช่น เรียนและฝึก สัญญาณระฆัง สัญญาณนกหวีดเรือ,ธง,เสาธง,เครื่องหมายพรรคเหล่า,ยศ และอื่นๆที่เป็นรายละเอียดที่ต้องเข้าไปศึกษาจึงทราบได้ ..เมื่อจบจากภาคสาธารณะแล้ว รุ่นเราก็ต่างแยกย้ายเข้ารร.ภาคอาชีพ ของแต่ละพรรคเหล่าจะต่างสถานที่ และเวลาของการเรียนก็ต้่างกันไป แต่พรรคพิเศษช่างยุทธโยธาเหล่าไฟฟ้าของเราทั้ง19นาย(ขณะแรกเข้า) คือ รร.ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ กรมอู่ทหารเรือ(ในขณะนั้น) สถานที่เรียนร่วมกับ รร.สื่อสารทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้า แหลมฟ้าผ่า พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ได้มาศึกษาระบบไฟฟ้าทั้งในเรือ และบนบก แต่เน้นไฟฟ้าบนบกมากกว่า เพราะจบแล้วมาเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าในหน่วยงานกองทัพเรือทั่วไป แต่การฝึกฝนเรื่องระเบียบวินัย ก็ยังไม่ลดละตลอด 2 ปียังต้องถูกทำโทษตลอดเกือบทุกวัน จนพวกเราจบหลักสูตร ได้รับการประดับยศจ่าตรี รับเงินเดือน และสิทธิของข้าราชการประจำ ในระดับนายทหารชั้นประทวน และแยกย้ายไปประจำตำแหน่งในกองทัพเรือ ทำหน้าที่ในกองทัพและประเทศชาติให้สมบูรณ์ สืบต่อไป

14 เมษายน 2557

หมู่เกาะอ่างทอง

..เมื่อรล.(เรือรบหลวง)ช้าง ไม่สามารถทนคลื่นลมในอ่าวไทย ที่จะทอดสมอ ณ หาดทรายรี จ.ชุมพรได้ในเช้าวันนั้น ผู้บังคับการเรือ และต้นเรือ จึงมีคำสั่งให้ถอนสมอ และนำเรือเล่นไปจอดหลบคลื่นลม ณ หมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งในบริเวณ หมู่เกาะอ่างทองนี้ อยู่ไม่ไกลจากหาดทรายรีมาก และเป็นที่ๆเหมาะสมแก่การหลบคลื่นลมมรสุมได้อย่างดี มีเกาะล้อมรอบกันเป็นกลุ่ม กำยังลมในหลายทิศทาง เมื่อเราได้เดินทางมาจอดเรือ ทอดสมอแล้ว ดูเหมือนว่าทะเลโหดร้ายต่างกันลิบทีเดียว ..เมื่อเรือจอดทอดสมอแล้ว การฝึกภาคทะเลยามเรือจอด ก็เริ่มต้นขึ้นอย่างเข้มข้นทุกวัน แต่ก็ยังมีโอกาสได้สัมผัสถึงบรรยากาศ ท้องทะเล ชายหาด และทะเลน้ำจืดบนเกาะแห่งนี้ด้วย นี่แหละที่เป็นความพิเศษนอกตารางการฝึก ที่ไม่เหมือนกันของ พรรคเหล่า และรุ่นอื่นๆ

13 เมษายน 2557

หาดทรายรี จ.ชุมพร


ขณะฝึกภาคทะเล ของเรานักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่น ๓๐ เหล่า ไฟฟ้า, อิเล็คทรอนิคส์ และพลาธิการ โดยใช้เรือรบหลวงช้าง เป็นเรือแบบใช้ในการยกพลขึ้นบก เป็นเรือฝึกในครั้งนี้เพียงลำเดียว เมื่อออกทะเลจากอู่ป้อมพระจุลจอมเกล้า มาพักที่ฐานทัพเรือสัตหีบ หลังจากได้วิ่งปล่อยม้าขึ้นเขากรมหลวงที่แหลมเทียน เราก็เริ่มออกเดินเรือตัดข้ามอ่าวไทย มาถึงยังหาดทรายรี ประมาณตี 4-5 ขณะนั้น คลื่นลมไม่สงบ เรือโคลงไปทั้งลำอย่างแรง ทอดสมอแล้ว แต่สมอเกา คือสมอครูดกับพื้นท้องทะเล ไม่สามารถยึดต๋งให้เรืออยู่นิ่งได้ ผู้บังคับการเรือ จึงสั่งให้ถอนสมออิกเรือไปหลบที่หมู่เกาะอ่างทองต่อไป จึงนำภาพมาให้ชมเพื่อระลึกถึงวันเก่าๆ

11 เมษายน 2557

ภัยจากไฟฟ้าแรงสูง อันเกิดจากความเอาแต่ใจของผู้ใช้ไฟ


:: แชร์ภาพข่าวเก่า มาเล่าใหม่..เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกๆคนค่รับ อย่าไปด่าพนักงานไฟฟ้ามากเมื่อไฟดับ เพราะพวกคุณอาจเป็นต้นเหตุให้พวกเขาตายก็ได้.... 
:: สาเหตุมีอยู่ว่า..เมื่อ 2 ปีก่อนผมเข้าเวรเวลาประมาณสี่ทุ่มกว่าๆ มีโทรศัพท์แจ้งมากว่าไฟดับ พนักงานไปดูหน้างาน ตรวจดูแล้วพบว่า หม้อแปลงพัง จากลักษณะประเมินแล้วว่ามัน อันตรายเกินไปที่จะ ทำการเปลี่ยนหม้อแปลงในตอน กลางคืน แต่มีชาวบ้านโทรมา ด่าว่า การไฟฟ้าทำไมไม่มาทำ ให้ไฟติด รู้ว่าไหมว่ามี หมอลำซิ่ง ชาวบ้านกำลังสนุก น้องพนักงานหน้างานโทรมาหาผม ผมๆก็ตอบไปว่า ต้องถามร้อยเวรก่อน (เดี๋ยวนี้เขาเรียก EO ไม่มีร้อยเวรแล้ว) เพราะพี่แกบอกว่ามัน อัตรายเกินไป คงต้องเป็นตอนเช้า ซึ่งประเมินแล้วว่า ตอนนี้ไฟดับ ในวงแคบ เพียงหมู่บ้านเล็กๆ 1 หมู่บ้าน เท่านั้น ซึ่งปกติ สามทุ่มก็นอนกัน หมดแล้ว และสายนั้นอยู่ ไลน์เมน ซึ่งถ้าดับไฟทำงานแล้ว จะกระทบเป็นวงกว้าง ดับข้ามอำเภอเลย แต่ว่าเขามีงาน เราก็เข้าใจ ในที่สุด พี่หัวหน้าชุดเลย ตัดสินใจทำ โดย ไม่ดับไฟ เพื่อไม่ให้กระทบ ชาวบ้านทั้งอำเภอ และ ช่วยให้ชาวบ้านได้สนุกกับงาน หมอลำกันต่อ โดยในขณะที่เรากำลัง เตรียมอุปกรณ์กันนั้น ก็มีสายโทรเข้ามา ด่าตลอดเวลา เราเตรียมรถเครน ยกหม้อแปลงขึ้นรถ เตรียมรถกระเช้าไฟฟ้า และ ทีมงาน 2 ชุด เรารู้ว่าเสี่ยง แต่ต้องทำ แล้วก็มีเสียงบอกว่า ผมไม่ต้องไป ให้แสตนบายที่นี้ เผื่อไฟฟ้าดับที่อื่น ผมก็นอนรออยู่ที่ห้องเวร คิดว่าเดี๋ยว น้องสุดรัก ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่ผม สนิท และ พี่ที่ผม ไว้ใจ คงกำลังจะทำเสร็จแล้ว จากนั้นก็มี เสียงโทรศัพท์เข้ามา บอกว่าพนักงาน 2 คน ถูกไฟฟ้าแรงสูง ช็อต เลือดออกทวารทั้งหมด…. สรุปว่าทั้ง 2 เสียชีวิตตอน ตี 4 แล้วพวกคุณรู้ไหมว่า ผมต้องทำต่อจากที่ เพื่อนทั้ง 2 เขาทำทิ้งไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต เพื่อที่จะให้ไฟฟ้าติดและ ได้คำด่าที่แสบจะเจ็บปวด น้องที่ตายอายุ 27 ปี เป็นพ่อคนได้ไม่ถึง 6 เดือน แต่ ที่พวกเราทุกคน เห็นแล้วน้ำตาไหล คือ เราเห็นเมียของน้องเค้า ร้องไห้ จนไม่มีน้ำตา ส่วนพี่อีกคน อายุ 49 ปี ลูกยังเรียนไม่จบ สักคน… ผมอยากจะบอกว่า คนเราใจร้อนขึ้น สบายจนเคยตัว ไฟดับไม่ถึงครึ่งชั่วโมง พวกเราจะเป็นจะตายกัน. จาก : พนักงานการไฟฟ้า ขอให้ดวงวิญญาณของพนักงานไฟฟ้าทั้ง 2 ไปสู่สุขติ และเป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกๆคน