หมวดหมู่

27 สิงหาคม 2557

แนะนำเรื่องสี

  • ประสบการณ์งานทาสี
  • เรื่องของการใช้สีทาอาคาร,ทาบ้าน มักจะถามถึง
  • 1.ปริมาณของสีที่ใช้ทา
  • 2.ทาไม้,เหล็ก หรือ ปูน
  • 3.ทารองพื้นอย่างไร
  • 4.ทาภายนอก-ภายใน
  • 5.ใช้อะไรผสม
  • 6.ทากี่เที่ยว
  • 7.สีสรร ควรใช้สีอะไร
ตัวอย่างนี้ มักเป็นเบื้องต้น ที่จะทำให้เราได้สีอาคารบ้านเรือนที่เหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่าย 
หากเราพิจารณาให้ถูกต้องแล้ว ราคาจะขึ้นอยู่ที่ปริมาณของสีเป็นหลักใหญ่ เราจึงจำเป็นต้องทราบพื้นที่เนื้องานที่เราต้องการจะทาสีในเบื้องต้น แต่ว่ามันอาจจะไม่ถูกต้องทุกอย่าง จึงได้เพียงคาดคะเนเอา ให้ใกล้เคียงมากที่สุด เป็นเพราะเหตุที่เราอาจคิดไม่ถึง เช่น..
  ผนังอาคาร กำหนดหาพื้นที่คือ ความกว้างของผนังxความสูงของผนัง จะได้พื้นที่เป็นหน่วย ตร.ม. นำเอาพื้นที่ที่คำนวณได้ ไปเทียบค่าเฉลี่ยตามสถิติของบริษัทผู้ผลิตสี ก็จะได้ปริมาณสีที่เราจะทา
แต่หากเรามิได้เป็นช่างสีที่ชำนาญ เราคิดเพียงเท่านี้แล้วไปซื้อสีมาตามปริมาณที่คำนวณไว้ มาทากลับไม่พอบ้าง-เหลือบ้าง เพราะหลายเหตุที่เราอาจคิดไม่ครอบคลุม เช่น เราอาจคิดเพียงเที่ยวเดียว พอเห็นว่าสีทาแล้วไม่ขึ้น-ไม่เรียบ ไปทาซ้ำ สีก็ไม่พอ, หรือ คำนวณเผื่อ 2-3 รอบไว้แล้ว แต่ผนังไม่เรียบ ผิวขรุขระ ทำให้เนื้อสีเข้าไปตามที่ไม่เรียบนั้น ผนังนั้นก็กินสีเราไปมากกว่าที่คำนวณได้ก็มีหลายครั้งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หาก ผนังปูนเก่าแห้งสนิท ทาสีแล้วกินสีมากกว่า ปูนใหม่ที่ยังมีน้ำอิ่มตัวอยู่ ทำให้กินสีน้อยกว่า นี่ก็พบมามาก สีรองพื้นจึงสำคัญที่เราควรเลือกให้เหมาะสม เราจึงจะได้คุณภาพสีที่ราคาพอเหมาะ และอีกเรื่องคือ เราคำนวณแล้วไม่ได้หักพื้นที่ประตูหน้าต่าง เช่นติดบานกระจกเลื่อนที่ทำให้ พื้นที่ทาสีเหลือไม่มาก แต่ไม่ได้หักออก พอทาไปจบแล้ว สีเหลือมากกว่าที่คิด หรือทาเสากลม เสาเหลี่ยม ไม่ได้คิดพื้นที่ทาสีด้วย สีก็ขาด ไม่พอใช้เป็นต้น เรื่องของปริมาณที่จะซื้อ จึงได้เพียงคาดคะเนตามประสบการณ์ของช่างเป็นหลักบวกกับหลักการหาพื้นที่อย่างถูกต้อง จึงจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้แม่นยำ
  ส่วนเรื่องวัสดุที่เราจะลงสี เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากนำสีน้ำมาทาเหล็ก ทาไม้ เราจะเสียเงินไปเปล่าประโยชน์ เพราะใช้สีผิดประเภท
   การรองพื้นวัสดุนั้น ควรซื้อมาให้เหมาะสม เช่นเหล็กเป็นสนิม ควรทากันสนิมรองพื้น ไม้เป็นเชื้อรา เป็นมอด เป็นปลวก ก็ควรลงสีเคมีไว้ และผนังปูน ต้องทราบว่า เป็นปูนใหม่-เก่า หรือเป็นประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้เทียม เป็นต้น ถ้าทราบ ก็จะทำให้เราได้วัสดุที่ทาสีออกมาแล้วมีความคงทนในการใช้งาน
  สีทาภายนอก ภายใน ราคาแตกต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดด ก็ต่างตามราคา เลือกให้เหมาะราคาก็จะเหมาะ การใช้งานก็จะใช้ได้นาน
   ส่วนผสมของสีแตะละประเภท แตกต่างกัน เช่นสีน้ำทาปูน ใช้น้ำผสมได้แต่ก็ไม่ทุกอย่าง ต้องอ่านรายละเอียดให้ดีตามสีที่เราเลือกใช้ เช่นสีทองทาปูนบางชนิด ผสมทินเนอร์เฉพาะ ก็ต้องซื้อมาเฉพาะ จะมาผสมน้ำไม่ได้ เป็นต้น แม้แต่สีทาเหล็กผสมได้ทั้งทินเนอร์ และน้ำมันสน แต่ราคาน้ำมันสนถูกกว่า หากเราได้ช่างสีที่ชำนาญ ก็จะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเทคนิคการผสมนี้ และสีที่ทาก็จะมีคุณภาพใช้ได้ยาวนาน
  การทาสีบางครั้ง อาจกำหนดเที่ยวในการทาได้ยาก เพราะสีที่ทาแล้วดูดสี หรือทาไม่ขึ้นก็พบอยู่บ่อย หากใช้โดยทั่วไป รองพื้นครั้งเดียว ทาสีจริง 2 รอบ แต่ไม่ได้เป็นหลักตายตัวของทุกช่าง อันนี้จึงเป็นตัวแปรที่ทำให้การควบคุมค่าใช้จ่ายอาจจะไม่ตรง
  และตัวอย่างสุดท้าย คือโทนสี ทีบางครั้ง หรือบ่อยครั้งที่ เจ้าของกำหนดสีที่ตนชอบ อาจด้วยใจรัก หรือ หมอท่านทักเอาไว้ก็แล้วแต่ พอทาออกมาแล้วสีมันไม่ตรงใจที่จินตนาการของตนเอง ผู้ที่โชคดีได้สีตรงใจ ก็อิ่มใจทุกครั้งที่อยู่ แต่หากตรงกันข้ามแล้ว มันจะให้ความรู้สึกยากจะทำใจ เพราะเราไม่เคยเห็นสีมี่ออกมาสำเร็จมาก่อน สีอาจแก่กว่า-อ่อนกว่าในตัวอย่างก็เป็นไปอย่างแน่นอน จากประสบการณ์ตรง เช่นสีกระป๋องเดียวกัน ทา 2 ที่ ที่หนึ่งโดนแดดมากว่า สีดูเข้มกว่า สีที่ทาในร่มและมีสีอื่นตัด ข่มสีที่ทาแล้วให้ดูว่าเป็นสีอ่อนไปทันที อารมณ์ของสีจึงแตกต่างกันไปมาก ทั้งๆที่สีมาจากกระป๋องเดียวกัน
ส่วนด้านล่าง เป็นตัวอย่างเนื้อหาที่ควรทราบเป็นพื้นฐาน








26 สิงหาคม 2557

ระลึกในคุณของอาจารย์




คำไว้อาลัย รศ.ดร.ชำนาญ  ห่อเกียรติ
รศ.ดร.ชำนาญ  ห่อเกียรติ เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2492 
จบการศึกษาชั้น มศ.3 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อปี 2507 และ ชั้น มศ.5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 
ในปี 2510 ได้เข้าศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 
จากนั้นได้รับทุน กพ. ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ที่ University of Missouri-Rolla  ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2515  และกลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ ปี 2519 เป็นต้นมา

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ ดร.นิตยา ห่อเกียรติ และมีธิดา 1 คน คือ พญ.ชนันยา  ห่อเกียรติ  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ด้านชีวิตการงาน ตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการของท่าน ท่านดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ระดับ 9 รับผิดชอบงานสอนในระดับปริญญาโทและเอก  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตลอดระยะเวลา 35 ปี ของชีวิตความเป็นอาจารย์คนหนึ่ง ซึ่งมุ่งหวังและทำทุกอย่างให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้และเติบโตไปเป็นวิศวกรที่ดีและมีคุณภาพนั้น  อาจารย์ได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ ไม่เพียงแต่เป็นอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เท่านั้น แต่อาจารย์ยังเป็นเสมือนเพื่อน พี่ชาย และพ่อ ผู้ให้คำแนะนำ และดูแลลูกศิษย์ของท่านอย่างเต็มกำลังความสามารถ 

นอกจากงานด้านวิชาการในฐานะอาจารย์แล้ว ท่านยังได้อุทิศตนเพื่อทำงานด้านสังคมอีกมากมายในสมาคมวิชาชีพต่างๆ อาทิ เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย  นายกสมาคมวิศวกรออกแบบและปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย  เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  กรรมการสภาวิศวกร  และเป็นที่ปรึกษาในสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย และสมาคมวิชาชีพด้านวิศวกรรม อีกหลายสมาคม 

ในฐานะนักวิชาการ  ท่านเป็นนักวิชาการที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  มีความคิดก้าวหน้า  ท่านพร้อมจะให้โอกาสทุกๆคนที่มีเจตนาทำงานเพื่อส่วนรวมเสมอ  อาจารย์เคยพูดไว้ว่า “ถ้าคุณนึกถึงตัวเองให้น้อยๆ คุณก็สามารถทำงานเพื่อคนอื่นได้มากขึ้น” ดังนั้นการทำงานของอาจารย์จึงยึดเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งการเล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญนี้เองที่ทำให้อาจารย์ทุ่มเททำงานอย่างหนัก โดยมิได้หวังผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ สิ่งนี้จึงเป็นเสมือนแรงบันดาลใจของใครหลายๆคน ให้มาร่วมทำกิจกรรมในสมาคมวิชาชีพต่างๆ จวบจนทุกวันนี้

จากเกียรติประวัติการทำงานต่างๆ ที่ผ่านมาตลอดชีวิต ทำให้ในปีนี้ ท่านได้รับเลือกให้เป็นวิศวกรดีเด่น สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  และได้เป็นอาจารย์ดีเด่นด้านการบริการวิชาการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย

การทำงานอย่างหนักเป็นระยะเวลาหลายสิบปีของท่านนี้เอง อาจเป็นจุดอ่อนจุดหนึ่งที่ทำให้โรคร้ายเข้ามาคุกคามท่านอย่างไม่ทันตั้งตัว  อาจารย์มีกำลังใจดีมาก และยังได้อาศัยระยะเวลาช่วงที่มีอาการป่วยนานร่วม 8 เดือน ในการตอบคำถามทางเว็บไซต์ส่วนตัวของท่าน และแต่งตำราวิชาการขึ้นมาอีกหลายเล่ม  อาจารย์ใช้เวลาทุกช่วงในชีวิตอย่างคุ้มค่าที่สุดจนกระทั่งวาระสุดท้าย และจากไปอย่างสงบ เมื่อเวลา 14.10 น. ของวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2549 
สิริอายุรวม 57 ปี 3 เดือน

ถึงแม้ว่าอาจารย์จะลาโลกนี้ไปแล้ว อาจารย์ก็จากไปแต่เพียงร่างกายเท่านั้น หากแต่จิตวิญญาณและความดีงามของท่านจะยังคงสถิตอยู่ในใจของพวกเราทุกคนเสมอ  สิ่งที่อาจารย์ได้วางมาตรฐาน ระบบระเบียบ และแบบแผนทุกๆอย่างในการดำเนินงานเพื่อสังคมของท่าน จะยังคงเป็นแนวทางที่เราพร้อมจะยืนหยัดดำเนินรอยตามต่อไป

....และต่อจากนี้พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาจารย์จะได้หยุดพักเพื่อเฝ้าดูพวกเราทำงานต่างๆที่อาจารย์ได้ริเริ่มไว้ ในอีกภพหนึ่ง ... ขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์เดินทางอย่างปลอดภัยไปสู่สัมปรายภพ  หมดสิ้นซึ่งความห่วงกังวลใดๆในภพนี้ด้วยเทอญ..

ชำ กิ่งก้านสานต่อใบให้ผลดอก
นาญ นับปีผลเพาะออกงอกขยาย
ห่อ ห้อมล้อมหลอมรวมใจไม่เสื่อมคลาย
เกียรติ ก่อไว้จนวางวายไม่ลืมเลือน

16 สิงหาคม 2557

โปรแกรมแปลงหน่วยความยาว มาตราเมตริก


ใส่ข้อมูลตัวเลขที่ทราบ ในช่องหน่วย
แล้วหน่วยอื่นๆจะแสดงค่า

Length calculatorH
มิลลิเมตร/mm
เซ็นติเมตร/cm
เดซิเมตร/dm.
เมตร/m.
เดคาเมตร/dam.
เฮกโตเมตร/hm.
กิโลเมตร/km.

08 สิงหาคม 2557

โปรแกรมคำนวณส่วนผสมปูนเทพื้น-คาน


โปรแกรมคำนวณจำนวนปูนผสม
คิดปูนปอร์ตแลนด์ ลูกละ 50 กก.
ใส่ค่า
จำนวนปูนลูก
ใช้ส่วนผสม
ทรายลบ.ม.(คิว)
หรือบุ้งกี๋
หิน ลบ.ม.(คิว)
หรือบุ้งกี๋
น้ำ ลิตร
ได้คอนกรีต ลบ.ม.(คิว)





อ้างอิง :http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/51/250.html